ลงทะเบียนอุปถัมภ์ “ผู้สูงอายุ” เช็กเงื่อนไขก่อนยื่นข้อเสนอรับเงิน 2000 บาท

02 พ.ค. 2567 | 23:26 น.

ลงทะเบียนอุปถัมภ์ “ผู้สูงอายุ” รัฐบาลจัดสรรงบฯ 67 ช่วยเหลือ 1,107 ราย พิจารณาเป็นรายกรณีตามหลักเกณฑ์และความจำเป็นเร่งด่วน เช็กเงื่อนไขก่อนยื่นข้อเสนอเพื่อรับเงิน 2000 บาท

ลงทะเบียนอุปถัมภ์ “ผู้สูงอายุ”   กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้โพสต์ข้อความว่า รัฐบาลจัดสรรงบฯ 67 ช่วยเหลือ 1,107 ราย แต่จะพิจารณาเป็นรายกรณีตามหลักเกณฑ์และความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อจ่ายเงินลงทะเบียนอุปถัมภ์ “ผู้สูงอายุ” 2000 บาท

 

Check ก่อน ลงทะเบียนอุปถัมภ์ “ผู้สูงอายุ”   ยื่นขอเป็นครอบครัวอุปถัมภ์

สัญชาติไทย ฐานะยากจน มีภาวะพึ่งพิง และ เข้าเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

  • อยู่ลำพังคนเดียว
  • ไม่มีผู้ดูแล
  • มีผู้ดูแล แต่ผู้ดูแลมีภาวะพึ่งพิง เช่น ว่างงาน พิการ ไม่มีรายได้ ดูแลกลุ่มเปราะบางหลายคน พ่อ – แม่เลี้ยงเดี่ยว และ  มีเด็กในอุปการะ เป็นต้น (ผู้ดูแลยื่นขอเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ได้)

สถานที่ยื่นคำขอ

  • กรุงเทพมหานคร : กรมกิจการผู้สงอายุ หรือ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบางแค
  • ส่วนภูมิภาค : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 7 จังหวัด หรือ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสติการสังคมผู้สูงอายที่อยู่ในจังหวัดนั้น
  • ยื่นกายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567

การให้ความช่วยเหลือ

  • ให้ความช่วยเหลือคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุแก่ครอบครัวอุปถัมภ์ครอบครัวละ 2,000 บาท ต่อผู้สูงอายุหนึ่งคนต่อเดือน

 

ลงทะเบียนอุปถัมภ์ “ผู้สูงอายุ” เช็กเงื่อนไขก่อนยื่นข้อเสนอเพื่อรับเงิน 2000 บาท

 

คัดกรองความจำเป็นเร่งด่วน 4 ขั้นตอน

1. ตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น

2. ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน/สอบข้อเท็จจริง โดยนักสังคมสงเคราะห์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

3. พิจารณาตามหลักเกณฑ์และความจำเป็นเร่งด่วน

4. พิจารณาอนุญาตและอนุมัติ โดยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ

ผู้ขอเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • สัญชาติไทย
  • อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  • มีที่อยู่อาศัยที่เป็นหลักแหล่ง ในอาณาบริเวณเดียวกับผู้สูงอายุ
  • ได้รับความยินยอมจาสมาชิกทุกคนในครอบครัวว่ามีความพร้อมคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุ
  • โดยให้ผู้ขอเป็นครอบครัวอุปถัมภ์รับรองตนเอง และหัวหน้า
  • สอบสวนของพนักงานสอบสวน หรือการพิจารณาคดีของศาล
  • ครอบครัวอุปถัมภ์ได้)
  • ไม่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดอาญา หรือ อยู่ระหว่างสอบสวนของพนักงานสอบสวน หรือ การพิจารราคดีของศาลโดยให้ผู้ขอเป็นครอบครัวอุปถัมภ์รับรองตนเอง  และ หัวหน้าหน่วยงานลงนามในหนังสือส่งให้สถานีตำรวจในพื้นที่ตรวจสอบ ซึ่งหากพบการกระทำผิดจะถูกตัดสิทธิ์.

ที่มา: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์