ปฎิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันร้านค้าออนไลน์ (E-commerce) เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดพื้นที่ค้าปลีกมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา ซึ่งปี 2564 อีคอมเมิร์ซมีมูลค่า 693,000 ล้านบาท เติบโต 75% จากปี 2563 และคาดว่าในปีนี้(2565)มูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้น30% จากปี 2564หรือมีมูลค่าแตะ 900,900 ล้านบาท
สอกคล้องกับข้อมูลของบริษัทวิจัย Forrester อีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มียอดขายกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2563 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.43 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2568 โดยในปี 2563 ของชำเป็นกลุ่มสินค้าสำหรับการชอปปิ้งที่เติบโตรวดเร็วที่สุดด้วยอัตราการเติบโต 97%เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
แม้ว่าผู้ค้าปลีกที่มีหน้าร้านจริงหรือแม้แต่ผู้ดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะใช้กลยุทธ์ Omnichannel เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีความท้าทายอีกมากมายที่ผู้ค้าปลีกต้องเอาชนะเพื่อยืนหยัดในสมรภูมิอีคอมเมิร์ซ ซึ่งอัตราการเข้าถึง (penetration rate) สำหรับสินค้าประเภทของชำในตลาดออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังอยู่ในระดับเพียง 2% เท่านั้น
ขณะที่ Modern trade กลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ตที่เน้นจำหน่ายสินค้าอาหาร และของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวันที่หดตัวลงจากการที่ผู้บริโภคออกจากบ้านน้อยลงและหันมาจับจ่ายผ่านทางE-commerce มากขึ้น ในช่วง2-3ที่ผ่านมา ทำให้ภาพของห้างค้าปลีกต่างๆหันมาให้น้ำหนักกับการพัฒนาช่องทางจำหน่ายออนไลน์ของตัวเอง นอกเหนือจากการเปิดร้านค้าออนไลน์ในอีมาร์เก็ตเพลสต่างๆ รวมทั้งบิ๊กค้าปลีกอย่าง "Big C” ที่หันมาพัฒนาแอป "Big C PLUS" เพื่อรุก “Omnichannel” ซึ่งเป็นแอปพลิเคชัน เวอร์ชั่น 3 ของ"Big C”
การอัพเกรด แอปพลิเคชัน ในครั้งนี้ผู้บริหารเปิดเผยว่า เป็นการยกเครื่องบิ๊กซีแอปพลิเคชันใหม่ทั้งหมด โดยใช้เวลาในการพัฒนาร่วม1ปีเต็มเบื้องต้นตั้งเป้ายอดดาวน์โหลดหรือผู้ใช้งาน 5 ล้านรายจากฐานเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน 3 ล้านราย นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบีเจซี บิ๊กซี เปิดเผยว่า “กลยุทธ์ของบิ๊กซีเน้นการยกระดับประสบการณ์ให้ลูกค้ามีความสุข สะดวกสบาย และได้รับสินค้าและบริการในราคาที่คุ้มค่าที่สุด โดยนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเติมเต็มทั้งสาขาและออนไลน์ผ่านเว็บไซต์บิ๊กซีออนไลน์ ซึ่งที่ผ่านมาได้รับผลตอบรับที่ดี เราจึงต่อยอดสู่การพัฒนาแอปบิ๊กซี พลัส โฉมใหม่ทั้งหมดและรีแบรนด์แอปใหม่ในชื่อ “บิ๊กซี พลัส” (Big C PLUS) เพื่อตอบโจทย์การช้อปปิ้งของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นและมากกว่าเดิม รวมสินค้าอุปโภคบริโภค มาไว้ที่หน้าจอมือถือ พร้อมบริการจัดส่งรวดเร็ว ทั่วไทย
แอป Big C PLUS เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของบิ๊กซีที่เรามุ่งมั่นลงทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านดิจิทัลในระยะยาวและทำให้บิ๊กซีอยู่ในใจลูกค้าตลอดไป โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่คำนึงถึงความสะดวกและรวดเร็วต้องมาก่อน รวมถึงเป็นการทำตลาดที่สอดรับกับเรื่องของเทรนด์ค้าปลีกที่มุ่งไปที่การสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งให้กับลูกค้าแบบไร้รอยต่อ”
ด้านดร.ปิยะวรรณ ปิยะพงษ์ รองประธานบริหารเจ้าหน้าที่สายธุรกิจดิจิทัล บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ห้างค้าปลีกในกลุ่มบีเจซี กล่าวว่า “คนไทยหันมาช้อปผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา เราเห็นการเติบโตของดีมานด์ทั้งจากกลุ่มลูกค้าหลักจากสาขาบิ๊กซี และลูกค้าใหม่ในช่องทางออนไลน์ บิ๊กซีมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่อย่างต่อเนื่องสู่การเป็น Digital Commerce Platform อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีทีมบิ๊กซี ดิจิทัล (Big C Digital) หน่วยงานคนรุ่นใหม่ผู้รับผิดชอบในการพัฒนายกเครื่องและทรานสฟอร์มแอปใหม่ทั้งหมด โดยวางเป้า 5 ล้านดาวน์โหลดภายในปีหน้า (2566) และการเติบโตของยอดขายผ่านแอปคิดเป็นสัดส่วน 80 % ของบิ๊กซีออนไลน์ทั้งหมด
“ปีนี้เป็นปีแรกที่เราวาง โรดแมป ในเชิงการตลาด เราอยากเป็นแอปพลิเคชัน ที่ลูกค้าสามารถเข้ามาใช้งานได้ทุกวันโดยเชื่อมต่อฐานบัญชีกลางทั้งหมด ในระยะถัดไปเราจะพัฒนาบริการที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ในอนาคตเราจะเพิ่มบริการด้านอื่นๆเช่นการเงินอาทิ เติมเงินมือถือ จ่ายบิลและสุขภาพ อาทิการทำเทเลเฮลท์ซึ่งจะเชื่อมโยงกับร้านขายยาเพรียวภายในปี 2024 รวมทั้งดึงร้านค้าที่เปิดร้านในพื้นที่ ของห้างเราเข้ามาอยู่บนแอปพลิเคชัน ในส่วนของต่างประเทศเราจะโฟกัสประเทศที่มีแบรนด์ BigC ก่อน และเฟสต่อไปจะพัฒนาแอปพลิเคชัน Big C สำหรับธุรกิจ อีกด้วย ”
ทั้งนี้ฟีเจอร์ที่โดดเด่นของแอป Big C PLUS ประกอบไปด้วย
“บิ๊กซี เริ่มทำตลาดออนไลน์มา7-8ปี ซึ่งที่ผ่านมาเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เราต้องเปลี่ยนเร็วมีการยกระดับและอัพเกรดเทคโนโลยีเป็นระยะ ช่วง2ปีที่ผ่านมาอัตราการเติบโตของออนไลน์มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วงโควิด ในปีที่ผ่านมาเรามีการเติบโตกว่า 60% การลงทุน Application คันนี้เราหวังว่าลูกค้าจะเข้ามาใช้งานและดันยอดขายออนไลน์เติบโต 100% แม้ว่าปีนี้ในภาพรวมการเติบโตของช่องทางออนไลน์จะลดลงเนื่องจากคนเริ่มกลับมาจับจ่ายในไฮเปอร์มาร์เก็ตแต่เชื่อว่าอีมาร์เก็ตเพลสจะยังคงเป็นช่องทางที่ลูกค้าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องหลังโควิด”