เจาะลึกวิธีบริหารเงินระดับพันล้าน ในสไตล์ "เศรษฐา ทวีสิน"

18 มิ.ย. 2567 | 00:00 น.

รวมเคล็ดลับและกลยุทธ์การบริหารการเงินส่วนบุคคลของ "เศรษฐา ทวีสิน" นายกฯที่มีทรัพย์สินรวมมหาศาลถึง 1,020 ล้านบาท ตั้งแต่การลงทุน การออม การวางแผนภาษี จนถึงการควบคุมรายรับ-รายจ่าย

"นายเศรษฐา ทวีสิน" นายกรัฐมนตรี คนที่ 30 อดีต“อดีตบิ๊กบอส” บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) ยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย มีฐานะร่ำรวยถึง 1,020 ล้านบาท แต่เขาบริหารเงินอย่างไรจึงประสบความสำเร็จทางการเงิน

จากข้อมูลทรัพย์สินของนายเศรษฐา พบว่าเขามีพอร์ตการลงทุนที่หลากหลาย นอกจากการลงทุนในตราสารทุนและพอร์ตเงินฝาก เขายังมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มูลค่าสูง อาทิ ที่ดินแปลงใหญ่ย่านกรุงเทพฯ มูลค่า 158 ล้านบาท และคอนโดหรูหัวหินราคา 138 ล้านบาท แสดงถึงการกระจายเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว

เมื่อเจาะลึกในรายละเอียดพบว่า นายเศรษฐา มีเงินฝากกระจายใน 47 บัญชีจาก 10 ธนาคาร มูลค่ารวมเกือบ 69 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีกองทุนรวมเปิดที่ลงทุนในหุ้นกว่า 1.3 ล้านบาท รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลโทเค็นดิจิทัลมูลค่ากว่า 2,900 บาท

สำหรับเงินฝาก จำนวน 68.986 ล้านบาท ที่กระจายอยู่ 47 บัญชี ประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย 13 บัญชี ธนาคารกรุงเทพ 2 บัญชี ธนาคารทหารไทยธนชาติ 4 บัญชี ธนาคารกรุงไทย 4 บัญชี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 2 บัญชี ธนาคารยูโอบี 1 บัญชี ธนาคารเกียรตินาคินภัทร 1 บัญชี ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 3 บัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ 12 บัญชี ธนาคาร JPMorgan Chase,NA 4 บัญชี 

ขณะที่การลงทุนในกองทุนเปิดจำนวนกว่า 1.3 ล้านบาท ประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย-กองทุนเปิดเค หุ้นทุนบริพัตร (K-FEQ) จำนวนหน่วย 1,683.0979 มูลค่า ณ วันที่มีหน้าที่แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน (5 กันยายน 2566)139,242.35 บาท 

กองทุนเปิด SCBLT1 หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 (ชนิดหุ้นระยะยาว) จำนวน 59,308.7618 หน่วย มูลค่าฯ 951,075.30 บาท และบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด มูลค่าฯ 179,697.34 บาทและ 31,653.16 บาท ตามลำดับ 

ส่วนการลงทุนระยะยาวและวางแผนเกษียณ นายเศรษฐามีการลงทุนระยะยาวในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี พร้อมการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมูลค่ากว่า 65 ล้านบาท และประกันชีวิตระยะยาว 4 กรมธรรม์ มูลค่ารวม 22 ล้านบาท ดังนี้

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพไทยพาณิชย์มาสเตอร์ฟันด์ มูลค่า 65,200,328.80 บาท บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ประกันชีวิตตลอดชีพ 99/5 จำนวน 3 รายการ มูลค่ารายการละ 5,582,131.15 บาท รวม16,746,393.45 ล้านบาท และบริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ประกันชีวิตตลอดชีพ 99/5 มูลค่า 5,582,841.53 บาท

นอกจากการลงทุนในตราสารทุนและพอร์ตเงินฝาก เขายังมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มูลค่าสูง โดยเฉพาะที่ดินมูลค่าสูงย่านคลองเตย พระโขนง กรุงเทพฯ เนื้อที่ 1 งาน 98 ตารางวา จำนวน 1 แปลง มูลค่า 158,400,000 บาท รวมไปถึงคอนโดหรู ที่หนองแก อ.หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ มูลค่า 138 ล้านบาท และบ้านสามชั้น ย่านคลองเตย กรุงเทพฯ มูลค่า 18,423,120 บาท

นอกเหนือจากสินทรัพย์การลงทุนกระแสหลัก นายเศรษฐายังมีสินทรัพย์พิเศษที่แสดงถึงความมั่งคั่งที่บ่งบอกถึงสถานะทางสังคม อาทิ รถยนต์คลาสสิก Aston Martin DB5 มูลค่า 50 ล้านบาท และของสะสมไฮเอนด์ เช่น นาฬิกาหรู 38 เรือมูลค่า 127 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีพระเครื่องและตะกรุด 6 องค์ มูลค่า 1,622,600 บาท และหีบหลุยส์วิตตอง x สุพรีม 1 ใบ มูลค่า 6 ล้านบาท

หากวิเคราะห์รายได้และรายจ่ายของนายเศรษฐามีรายได้รวมสูงถึง 250 ล้านบาทต่อปี มาจากหลายแหล่ง ขณะที่รายจ่ายอยู่ที่ 51 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นเพียง 20% ของรายได้ สามารถเก็บออมได้ถึง 80% ของรายได้รวม

จากรายการบัญชีทรัพย์สินหนี้สินที่นายเศรษฐายื่นต่อป.ป.ช.พบว่า เขามีรายได้ต่อปี จำนวน 253,636,771 บาท ประกอบด้วย

  • รายได้ประจำ เป็นเงินเดือนค่าจ้างและโบนัส 153,570,160 บาท
  • เงินบำนาญชราภาพ  45,694 บาท
  • เบี้ยประชุมและค่าวิทยากร  185,000 บาท 
  • เงินได้จากการขายกองทุน LTF  464,770.10 บาท
  • ส่วนแบ่งกำไรจากกองทุน LTF และ RMF  12,069.40 บาท
  • ผลประโยชน์จากการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัล  825,402.82 บาท
  • เงินได้จากการสิ้นสุดสมาชิกภาพในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  65,200,328.80 บาท
  • รายได้จากการรับให้ บุตรให้รายปี จำนวน  20,000,000 บาท
  • รายได้อื่นจากเงินชดเชยกรณีเกษียณอายุ 13,333,333 บาท 

ส่วน “รายจ่ายต่อปี” รวม 51,630,957.60 บาท ประกอด้วย

  • ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 36,500,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 1,900,000 บาทค่าอุปการะมารดา 4,762,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว 8,000,000 บาท
  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 3,957.60 บาท
  • เงินบริจาค 465,000 บาท 

โดยสรุป การริหารเงินของนายเศรษฐา คือ การกระจายความเสี่ยงด้วยพอร์ตการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งตราสารทุน พันธบัตร อสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์พิเศษอื่นๆ รวมถึงการวางแผนทางการเงินอย่างครบวงจร ควบคู่ไปกับการควบคุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่มีเป้าหมายการบริหารทางการเงิน