วันนี้ (14 พฤษภาคม 2567) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.รับทราบแนวทางการออก EEC Visa ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เสนอ เพื่อดึงดูดต่างชาติทักษะสูงเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยได้วีซ่าสูงสุดไม่เกิน 10 ปี และได้รับการลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราคงที่ 17%
นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุรายละเอียดว่า การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ หรือ EEC Visa เป็นแนวทางการให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ และการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd)
สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ EEC Visa นั้น ประเภท คุณสมบัติ และสิทธิประโยชน์ โดยสรุปมีรายละเอียด ดังนี้
ผู้ที่สามารถได้รับ EEC Visa มีอยู่ 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิที่จะได้รับ EEC Visa
ต้องเป็นผู้ที่มีสัญญาจ้างกับผู้ประกอบกิจการหรือมีสัญญากับบุคคลอื่นที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบกิจการ ไม่มีลักษระต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ต้องได้รับการรับรองคุณสมบัติจากผู้ประกอบกิจการ
สิทธิประโยชน์จากการได้รับ EEC Visa
มีสิทธิในการเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรตามจำนวนและระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ กพอ.สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
ทั้งนี้ ต้องไม่เกินระยะเวลาตามสัญญาจ้างสำหรับใช้เข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยประทับตราขาเข้าและอนุญาตให้เข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรในครั้งแรกเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี มีสิทธิในการนำคู่สมรสและบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรตามความจำเป็นและเหมาะสม และ มีสิทธิในการได้รับการลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราคงที่ร้อยละ 17 ฯลฯ
สำหรับการดำเนินการ EEC Visa และการให้สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 จะก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
ส่วนการพัฒนาเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ EECd จะก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้