คนพิการต้องผูกพร้อมเพย์ไหม รับแจกเงิน 10,000 บาท โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ

20 ก.ย. 2567 | 18:09 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.ย. 2567 | 05:43 น.

เคลียร์ชัดข้อสงสัยสำหรับ “คนพิการ” หนึ่งในกลุ่มเปราะบาง ที่มีคำถามว่า "คนพิการต้องผูกพร้อมเพย์ไหม" ในการรับแจกเงิน 10,000 บาท จาก โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ และอีกหลายคำถาม ดูรายละเอียดได้ที่นี่

ฐานเศรษฐกิจ รับข้อมูลจาก 1 ในกลุ่มคนเปราะบาง คือ “ผู้พิการ" หรือคนพิการ” ที่มีข้อสงสัยในการรับสิทธิ์ “โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคน” ของรัฐบาล

หลังจากเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการ เพื่อเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจโดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบางเป็นลำดับแรก

คนพิการต้องผูกพร้อมเพย์ไหม รับแจกเงิน 10,000 บาท โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ

เมื่อเราผ่า “โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567” ออกเป็น 2 ส่วนจะพบว่าเป็นโครงการสำหรับกลุ่มเปราะบาง 2 กลุ่มคือ  1. กลุ่มที่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และ 2. เป็นกลุ่มคนพิการ 

จึงทำให้แยกเป็น 2 โครงการย่อยคือ  1.โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  และ 2. โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ

หากโฟกัสลงไปเฉพาะ “โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ” จะพบรายละเอียดและเงื่อนไขดังนี้ 

คนพิการต้องผูกพร้อมเพย์ไหม รับแจกเงิน 10,000 บาท โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ

  • เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพ
  • เพิ่มศักยภาพของคนพิการ ซึ่งเป็นผู้เปราะบางที่ขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม 
  • ให้มีโอกาสเข้าถึงการใช้จ่ายที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการและความจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภท
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 
  • เพิ่มการบริโภคและกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ 

โดยรัฐจะสนับสนุนเงินจำนวน 10,000 บาทต่อคน ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

  • (1) ช่องทางการรับเงินเบี้ยความพิการที่ได้รับข้อมูลจาก อปท. กทม. และเมืองพัทยา
  • (2) บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนของคนพิการ (กรณีไม่ปรากฏข้อมูลช่องทางการรับเงินเบี้ยความพิการตามข้อ (1)) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวนประมาณ 2.15 ล้านราย ประกอบด้วย:
    • 2.1 คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่ยังไม่หมดอายุตามฐานข้อมูลของ พก. พม.
    • 2.2 คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่หมดอายุตามฐานข้อมูลของ พก. พม. และไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งจะต้องต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และ พก. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ จึงจะได้รับสิทธิ
    • 2.3 คนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการในฐานข้อมูลของ พก. พม. แต่ได้รับเงินเบี้ยความพิการตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา และไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งจะต้องทำบัตรประจำตัวคนพิการภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และ พก. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ จึงจะได้รับสิทธิ
    • 2.4 คนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการในฐานข้อมูลของ พก. พม. แต่ได้รับเงินเบี้ยความพิการตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่ได้ยืนยันตัวตน (e-KYC) ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ตามฐานข้อมูลโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ของกระทรวงการคลัง ซึ่งจะต้องทำบัตรประจำตัวคนพิการภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และ พก. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ จึงจะได้รับสิทธิ

ทั้งนี้ จะใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 และไม่รวมถึงคนพิการที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ในสังกัด พม. ตามที่ยืนยันข้อมูลคนพิการดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ

สำหรับการดำเนินการ กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางจะเริ่มทยอยจ่ายเงินตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 เป็นต้นไป

คนพิการต้องผูกพร้อมเพย์ไหม รับแจกเงิน 10,000 บาท โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ

จำนวนคนพิการที่มีบัตรคนพิการ 2567 

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 แสดงให้เห็นถึงภาพรวมสถานการณ์ของคนพิการในประเทศไทย

พบว่ามีคนพิการที่มีบัตรคนพิการทั่วประเทศจำนวน 2,215,079 คน คิดเป็นร้อยละ 3.35 ของประชากรทั้งหมด โดยผู้ชายมีจำนวน 1,148,554 คน (ร้อยละ 51.85) และผู้หญิง 1,066,525 คน (ร้อยละ 48.15)

การแบ่งกลุ่มอายุ

คนพิการส่วนใหญ่ในประเทศไทยอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จำนวน 1,283,185 คน คิดเป็นร้อยละ 57.93 ของจำนวนคนพิการทั้งหมด ขณะที่กลุ่มวัยแรงงาน (15-60 ปี) มีจำนวน 850,396 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 38.39 และกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีจำนวนเพียง 68,888 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 3.11 ของคนพิการทั้งหมด

ประเภทของความพิการ

ประเภทของความพิการที่พบมากที่สุดคือความพิการทางการเคลื่อนไหว/ทางร่างกาย มีจำนวน 1,126,539 คน คิดเป็นร้อยละ 50.86 รองลงมาคือความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย จำนวน 423,482 คน คิดเป็นร้อยละ 19.12 ส่วนความพิการทางการมองเห็นมีจำนวน 178,432 คน คิดเป็นร้อยละ 8.06 นอกจากนี้ยังมีความพิการทางจิตใจ/พฤติกรรมและทางสติปัญญาที่พบในจำนวนไม่มากนัก

สถานการณ์ในภูมิภาคต่าง ๆ

กรุงเทพมหานครมีจำนวนคนพิการสูงสุดที่ 105,573 คน ตามมาด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีจำนวนมากที่สุดถึง 860,083 คน ในขณะที่ภาคอื่น ๆ เช่น ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ก็มีจำนวนคนพิการที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ

 

ช่องทางติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

1. คนพิการ

  • 1.1 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม พม. โทรศัพท์สายด่วน (Call Center) 1300
  • 1.2 พก. โทร. 0 2354 3388 ต่อ 701-702 (หน่วยงานออกบัตรประจำตัวคนพิการ)
  • 1.3 ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น. - 16.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ทั้งนี้สามารถตรวจสอบสถานที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ของศูนย์บริการคนพิการแต่ละแห่งได้ทางเว็บไซต์ www.dep.go.th/th/contact-us/dsc-contactcenter
  • 1.4 อปท. กทม. หรือเมืองพัทยาที่คนพิการรับเงินเบี้ยความพิการ ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น. - 16.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

2. ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

  • 2.1 ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โทร. 0 2109 2345 ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น. - 17.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • 2.2 Call Center กรมบัญชีกลาง โทร. 0 2270 6400 ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น. - 16.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

ที่มาข้อมูล