“เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ” บัญชีกลางโอนไม่สำเร็จ 2 แสนคน เร่งผูกพร้อมเพย์

05 พ.ย. 2567 | 06:23 น.
อัปเดตล่าสุด :05 พ.ย. 2567 | 06:25 น.

บัญชีกลางเผยโอน “เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ” ไม่สำเร็จ 2 แสนคน แนะเร่งผูกพร้อมเพย์ แจ้งวันโอนซ้ำ 3 ครั้ง ก่อนโดนตัดสิทธิ

นางสาวทิวาพร ผาสุข รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามมติคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 อนุมัติแนวทางการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่ได้รับสิทธิในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

โดยให้จ่ายเงินสงเคราะห์ฯ ในอัตรา 100 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 9 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายน 2567 โดยจะดำเนินการจ่ายเป็นรายไตรมาส ผ่านระบบพร้อมเพย์และบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผู้มีสิทธิแจ้งตามหนังสือให้ความยินยอมโอนเงินสวัสดิการเข้าบัญชีร่วมกับบุคคลอื่นหรือบัญชีบุคคลอื่น

 

โดยผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิจะต้องเป็นผู้สูงอายุที่เกิดก่อนวันที่ 1 กันยายน 2507 ซึ่งมีรายการที่โอนเงินไม่สำเร็จ (Reject) จำนวน 245,288 คน

สำหรับการดำเนินการดังกล่าว เป็นมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เมื่อวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 ได้อนุมัติแนวทางการโอนเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่ได้รับสิทธิในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รายการที่โอนเงินไม่สำเร็จ (Reject)

และให้ทำการแก้ไขรายการที่โอนเงินไม่สำเร็จ (Reject)    จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้

 

วันที่ดำเนินการ
แก้ไขรายการที่โอนเงินไม่สำเร็จ (Reject)

ช่องทางการรับเงิน

ครั้งที่ 1

วันที่ 6 พ.ย. 67

ครั้งที่ 2

วันที่ 6 ธ.ค. 67

ครั้งที่ 3

วันที่ 6 ม.ค. 68

1. บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน

ต้องผูกพร้อมเพย์ก่อนวันจ่ายเงิน 3 วัน        

 

อา. 3 พ.ย. 67

 

อ. 3 ธ.ค. 67

 

ศ. 3 ม.ค. 68

2. บัญชีเงินฝากธนาคารตามหนังสือให้ความยินยอมฯ
(กรณีไม่สามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์ได้)  

ยื่นหนังสือให้ความยินยอมฯ ณ สำนักงานคลังจังหวัด/กรมบัญชีกลาง

 

 

-

 

 

พ. 20 พ.ย. 67

 

 

ศ. 20 ธ.ค. 67

 

หมายเหตุ : การแก้ไขรายการที่โอนเงินไม่สำเร็จ (Reject) ครั้งที่ 3 กรณีที่ไม่มีบัญชีเงินฝากธนาคารตามหนังสือให้ความยินยอมฯ จะเพิ่มช่องทางการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือโอนเงินเข้าบัญชี พร้อมเพย์ของผู้มีสิทธิ ตามลำดับ