ขยายเวลาลงทะเบียนรับเงิน 10,000 บาท ปี 2567 สำหรับผู้พิการถึง 3 ธันวาคมนี้

19 ก.ย. 2567 | 06:34 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ก.ย. 2567 | 06:50 น.

ขยายเวลาลงทะเบียนรับเงิน 10,000 บาท ปี 2567 สำหรับผู้พิการถึง 3 ธันวาคม รีบตรวจสอบสิทธิด่วน มัดรวมรายละเอียดทั้งหมดคลิกอ่านเลย

ความคืบหน้าหลังจาก ครม.มีมีมติเห็นชอบที่จะมอบเงิน 10,000 บาทเป็นเงินสนับสนุนให้พี่น้องประชาชนกลุ่มเปราะบางเป็นกลุ่มแรก ล่าสุด นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. ออกมาเปิดเผยว่า พม.ได้ขยายเวลาลงทะเบียนรับเงิน 10,000 บาท ปี 2567  ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2567

ดังนั้นกลุ่มคนพิการที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนหรือมีสมาชิกในครอบครัวเป็นคนพิการ ขอให้เร่งมาขึ้นทะเบียนออกบัตรประจำเพื่อรักษาสิทธิที่จะได้รับเงิน 10,000 บาท  เนื่องจากกระทรวง พม. ได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ในการขึ้นทะเบียนออกบัตรประจำตัวคนพิการ

คุณสมบัติผู้ได้รับสิทธิบัตรประจำตัวคนพิการ ทาง พม. ได้กำหนดคุณสมบัติ ดังนี้

บัตรประจำตัวคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 กำหนดให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ ให้มีขีดความสามารถที่พร้อมในการปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า และมีความสุข

1.คุณสมบัติของคนพิการที่ยื่นคำขอ 'บัตรประจำตัวคนพิการ'

  • เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
  • บุคคลที่ยังไม่ได้แจ้งเกิดหรือบุคคลที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าสัญชาติไทยต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ก่อน

2.สถานที่ให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ

2.1 กรุงเทพมหานคร

(1) ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร ณ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

(2) โรงพยาบาลสิรินธร

(3) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน

(4) สถาบันราชานุกูล

(5) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

(6) โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)

(7) ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม

(8) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)

**หมายเหตุ หน่วยออกบัตรประจำตัวคนพิการ ข้อ 2.1 จะหยุดทุกวันทำการ ทุกสิ้นเดือน

2.2 ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด

3.สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ

3.1 กรุงเทพมหานคร

(1) ฝ่ายสังคมสงเคราะห์งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช

(2) ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี

(3) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

3.2 จังหวัด

(1) โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ที่มีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล

(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(3) หรือหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด

4.เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ

4.1 เอกสารหลักฐานของคนพิการ

(1) เอกสารประจําตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

(ก) บัตรประจําตัวประชาชน

(ข) บัตรประจําตัวข้าราชการ

(ค) สูติบัตรสําหรับบุคคลอายุต่ำกว่าสิบห้าปี

(ง) หนังสือรับรองการเกิดตามแบบที่กรมการปกครองกําหนด

(2) ทะเบียนบ้านของคนพิการ

กรณีที่คนพิการมีทะเบียนบ้าน แต่ไม่มีบัตรประชาชน ต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ก่อน

(3) รูปถ่ายคนพิการ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ในกรณีที่คนพิการไม่ได้มายื่นคำขอด้วยตนเอง

(4) เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีประกาศกําหนด

(5) สภาพความพิการเป็นที่เห็นได้โดยประจักษ์ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอถ่ายสภาพความพิการไว้เป็นหลักฐาน

4.2 เอกสารหลักฐานของผู้ดูแลคนพิการ (เป็นผู้ซี่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับคนพิการ หรือเป็นผู้ดูแลคนพิการซี่งคนพิการอาศัยอยู่ด้วยตามความเป็นจริง)

(1) บัตรประชาชนของผู้ดูแลคนพิการ

(2) ทะเบียนบ้านของผู้ดูแลคนพิการ

กรณีคนพิการมิได้มาแจ้งหรือไม่สามารถแจ้งได้

(1) หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการ จำนวน 1 ฉบับ

- ผู้รับรอง : กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สมาชิกสภาท้องถิ่น ประธานชุมชน ลูกจ้างประจํา (หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ) โดยผู้รับรองต้องอาศัยอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เดียวกับที่คนพิการอาศัยอยู่ในปัจจุบัน

(2) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับรอง พร้อมรับรองสําเนา จำนวน 1 ฉบับ

* ข้าราชการบำนาญ ไม่สามารถรับรองหนังสือนี้ได้

* การรับรองจะสมบูรณ์ เมื่อพยานลงนามครบถ้วน

* การรับรองอันเป็นเท็จมีความผิดตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา

4.3 บุคคลอื่นยื่นคำขอมีบัตรฯ แทนคนพิการ

(1) สำเนาบัตรประชาชนของบุคคลที่ดำเนินการแทน

(2) หนังสือมอบอำนาจ เป็นหลักฐานว่าได้รับมอบจากคนพิการ (พยานต้องลงนามครบถ้วน)

กรณีคนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความสามารถ หรือมีความพิการมากไม่สามารถดำเนินการเองได้ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ดูแล ดำเนินการแทนได้

5.เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการใหม่ เนื่องจากบัตรเดิมหมดอายุ ชำรุด สูญหาย มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญเกี่ยวกับคนพิการ อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์

