"ส.อ.ท." เสนอ 5 เรื่องด่วน "แพทองธาร" เร่งแก้วิกฤตเศรษฐกิจ

23 ส.ค. 2567 | 09:09 น.
อัพเดตล่าสุด :23 ส.ค. 2567 | 09:10 น.

"ส.อ.ท." เสนอ 5 เรื่องด่วน "แพทองธาร" เร่งแก้วิกฤตเศรษฐกิจ หลังได้คิวเข้าหารือนายกรัฐมนตรีวันนี้ พร้อมข้อเสนอระยะกลาง ยาว 3 ข้อ ทั้งการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศจากสินค้านำเข้าที่ไม่มีคุณภาพ ส่งเสริมสินค้าที่ผลิตในไทย

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  เปิดเผยภายหลังเข้าพบนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ และยกระดับอุตสาหกรรมไทย ว่า

จากการหารือ ส.อ.ท. ได้นำเสนอมาตรการ 2 ส่วนหลัก รวม 8 ข้อ ประกอบด้วยข้อเสนอเร่งด่วน 5 ข้่อ และข้อเสนอระยะกลาง และระยะยาว 3 ข้อ ประกอบด้วย 

ข้อเสนอเร่งด่วน ประกอบด้วย

  • การปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศจากสินค้านำเข้าที่ไม่มีคุณภาพ และการทุ่มตลาด
  • การส่งเสริมสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย และสินค้าที่ได้รับการรับรอง Made in Thailand : MIT
     
  • การลดต้นทุนการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม เช่น ต้นทุนพลังงาน ต้นทุนแรงงาน
  • การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs)
  • การส่งเสิรมการค้าชายแกน และพัฒนาระบบโลจิสติกส์

ข้อเสนอระยะกลาง-ยาว ประกอบด้วย

  • การส่งเสริมอุตสาหกรรมและชิ้นส่วน เพื่อรักษาฐานการผลิตยานยนต์ของไทย
  • การพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และซอฟท์พาวเวอร์ (Soft power) ในประเทศไทย
  • การปรับปรุ่งกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อส่งเสริมให้มีการทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น (Ease of doing business) และเพิ่มการเติมโตทางเศรษฐกิจ
     

นายอิศเรศ กล่าวอีกว่า ผลจากการหารือดังกล่าวพบว่าหลายประเด็นรัฐบาลมีการศึกษาอยุ่แฃ้ว เพราะรู้ว่าเป็นปัยหา และต้องการช่วยเหลือภาคเอกชน โดยเฉพาะนางสาวแพทองธาร ถือว่ามีจุดเด่นที่สำคัญ คือ รับฟังเสียงของเอกชน รวมถึงมีการจดบันทึกข้อมูล และหลายประเด็นทีมงานของนายกรัฐมนตรีต้องการให้มีการหารือเป็นรายสัปดาห์ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา และข้อสรุปที่ชัดเจน

"เมื่อทีมงานมีแนวทางดังกล่าว นายกรัฐมนตรีเองก็เห็นพ้อง และคิดว่าน่าจะดำเนินการตามที่เสนอ เพราะต้องการแก้ไขปัญหาให้กับภาคเอกชน"

อย่างไรก็ดี เอกชนยังพบว่าทีมงานของนายกรัฐมนตรีมีการผสมผสานระหว่างทีมงานชุดเก่า เช่น กระทรวงการคลังก็มากันครบมทั้ง 3 คน ทั้งรมว. และรมช.คลัง รวมถึงทีมงานคนรุ่นใหม่  ดังนั้น จึงมองว่าน่าจะเป็นทีมที่มีศักยภาพ จากแนวคิดของคนรุ่นเก่า และรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ

อย่างไรก็ตาม ในการสะท้อนความเห็นของภาคเอกชน เรื่องพลังงาน นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรีก็มีความเข้าใจในประเด็นที่ภาคเอกชนต้องการ คือ การคืนเงินค่าประกันมิเตอร์ให้กับเอสเอ็มอี เพื่อบรรเทาผลกระทบในภาคเศรษฐกิจปัจจจุบัน โดยระบุว่าจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคระกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)

ทั้งนี้ ส.อ.ท. มองเห็นถึงการทำงานร่วมกันในทิซทางที่ดี เพราะที่ผ่านมา กพช. จะเน้นการทำงานในเชิงแก้ปัญหา เช่น เรื่องค่าไฟ โดยเชื่อว่าควรจะต้องมีคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านพลังงาน (กรอ.พลังงาน)  เพื่อทำงานร่วมกัน และสะท้อนความเห็นก่อนขับเคลื่อนนโยบายไปสู่ที่ประชุม กพช.

ในการหารือร่วมกันดังกล่าว นายกฯ และทีมงานต้องการให้เพิ่มการสื่อสารระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจในการทำงานของนายกฯ และการรับฟังความเห็นจากภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนการทำงาน โดยถือเป็นข้อดีที่เอกชนมองว่าจะนำไปสู่การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจร่วมกันได้ หลังจากนี้เมื่อมีการตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วเสร็จ ก็จะได้ร่วมกันทำงานต่อไป