ดร.ดนันนท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท. เปิดเผยถึงการเข้ามาของ Temu แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามชาติ ว่า การที่ Temu เข้าทำตลาดในประเทศไทยส่งผลให้ภาพรวมยอดจัดส่งพัสดุในประเทศไทยลดลง 20-25% เนื่องจาก Temu ได้ทำการจัดส่งสินค้าผ่าน J&T หรือ บริษัท โกลบอล เจท เอ็กซ์เพรส (ไทยแลนด์) อย่างไรก็ตามในขณะนี้ ไปรษณีย์ไทย พร้อมเป็นพันธมิตรกับ Temu ในการช่วยกันสร้างบริการที่ดีกับผู้ประกอบการไทย พร้อมช่วยให้ผู้ประกอบการไทย สามารถจำหน่ายสินค้าผ่าน Temu ได้
“กลุ่มธุรกิจของต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ได้รับผลกระทบ ดังนั้นการแข่งขันเท่าเทียมกันเพื่อป้องกันการทุ่มตลาดที่ผิดปกติ สิ่งที่ทำให้ประเทศไทยเข้มแข้ง เสริมสร้างศักยภาพผู้ผลิตในประเทศไทยต้นทุนสินค้าจากประเทศไทยที่นำเข้ามาในประเทศไทย ต้องมีต้นทุนฐานภาษีที่เท่าเทียมกัน รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยกำกับดูแลให้เท่าเทียมกัน” ดร.ดนันท์ กล่าว
นอกจากนี้ ไตรมาสที่ 4/2567 ไปรษณีย์ไทย ร่วมกับอเมซอน FBA หรือ Fulfilment by Amazon คือรูปแบบการขายของผ่านเว็บ Amazon.com โดยเรา (supplier) ส่งสิ้นค้าไปเก็บไว้ที่โกดัง (warehouse) ของ Amazon ที่อเมริกา เพื่อให้สินค้าของผู้ประกอบการไทยไปวางขายบน FBA
ขณะที่ ดร.สมชาย สาโรวาส ได้โพสต์ข้อความว่าจากการที่ผู้ประกอบกิจการ ซัพพลายเออร์ผู้ค้าส่งและ ห้าง ร้านค้าปลีกได้เจอกับการ”ฮุบ“ตลาดด้วยช่องทางการตลาดใหม่ ๆ ของบรรดา e-commerce platform( e-CP) ต่างๆ ทั้งไทยเทศ Alibaba ,ebay Shopee, Lazada, Facebook ,TikTok จนแทบอ่วมแล้ว
ล่าสุดที่ได้เจอกับ e-CP ใหม่จากจีนคือ Temu มุ่งกระหน่ำทำตลาดไปทั่วโลกและประเทศไทย โดยมีสินค้าหลากหลายทุกรูปแบบของจีน ในราคาถูก และเงื่อนไขพิเศษเน้น Affiliate Marketing ทำ promotion ที่ทำให้สามารถขยายลูกค้า และครอบครองตลาดได้อย่างรวดเร็วมาก
ขณะนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน สมาคม องค์กรต่างๆตื่นตัวในเรื่องของวิกฤต SME ไทยอย่างมาก และมีการเปิดประเด็นe-CP ของTEMU บุกไทยที่กลายเป็น Hot issue ไปทั่วเลย
จะพบว่าช่วงนี้ มีทั้งข่าวและการจัดประชุมอบรมสัมมนา งานแสดงสินค้า หัวข้อนี้กันเต็มไปหมดเดือนที่แล้วเครือข่ายพัฒนาศักยภาพไทยก็เพิ่งมีการจัดสัมมนาในเรื่องเหล่านี้ไปแล้ว
แต่สิ่งที่ผมได้สังเกตดู พบว่าในแต่ละการประชุมการสัมมนาต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนใหญ่เป็นการให้ความรู้และที่พูดถึงปัญหาต่างๆ….อาจจะมีแถมคำแนะนำกว้างๆ
แต่ยังไม่ได้มียังตอบโจทย์ว่าจะแก้ปัญหา ให้SMEไทย ให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไร?!
ผมทราบดีว่าเรื่องแบบนี้คงจะไม่ได้แก้ปัญหากันได้ง่ายๆ ผมจึงอยากจะฝากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันหาวิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง
ไม่แก้แค่ปลายเหตุ แต่จะต้องเจาะลึกไปถึงต้นเหตุ และแนวโน้มในอนาคตด้วย ! เครือข่ายพัฒนาศักยภาพไทยกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่โดยการค้นหาและเก็บข้อมูลทั้งทุติยภูมิ และปฐมภูมิ เพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์ และ จะขอมีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางที่อาจเป็นไปได้ ที่จะช่วยแก้ไข หรือ บรรเทาปัญหาเหล่านี้ ซึ่งน่าจะทำได้ทั้งในกรอบและนอกกรอบ.