นางสมถวิล ปธานวนิช ที่ปรึกษาคณะจัดการโรงพยาบาลเมดพาร์ค เปิดเผยว่า “เมดพาร์ค” ให้ความสำคัญกับการทำประโยชน์แก่สังคมเพราะเป็นนวัตกรรมทางความคิด ซึ่งกลุ่มของเมดพาร์คอยู่ในธุรกิจสุขภาพแม้จะเป็นโรงพยาบาลใหม่แต่ไม่ใช่หน้าใหม่ในธุรกิจโรงพยาบาล ที่ผ่านมาผู้บริหารและทีมงานอยู่ในธุรกิจโรงพยาบาลมาแล้วกว่า 30 ปี แต่โรงพยาบาลเมดพาร์คที่สร้างใหม่นี้จะเป็น business model ใหม่ที่ตั้งใจจะปลูกฝังให้ทุกคนเข้าใจว่าการทำธุรกิจ การทำเพื่อสังคม การสร้างความยั่งยืนให้กับโลกมนุษย์และเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมันคือชุดความคิดชุดเดียวกัน
กลุ่มเมดพาร์คเราจึงเรียกตัวเองว่า business and Sustainability integration โดยมุ่งเน้นที่จะรักษาโรคยากซับซ้อน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นเมดิคอลฮับอย่างแท้จริงซึ่งทุกภาคส่วนต้องช่วยกันผลักดันไม่ใช่องค์กรใดองค์กรหนึ่งทำ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน โรงพยาบาล พันธมิตรต่างๆเพื่อทำให้เมืองไทยสามารถไปแข่งขันกับต่างประเทศได้
“medical hub เราพูดมานานแล้วแต่ในการที่จะทำให้เป็นรูปธรรม เราจะต้องใส่ความยั่งยืนเข้าไปใน mission ของเราด้วย เมดพาร์คเราทำความเข้าใจกับผู้ร่วมก่อตั้งและผู้ร่วมงานให้เข้าใจตรงกันว่าโรงพยาบาลนี้จะสร้างความแตกต่างเราอยากจะใส่เรื่องความยั่งยืน ใน 3 เรื่องคือ 1 เราจะทำเรื่องของการรักษาพยาบาลที่แข่งขันได้ เรื่องที่ 2 เราจะยั่งยืนได้เราต้องสร้างคนของเราเอง ปัจจุบันแพทย์ไทยเมื่อจบแพทย์จะต้องไปเรียนเฉพาะทางในต่างประเทศเพื่อนำเอาความรู้เทคโนโลยีใหม่ๆกลับเข้ามา เราจึงอยากส่งเสริมเพราะแพทย์ในสาขาที่ขาดแคลนมีจำนวนจำกัดมากในไทย ถ้าโรงพยาบาลเราจะอยู่ยั่งยืนได้เราจึงทำเรื่องของการฝึกอบรมและการเรียนการสอน
และเรื่องที่ 3 คือเรื่องของงานวิจัย ประเทศไทยเราซื้อทุกอย่างจากต่างประเทศเข้ามาดัดแปลง แต่หากเราทำวิจัยได้สำเร็จเรื่องหนึ่งจะไม่ใช่แค่ดีสำหรับคนไทยแต่จะดีกับทั้งโลก ถึงแม้จะต้องใช้เวลาอีกหลายปีแต่มันต้องมีวันที่เริ่มต้น สิ่งที่เป็นเป้าหมายระยะยาวต้องเริ่มทำวันนี้ไม่ใช่ยืดระยะเวลาการเริ่มต้น โรงพยาบาลชั้นนำหรือโรงเรียนแพทย์ชั้นนำในต่างประเทศที่อยู่มาเป็นร้อยปีมักจะมีมูลนิธิเข้ามาสนับสนุน เพื่อใช้เป็นทุนส่งหมอไปเรียนหรือนำมาทำวิจัย”