5.1 เอกสารหลักฐานของคนพิการ

(1) บัตรประจำตัวคนพิการใบเดิม

(2) เอกสารประจําตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

(ก) บัตรประจําตัวประชาชน

(ข) สําเนาบัตรประจําตัวข้าราชการ

(ค) สูติบัตรสําหรับบุคคลอายุต่ำกว่าสิบห้าปี

(ง) หนังสือรับรองการเกิดตามแบบที่กรมการปกครองกําหนด

(3) ทะเบียนบ้านของคนพิการ

กรณีที่คนพิการมีทะเบียนบ้าน แต่ไม่มีบัตรประชาชน ต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ก่อน

(4) หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล

(5) รูปถ่ายคนพิการ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ในกรณีที่คนพิการไม่ได้มายื่นคำขอด้วยตนเอง

(6) กรณีมีความพิการเพิ่ม หรือเปลี่ยนไปจากเดิม

- เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีประกาศกําหนด

- สภาพความพิการเป็นที่เห็นได้โดยประจักษ์ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอถ่ายสภาพความพิการไว้เป็นหลักฐาน

5.2 เอกสารหลักฐานของผู้ดูแลคนพิการ (ผู้ซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับคนพิการ หรือเป็นผู้ดูแลคนพิการ ซี่งคนพิการอาศัยอยู่ด้วยตามความเป็นจริง)

(1) บัตรประชาชนของผู้ดูแลคนพิการ

(2) ทะเบียนบ้านของผู้ดูแลคนพิการ

กรณีคนพิการมิได้มาแจ้งหรือไม่สามารถแจ้งได้

(1) หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการ

- ผู้รับรอง : กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สมาชิกสภาท้องถิ่น ประธานชุมชน ลูกจ้างประจํา (หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ) โดยผู้รับรองต้องอาศัยอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เดียวกับที่คนพิการอาศัยอยู่ในปัจจุบัน

(2) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับรอง พร้อมรับรองสําเนา จำนวน 1 ฉบับ

* ข้าราชการบำนาญ ไม่สามารถรับรองหนังสือนี้ได้

* การรับรองจะสมบูรณ์ เมื่อพยานลงนามครบถ้วน

* การรับรองอันเป็นเท็จมีความผิดตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา

5.3 บุคคลอื่นยื่นคำขอมีบัตรฯ แทนคนพิการ

(1) สำเนาบัตรประชาชนของบุคคลที่ดำเนินการแทน

(2) หนังสือมอบอำนาจ เป็นหลักฐานว่าได้รับมอบจากคนพิการ (พยานต้องลงนามครบถ้วน*)

กรณีคนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความสามารถ หรือมีความพิการถึงขั้นไม่สามารถดำเนินการเองได้ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ดูแล ดำเนินการแทนได้

กรณีคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการถึงแก่ความตาย หรือได้รับการแก้ไข ฟื้นฟู จนไม่มีสภาพความพิการ หรือมีความประสงค์ยกเลิกการมีบัตรประจำตัวคนพิการ ให้ผู้มีบัตรประจำตัวคนพิการหรือบุคคลที่ดำเนินการแทน แจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อจำหน่ายออกจากทะเบียนบัตรประจำตัวคนพิการต่อไป

6.1 เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอ กรณีคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการถึงแก่ความตาย

(1) บัตรประจำตัวคนพิการ (ถ้ามี)

(2) บัตรประจำตัวประชาชนของคนพิการ

(3) ทะเบียนบ้านของคนพิการ

(4) สำเนาใบมรณะบัตร

6.2 เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอ กรณีได้รับการแก้ไขฟื้นฟูจนไม่มีสภาพความพิการ หรือมีความประสงค์ยกเลิกการมีบัตรประจำตัวคนพิการ

(1) บัตรประจำตัวคนพิการ

(2) บัตรประจำตัวประชาชนของคนพิการ

(3) ทะเบียนบ้านของคนพิการ

(4) เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีประกาศกําหนด

(5) ยื่นคำขอแทน ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ดำเนินการแทน และหนังสือมอบอำนาจ (พยานต้องลงนามครบถ้วน*)

กรณีคนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความสามารถ หรือมีความพิการถึงขั้นไม่สามารถดำเนินการเองได้ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ดูแล ดำเนินการแทนได้

สิทธิการอุทธรณ์

1. กรณีคนพิการไม่ได้รับอนุมัติให้มีบัตรประจำตัวคนพิการ อาจยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อนายทะเบียนแห่งนั้น ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งดังกล่าว

2. ให้นายทะเบียนพิจารณาคำอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์แล้ว ให้แจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมเหตุผลเป็นหนังสือต่อผู้อุทธรณ์ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พิจารณาอุทธรณ์เสร็จ คำวินิจฉัยของนายทะเบียนให้เป็นที่สุด

หากคนพิการมีปัญหา หรือมีข้อสงสัยในการดำเนินการขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่

- กรุงเทพมหานคร ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร โทร. 02-3543388 ต่อ 701-705 ในวันและเวลาราชการ

- ต่างจังหวัด ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด

**บัตรประจำตัวคนพิการมีอายุ 8 ปี นับตั้งแต่วันออกบัตร**

สถานที่ลงทะเบียนคนพิการ

ขั้นตอนการบริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ มีด้วยกัน 6 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนการบริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ

  • คนพิการหรือผู้ปกครอง/ผู้พิทักษ์/ผู้อนุบาล/ผู้ดูแลคนพิการ ยื่นคำร้อง
  • เจ้าหน้าที่รับคำร้องตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอมีบัตร
  • สอบข้อเท็จจริงตามแบบฟอร์มและบันทึกข้อมูลในระบบ
  • ถ่ายรูปคนพิการนำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์
  • ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและพิมพ์บัตรประจำตัวคนพิการ
  • มอบบัตรให้คนพิการ.

ที่มา: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