นายแจ๊ค สวี๋ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการด้านเทคนิคตลาดต่างประเทศ บริษัท ทงเวย โซลาร์ หรือ TW SOLAR เปิดเผยว่า หลังจากที่ทงเวยได้เริ่มทำการตลาดในประเทศไทย ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2566 รวมเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือน ผลปรากฏว่ามีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยแล้ว ซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทย เพราะทงเวยเป็นบริษัทพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของโลกที่ติดอยู่ในลิสต์ Fortune Global 500
นอกจากนี้ ทงเวยยังมีรากฐานที่แข็งแกร่งในห่วงโซ่อุตสาหกรรมแบบครบวงจร ได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่หนึ่งของโลกในด้านวัสดุและเซลล์ซิลิคอนเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน จากความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีอุปกรณ์การผลิตระบบอัตโนมัติ และระบบอัจฉริยะอยู่ในระดับสูงสุดในอุตสาหกรรม PV ของโลก รวมถึงการคัดสรรวัสดุและการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด ทำให้ Tongwei Solar ก้าวขึ้นเป็นผู้นำในด้านโมดูลคุณภาพสูง
โดยธุรกิจโมดูลโซลาร์เซลล์ของ Tongwei Solar ยังมีการเติบโตที่แข็งแกร่งนอกเหนือจากฐานการผลิตสี่แห่งที่มีอยู่ในเหอเฟย (Hefei) เหยียนเฉิง (Yancheng) จินถัง (Jintang) และหนานทง (Nantong) แล้ว Tongwei Solar ยังมีกำหนดจะเริ่มการผลิตที่ฐานซวงหลิว (Shuangliu) ภายในปี 2568 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตโดยรวมเป็น 100 กิกะวัตต์ ทำให้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากลูกค้าชาวไทย
ขณะเดียวกัน ในปี 2566 Tongwei Solar ยังมีความก้าวหน้ามากในการจำหน่ายแผงโซลาร์เซลล์ในตลาดไทย ด้วยการสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระยะยาวและมั่นคงกับผู้จัดจำหน่ายในไทย อย่างบริษัท ซันเดย์ โซลาร์ ซัพพลาย จำกัด (Sunday Solar Supply) พร้อมบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี
จากข้อมูลของ IHS พบว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำในตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีกำลังการผลิตติดตั้ง 1.26GW ในปี 2565 คิดเป็น 36% ของส่วนแบ่งตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับการดำเนินนโยบายพลังงานสะอาดและมาตรการจูงใจของประเทศไทยที่มีอย่างต่อเนื่อง จึงคาดว่ากำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ในไทยจะสูงถึง 2.17GW ภายในปี 2566 และจะกลายเป็นตลาดโซลาร์เซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยโครงสร้างกำลังการผลิตติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ของไทยนั้นการใช้งานในครัวเรือนมีสัดส่วนน้อยกว่า 1% แต่กำลังการผลิตติดตั้งในภาคอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์สูงถึง 1.85GW คิดเป็น 85%
ฉะนั้น ทงเวยจึงเดินหน้าเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “ทงเวย โซลาร์ G12R” ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์เรือธงที่จะทำการตลาดในประเทศไทย ปี 2567 ซึ่งเป็นสินค้าในกลุ่ม N-Type (แผงซิลิคอนที่ผ่านกระบวนการโดปปิ้งด้วยสารฟอสฟอรัส phosphorus ทำให้มีคุณสมบัติเป็น ตัวส่งอิเล็กตรอนเมื่อได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ มีประสิทธิภาพมากกว่า และเสื่อมสภาพช้ากว่าแผงชนิดอื่นๆ) โดยใช้เทคโนโลยีแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง TONGWEI TNC มีประสิทธิภาพการแปลงเฉลี่ยมากกว่า 26.1%
สำหรับแผงโซลาร์เซลล์ ( Photovoltaic : PV ) จากทงเวยจะใช้ซิลิคอนที่ดีที่สุดในการผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ มีความยืดหยุ่นในการป้องกันรอยแตกขนาดเล็กจากอุณหภูมิที่สูงมากและต่ำ เหมาะกับสภาพอากาศร้อนในประเทศไทย จึงมีความเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์กลุ่ม G12R นี้จะสามารถตอบสนองความต้องการของการใช้งาน PV ที่หลากหลายในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ทั้งภาคครัวเรือน เชิงพาณิชย์ และภาคอุตสาหกรรม
ด้าน นายแฟรงก์ เหยียน ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันเดย์ โซลาร์ ซัพพลาย จำกัด ผู้นำเข้า จัดจำหน่าย และให้บริการติดตั้งอุปกรณ์โซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายรายใหญ่แต่เพียงรายเดียวในประเทศไทยของแบรนด์ “ทงเวย โซลาร์” กล่าวว่า ในปี 2566 กลุ่มลูกค้าของ Tongwei ในตลาดไทยส่วนใหญ่มาจากลูกค้าในครัวเรือน อุตสาหกรรมและการพาณิชย์ และโรงไฟฟ้าภาคพื้นดินขนาดใหญ่ ซึ่งภาพรวมตลาดที่ผ่านมาถือว่าได้รับการตอบรับดีจากลูกค้าชาวไทย และคาดว่าจะสามารถจำหน่ายโซลาร์เซลล์ได้ไม่ต่ำกว่า 500 เมกะวัตต์ภายในปี 2567 และจะสร้างรายได้กว่า 5,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี
จากข้อมูลจาก IHS ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลเศรษฐกิจ-การลงทุนระดับโลกยังพบว่า ประเทศไทยได้เข้าสู่ตลาดระดับกิกะวัตต์ (GW) ตั้งแต่ปี 2565 โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 2GW ต่อปีในช่วงปี 2566 ถึง 2573 จึงบ่งชี้ว่ามูลค่าตลาดโดยรวมมีเสถียรภาพ ทำให้มีบริษัทเซลล์แสงอาทิตย์ระดับโลกจำนวนมากสนใจเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย การแข่งขันในตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ของไทยจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคต และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะเป็นจุดแข่งขันที่สำคัญ
สำหรับแผนการตลาดในปีหน้า ทั้งทงเวยและ ซันเดย์ โซลาร์ ซัพพลาย จะยังคงร่วมกันเสริมความแข็งแกร่งในตลาดไทยผ่านความร่วมมืออย่างใกล้ชิด เพื่อให้บริการพลังงานที่สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งกลุ่มลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม เชิงพาณิชย์ และภาคครัวเรือน นอกจากนี้จะติดตามโครงการโรงไฟฟ้าภาคพื้นดินในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนระบบพลังงานไฟฟ้าของประเทศ พร้อมส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนในท้องถิ่นด้วย