นางสมถวิลกล่าวต่อไปว่า “เวลาเราพูดถึงสิ่งแวดล้อมหรือรักษ์โลกเรามักจะพูดถึงทรัพยากรธรรมชาติ พูดถึงการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ กำจัดขยะ รีไซเคิลต่างๆ แต่เราลืมคิดไปว่ามนุษย์ก็คือสิ่งแวดล้อมเช่นกัน เพราะฉะนั้นเราจึงทำแคมเปญ save doctor, save people, save thailand ขึ้นมาและทำต่อเนื่องมาถึง 2 ปีติดต่อกัน ซึ่งโปรเจ็คแรกคือการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับบริจาคมาให้ประเทศไทย 1.5 ล้านโดสเพื่อฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งแพทย์คลินิกเอกชนที่ไม่มีสังกัดในเวลานั้น รวมถึงประชาชนทั่วไปจนถึงปัจจุบันเราฉีดวัคซีนฟรีไปแล้วกว่า 350,000โดส ใช้เวลาปฏิบัติงานมากกว่า7000ชม. ขณะเดียวกันบุคลากรของโรงพยาบาลมีจำนวนน้อย แต่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั่วไปเข้ามาเป็นอาสาสมัครกว่า 200 คน
และในปี 2565 นี้เราทำโครงการดูแลหัวใจหมอ เนื่องจากเราพบว่าแพทย์เสียชีวิตก่อนวัยอันควรโดยสาเหตุต่างๆรวมถึงเรื่องหัวใจ เราจึงทำการตรวจและดูแลรักษาหมอทั่วประเทศโดยมีหมอสนใจเข้าโครงการประมาณ 1,600 ท่าน จากการตรวจพบว่ามีแพทย์อายุน้อยที่มีโรคหัวใจแอบซ่อนอยู่โดยไม่รู้ตัว และเราได้ทำการรักษาให้ฟรีไปแล้วจำนวนหนึ่ง โครงการต่างๆเหล่านี้ทำให้โรงพยาบาลกลายเป็นที่รู้จัก และเมื่อประชาชนเกิดการเจ็บป่วยมักจะนึกถึงเรา มาใช้บริการเรา สนับสนุนเรา”
สำหรับไดเรคชั่นในอนาคต เมดพาร์คจะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาและการวิจัย โดยอาศัยความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะปัจจุบันเป็นยุคของการแสวงหาความร่วมมือในการเดินไปด้วยกันภายใต้คอนเซ็ปต์ “ความยั่งยืน” โดยเมดพาร์ค จัดตั้ง certify lab และ simulation center เพื่อฝึกคนโดยให้นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์เข้ามาcertify ไลน์เซ่นส์วิชาชีพ รวมทั้งมุ่งเน้นในเรื่องของการหาความร่วมมือโดยเฉพาะกับโรงพยาบาลต่างๆในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
“หลายคนเข้าใจผิดว่าเราอยู่รอดด้วยการแข่งขัน แต่ที่จริงเราอยู่รอดด้วยความร่วมมือ เพราะคนที่ต้องการใช้บริการมีมากมาย นอกจากนี้แล้วภาครัฐเป็นส่วนสำคัญมากแต่ทุกวันนี้เราไม่ได้มีการสนับสนุนเท่าที่ควรจึงทำให้เกิดช่องว่าง และทำให้การเติบโตของ “เมดิคอลฮับ” ไปไม่สุดทางสักที น่าเสียดายทรัพยากรหมอเก่งๆเพราะจริงๆเรากำลังจะไปได้อีกแต่เราก็ติด
ส่วนอนาคตทางด้านเฮลท์แคร์ "เมดพาร์ค" เองจะเน้นไปที่ customization เพราะมนุษย์แต่ละคนแม้จะอายุเท่ากัน เป็นโรคเดียวกัน เพศเดียวกัน แต่ไม่มีใครเหมือนกัน อะไรที่จะทำให้คนไข้ฟื้นตัวได้เร็วเทคโนโลยีที่จะช่วยวินิจฉัยได้เร็ว รักษาได้เร็ว ลดระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาล ลดการใช้ทรัพยากร และตัวของผู้ป่วยเองควรจะได้รับการดูแลที่ customize มากขึ้น ซึ่งเราเชื่อว่าประเทศไทยสามารถทำได้ เพราะมีบุคลากรที่มี Empathy”