ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดผลการสำรวจผลกระทบของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอมปี 2567 สำรวจจำนวนตัวอย่าง 1,365 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1-6 พฤษภาคม 2567 พบว่าค่าใช้จ่ายสำหรับการเปิดเทอมครั้งนี้ เทียบปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 43.1% เนื่องจากราคาสินค้าแพงขึ้น มีจำนวนสินค้าที่ต้องซื้อมากขึ้น และมีจำนวนบุตรที่เริ่มเข้าโรงเรียนเพิ่ม
โดยค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมปี 2567 อยู่ที่ 60,322.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% จากปี 2566 ถือว่ามีมูลค่าการใช้จ่ายสูงสุด นับตั้งแต่หอการค้าสำรวจมาในรอบ 15 ปี ส่วนหนึ่งมาจากราคาสินค้าแพงขึ้น ขณะที่ประชาชนก็ยังใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง เป็นผลกระทบมาจากงบประมาณปี 2567 เบิกจ่ายล้าช้าไปเกือบ 1 ปี ทำให้รัฐบาลต้องกระตุ้นและเร่งอัดฉีดเศรษฐกิจ
สำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเล่าเรียนบุตร พบว่า ค่าเทอมเพิ่มขึ้น 59.9% ขณะที่งบฯค่าหนังสือ ค่าบำรุงโรงเรียน งบฯค่าบำรุงโรงเรียนแรกเข้า งบฯค่าเครื่องเขียน งบฯค่ารองเท้า ถุงเท้า เพิ่มขึ้น เป็นต้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 25,322 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่ 19,507 บาท โดยส่วนใหญ่ มองว่าค่าใช้จ่ายเท่าเดิม 46% ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 33.1% ค่าใช้จ่ายน้อยลง 10%
นอกจากนี้การสำรวจก็ยังพบว่าผู้ปกครองมีเงินเพียงพอ 54.4% และมีเงินไม่พอใช้ 45.6% ซึ่งแก้ปัญหาโดยการผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิต การจำนำทรัพย์สิน และการกู้เงินระบบ ทั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากมองว่าเศรษฐกิจแย่ แต่เป็นลักษณะของการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากฝั่งผู้ปกครองที่มีเงินใช้เพียงพอ ระบุว่าต้องใช้เงินออมเพื่อใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม
5 ข้อเสนอรัฐบาลปรับปรุงด้านการศึกษาของไทย