กรณีรัฐบาลจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วงเงิน 122,000 ล้านบาท เพื่อมาใช้ดำเนินโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ซึ่งได้ผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น
ในอดีตที่ผ่านมา การจัดทำพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ ไม่ใช่เรื่องใหม่และมีการจัดทำมาอย่างต่อเนื่อง เหตุผลส่วนใหญ่ของการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมกลางปีงบประมาณนั้น ก็เพื่อนำเงินเอาไว้ใช้จ่ายตามภารกิจและความจำเป็นของรัฐบาลที่เกิดขึ้น ซึ่งแต่ละช่วงเวลาก็มีเหตุผลความจำเป็นที่แตกต่างกันตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น
ทั้งนี้จากการตรวจสอบรายละเอียดของการจัดทำ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ ในรอบ 6 ทศวรรษที่ผ่านมา มีการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมถึง 18 ครั้ง งบประมาณรวมกว่า 861,325.5 แสนล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ย้อนกลับไปในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ระหว่างปี 2503-2506 ตั้งงบเพิ่ม 4 ปีวงเงินรวมกว่า 788 ล้านบาท เพื่อรองรับภารกิจของกระทรวงกลาโหม ดังนี้
ขณะที่รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ระหว่างปี 2508-2516 ตั้งงบกว่า 2,328 ล้านบาท เพื่อรับมือวิกฤตการณ์ทางการเมือง ดังนี้
สมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2517 ต้องตั้งงบพิเศษ เพื่อรองรับผลกระทบหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ โดยปีงบประมาณ 2517 ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม 3,439,920,929 บาท
ขณะที่รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในปี 2523 ต้องจัดงบกว่า 5,731.834 ล้านบาท เพื่อพยุงเศรษฐกิจจากวิกฤติน้ำมัน
รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในปี 2533 ก็ต้องตั้งงบเพิ่มกว่า 11,869 ล้านบาท จากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ
จากนั้นในสมัยรัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตั้งงบประมาณ รวมกว่า 224,500 ล้านบาท ในปี 2547-2548 รองรับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนี้
วิกฤตเศรษฐกิจถดถอยอย่างร้ายแรง ที่ได้รับการเรียกขานว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ หรือ The Great Recession เป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ และรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องตั้งงบเพิ่มเติม 216,667 ล้านบาทในปี 2552-2554 เพื่อแก้ปัญหา ดังนี้
ท้ายที่สุด รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ระหว่างปี 2559-2561 ต้องตั้งงบเพิ่มเติมรวมกว่า 396,000 ล้านบาท เพื่อรองรับโครงการลงทุนภาครัฐที่สำคัญๆ และบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 ดังนี้
แม้ในรอบ 6 ทศวรรษที่ผ่านมาจะมีการใช้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก แต่ทั้งหมดก็ยังคงเป็นไปตามความจำเป็น โดยมีเหตุผลเพื่อรองรับนโยบายหรือแก้ไขปัญหาแต่ละยุคสมัย และเป็นสิ่งที่รัฐบาลหลายสมัยทำอย่างต่อเนื่อง