สถานการณ์ด้านประชากรของประเทศไทย ได้เข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุเป็นที่เรียบร้อย การเตรียมความพร้อมด้านของรายได้-ค่าใช้จ่าย หรือ เงินสวัสดิการต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญกับการวางแผนการใช้ชีวิตในช่วงวัยเกษียณ โดยเฉพาะ “เงินชราภาพ” ฐานเศรษฐกิจ สรุปวิธีคำนวณเงินชราภาพ จากข้อมูลของกระทรวงแรงงาน สรุปได้ดังนี้
1. ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ
สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ถึง 180 เดือนโดยมี 2 เงื่อนไข
กรณีที่ 1 : จ่ายเงินสมทบกรณี ชราภาพ ไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวน เงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ
วิธีคำนวณ
จำนวนเงินสมทบ x จำนวนเดือนที่จ่าย = เงินที่จะได้รับ ตัวอย่าง หากผู้ประกันตนอายุ 55 ปี และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 10 เดือน ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพจะได้รับ 300 x 10 = 3,000 บาท
กรณีที่ 2 : จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างนำส่งพร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคม ประกาศกำหนด
วิธีคำนวณ
เงินสมทบของผู้ประกันตน + เงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน = จำนวนเงินบำเหน็จชราภาพ “ผลประโยชน์ตอบแทน” เงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 คือ เงินปันผล ที่จ่ายให้แก่ผู้ประกันตนจากการที่สำนักงานประกันสังคมนำเงินสมทบไปลงทุน โดยแต่ละปีจะมีอัตราที่แตกต่างกัน ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
2. ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ
กรณีที่ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบ มาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ครบอายุ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุด ลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
วิธีคำนวณตัวอย่างที่ 1 : 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย = 20 x 13,000 + 100 = 2,600
กรณีที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพขึ้นอีกในอัตรา 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน เช่น จ่ายเงินสมทบ มาได้ 193 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตรา 21.5% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือน สุดท้าย เป็นต้น
วิธีคำนวณตัวอย่างที่ 2 : ผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี