ใครคือกลุ่มเปราะบางบ้าง? และทำไมกลุ่มนี้ถึงได้รับแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 2567 ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ ก่อนกลุ่มอื่น
ก่อนหน้านี้ นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2567 ถึงความคืบหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท
โดยระบุการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ในเฟสแรกจะมีการโอนเงินให้กับ "กลุ่มเปราะบาง" รวมจำนวน 14.5 ล้านคน ระหว่างวันที่ 25-30 กันยายน 2567
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ อาทิ กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นงของมนุษย์ สรุปชัดเจนว่า "กลุ่มเปราะบาง" หมายถึงกลุ่มประชาชน 3 กลุ่ม นี้ประกอบด้วย:
ซึ่งกลุ่มเปราะบางจำนวน 14.5 ล้านคน ในปัจจุบัน ถือเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับสิทธิ์เงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยเฉพาะผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือบัตรคนจน ซึ่งมีจำนวน 13.5 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีผู้พิการอีกจำนวน 1 ล้านคนที่ได้รับสิทธินี้
โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณกลางปี 2567 จำนวน 145,000 ล้านบาท เพื่อแจกจ่ายในเดือนกันยายน 2567
นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ระบุด้วยว่า สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 13.5 ล้านคน ในจำนวนนี้ มีผู้ที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนแล้วกว่า 11 ล้านคน ส่วนอีก 2 ล้านคนที่ยังไม่ได้ผูกบัญชี
"ทางกระทรวงการคลังขอแนะนำให้รีบดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อจะได้รับเงินตามกำหนด หากไม่ทันตามรอบแรกจะต้องรอรับเงินในรอบถัดไป แต่กำหนดสุดท้ายที่จะได้รับเงินไม่ควรเกินสิ้นปีนี้ มิฉะนั้น เงินจะถูกโอนกลับเข้ารัฐ"
สำหรับการโอนเงินให้กับผู้พิการนั้น กรมบัญชีกลางมีบัญชีอยู่แล้ว และจะเริ่มโอนเงินเข้าบัญชีของผู้พิการในวันที่ 25 กันยายนนี้ตามกำหนด
ทั้งนี้ การโอนเงินโครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะดำเนินการตามลำดับดังนี้:
"ทางกระทรวงการคลังได้จัดกลุ่มการโอนเงินในแต่ละวันเพื่อไม่ให้กระทบกับการจ่ายเงินเดือน โดยเฉลี่ยจะโอนเงินให้กับผู้ได้รับสิทธิวันละ 4-5 ล้านคน ซึ่งในวันที่ 28-29 กันยายน เป็นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ระบบพร้อมเพย์ปิดทำการ จึงเลื่อนการจ่ายของกลุ่มสุดท้ายไปเป็นวันที่ 30 กันยายน" ปลัดกระทรวงการคลัง ระบุ
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภาฯเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567ว่า รัฐบาลเร่งผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น โดยเฉพาะนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) ซึ่งเป็นนโยบายที่ประชาชนและสังคมให้ความสนใจ ในฐานะนายกรัฐมนตรีขอให้ความเชื่อมั่นว่านโยบายดังกล่าวจะเกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง
"โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเปราะบาง ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่จะได้รับเงินดังกล่าว คาดว่าจะช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพได้ และยังเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลควบคู่ไปในคราวเดียวกัน" นายกฯ กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มว่าการดำเนินนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) รวมทั้งนโยบายต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาศูนย์ข้อมูลภาครัฐ การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนและการประกอบอาชีพนั้น รัฐบาลให้ความสำคัญและคำนึงถึงการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ จะดำเนินนโยบายการคลัง โดยบริหารค่าใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังของประเทศอย่างเคร่งครัด
วันที่ 17 กันยายน 2567 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบรายละเอียดตามที่กระทรวงคลังเสนอ ประกาศมาตรการโอนเงินดิจิทัลให้กลุ่มเป้าหมายผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ กว่า 14.55 ล้านราย เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการเพิ่มกำลังซื้อให้กับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและคนพิการ
โดยมีการจัดสรรงบประมาณรวมทั้งสิ้น 145,552.40 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นการโอนเงินเพื่อการบริโภคและกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 122,000 ล้านบาท และงบสำหรับค่าดำเนินการเพิ่มเติมอีก 23,552.40 ล้านบาท
โดยการโอนเงินครั้งนี้จะแบ่งออกเป็นรอบตามเลขบัตรประชาชน โดยเริ่มจากกลุ่มคนพิการในวันที่ 25 กันยายน 2567 และกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ จะเริ่มได้รับเงินตั้งแต่วันที่ 26-30 กันยายน 2567 ตามลำดับ
มาตรการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจและเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้มีรายได้น้อยและคนพิการ ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางทางเศรษฐกิจ
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ (โครงการฯ) ตามที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา โดยมีนโยบายสำคัญที่จะเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ควบคู่กับการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบางเป็นลำดับแรก