จากกรณีการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เกี่ยวกับประเด็นปัญหาเรื่องกติกาใหม่ของโลกการค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศไทย
โดยมี 22 อุตสาหกรรมดั้งเดิมที่ขีดความสามารถการแข่งขันลดลง และมีความเสี่ยง
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับ 22 อุตสาหกรรมดังกล่าวที่มีความเสี่ยงพบว่า
กลุ่มอุตสาหกรรม ภายใต้ ส.อ.ท. ที่ได้รับผลกระทบจากสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศที่เข้ามาทุ่มตลาดในประเทศไทย โดยพิจารณาจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มีสินค้าที่นำเข้าจากจีนที่มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2566 จนถึง เดือนพฤษภาคม 2567 จำนวน 22 กลุ่มอุตสาหกรรม (อ้างอิงกลุ่มอุตสาหกรรมจาก ส.อ.ท.) ประกอบด้วย
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังหารือกับนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท. และคณะ ว่า ช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาได้เห็นความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งในกระบวนการออกใบอนุญาตที่เร็วขึ้น ส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ทำให้ธุรกิจแข็งแรงขึ้น
และสิ่งที่เน้นย้ำ คือ เรื่องของนโยบาย Green Productivity เพื่อตอบโจทย์กติกาโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายที่กระทรวงอุตสาหกรรม จะต้องร่วมมือกับ ส.อ.ท. เพื่อแก้ไขปัญหา
"ได้ให้นโยบายตั้งแต่วันแรกของการรับตำแหน่งว่า ต้องการเห็นกระทรวงอุตสาหกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการ และนักลงทุนให้เกิดความคล่องตัว อะไรที่เป็นปัญหาก็ต้องจัดการให้เรียบร้อย"
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า นโยบายบริหารงาน ส.อ.ท. ในช่วงปี 2567 – 2569 ต้องยอมรับว่า จากกติกาใหม่ของโลก รวมถึงข้อตกลงทางการค้า FTA และการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมดั้งเดิมมาสู่อุตสาหกรรมใหม่ของ 22 อุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนัก
นอกจากนี้ยังรวมถึงอุตสาหกรรมที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหามาตรการเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหา โดยเบื้องต้นได้ตั้งคณะกรรมการอำนวยการ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม โดยมี 4 คณะทำงาน ประกอบด้วย