"กพร." ทุ่ม 525 ล้าน พัฒนา 187 ชุมชนรอบเหมือง วางเป้าให้ อปท. กว่า 100 ล.ต่อปี

24 ธ.ค. 2567 | 01:19 น.

"กพร." ทุ่ม 525 ล้าน พัฒนา 187 ชุมชนรอบเหมือง วางเป้าให้ อปท. กว่า 100 ล.ต่อปี เดินหน้ายกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมเหมืองแร่มุ่งสู่ความยั่งยืน ระบุภาคอุตสาหกรรมยังเป็นกลไกสะท้อนความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจประเทศ

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้ดำเนินการจัดสรรเงินผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐกว่า 525 ล้านบาท เพื่อพัฒนาชุมชนรอบเหมือง 187 แห่ง

โดยเป็นไปตามแนวคิดเหมืองแร่เพื่อชุมชน ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมเหมืองแร่มุ่งสู่ความยั่งยืน ซึ่งกพร. ยังมีแผนที่จะจัดสรรเงินกระจายสู่ชุมชนที่อยู่โดยรอบการประกอบการเหมืองแร่เป็นประจำทุกปี โดยตั้งเป้าหมายในการจัดสรรเงิน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ปีละไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท และวางมาตรการในการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนรอบเหมืองแร่อย่างเข้มข้น

ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมยังคงเป็นกลไกสะท้อนความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในภาวะการเปลี่ยนแปลงที่มีบริบทด้านความยั่งยืนเป็นเป้าหมาย การเสริมสร้างศักยภาพด้านการผลิตอาจไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมุ่งเน้นการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน 
 

กระทรวงอุตสาหกรรมจึงมีนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย หรือ Industrial Reform เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว โดยกำหนด 3 พันธกิจสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินงาน ประกอบด้วย 

  • การจัดการกากอุตสาหกรรมตกค้างทั้งระบบอย่างเข้มงวด 
  • การปกป้องอุตสาหกรรมไทยจากการทุ่มตลาด รวมถึงช่วยผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการทะลักเข้าของสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน และยกระดับขีดความสามารถ SMEs ไทย

"กพร." ทุ่ม 525 ล้าน พัฒนา 187 ชุมชนรอบเหมือง วางเป้าให้ อปท. กว่า 100 ล.ต่อปี

  • การสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงยังได้มอบหมายกรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้สังกัด บูรณาการการทำงานร่วมกันกับภาคประชาชน เอกชน และท้องถิ่น เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไปพร้อมกับการพัฒนาชุมชนให้เกิดการเติบโตไปพร้อมกัน

สำหรับการการปฏิรูปด้านที่ 3 นี้มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งหนึ่งในอุตสาหกรรมที่กระทรวงต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างผลกระทบเชิงบวกเพิ่มมากขึ้นคืออุตสาหกรรมเหมืองแร่ เนื่องจากเป็นต้นน้ำและเป็นวัตถุดิบสำคัญต่อหลาย ๆ อุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ 
 

จึงได้สั่งการให้ กพร. สรรหาแนวทางสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมดังกล่าว ทั้งในด้านการประกอบกิจการที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ มาตรฐานการประกอบการที่มีธรรมาภิบาล การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนรอบเหมือง การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

รวมถึงการดูแลชุมชน และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับระบบนิเวศโดยรอบภายใต้แนวคิดเหมืองแร่เพื่อชุมชน นอกจากนี้ ยังมุ่งผลักดันให้เกิดต้นแบบกิจการเหมืองแร่ที่ดี เพื่อส่งต่อไปยังกิจการอื่น ๆ ที่มีอยู่กว่า 800 แห่งทั่วประเทศ

ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงฯจะช่วยเหลือผู้ประกอบการในทุกระดับ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ทั้งชุมชน สังคม และอุตสาหกรรมเติบโตไปด้วยกัน โดยกำหนดนโยบาย 4 มิติ ประกอบด้วย 

  • การสร้างความสำเร็จให้ภาคธุรกิจ 
  • การดูแลสังคมโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม 
  • การรักษาสิ่งแวดล้อม
  • การกระจายรายได้ให้กับประชาชนเพื่อมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการจัดสรรเงินผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในวันนี้ เป็นกิจกรรมเชิงประจักษ์ที่แสดงให้เห็นว่า หน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรม 

อย่างไรก็ดี อีกพันธกิจสำคัญคือการดูแลสังคมโดยรอบสถานประกอบการพร้อมกับการกระจายรายได้ ดูแลชุมชนในพื้นที่ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน
  
ดร.อดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า เหมืองแร่เพื่อชุมชนดังกล่าวจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาภาคอุตสาหกรรม สังคม
และชุมชนให้เติบโตร่วมกันได้อย่างยั่งยืน 

การจัดสรรเงินผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐดังกล่าวให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ที่อยู่ในละแวกพื้นที่การประกอบธุรกิจเหมืองแร่ ถือเป็นการมอบของขวัญปีใหม่ให้แก่ 187 ชุมชนทั่วประเทศ มูลค่ารวมกว่า 525 ล้านบาท

สำหรับในปี 2568 การขับเคลื่อนแนวคิดเหมืองแร่เพื่อชุมชนจะยังคงเป็นแนวทางที่สำคัญในการทำงานของ กพร. เพื่อให้ชุมชนโดยรอบเหมืองแร่ที่มีจำนวนกว่า 480 เหมือง หรือ 850 แปลงประทานบัตร ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแร่ และสร้างระบบนิเวศที่สมดุลมากขึ้น โดย กพร. มีแนวทางในการติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สุขภาพ 

และผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องจากกิจการเหมืองแร่ รวมถึงการจัดสรรผลประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งแร่ให้กับชุมชนในพื้นที่อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ด้วยการผลักดันให้ผู้ประกอบการดำเนินกิจการด้วยความเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการเหมืองแร่สีเขียวเพื่อมอบรางวัลให้กับเหมืองแร่ดีเด่นที่สามารถรักษามาตรฐานการประกอบการเพื่อลดผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรแร่อย่างคุ้มค่า