สพ.ญ. นันทิยา เจริญรัศมีโสภา กรรมการบริหารและผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสัตว์ Paw’s Buddy Hospital (พอว์ บัดดี้ ฮอสพิทัล) เพื่อนรักเจ้าเท้าปุย เปิดเผยว่า ปัจจุบันสัตว์เลี้ยงกับเจ้าของมีความใกล้ชิดกันมากเสมือนสมาชิกในครอบครัว และสัตว์เลี้ยงมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเจ็บป่วยแบบฉุกเฉินเหมือนกับคน แต่โรงพยาบาลสัตว์ที่พร้อมรองรับในรูปแบบศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉินยังมีอยู่จำนวนน้อยและเข้าไม่ถึงชุมชน โรงพยาบาลสัตว์ พอว์ บัดดี้ จึงเปิดทำการเป็นสถานรักษาดูแลสัตว์ในทุกช่วงวัยและยกระดับให้เป็นศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้เลี้ยงสัตว์เล็ก ตอบสนองและครอบคลุมทุกความต้องการของผู้รักสัตว์เลี้ยง รวมถึงการรับฝากเลี้ยง โรงแรมสำหรับสัตว์เลี้ยง และรับแอดมิทสัตว์ป่วย โดยมีสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแลอย่างใกล้ชิด
สำหรับโรงพยาบาลสัตว์ พอว์ บัดดี้ ได้จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์พร้อมบริการ ได้แก่ เครื่องตรวจเลือด เครื่องตรวจอิเล็คทรอไลต์ เครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องดมยาสลบ เครื่องช่วยหายใจสำหรับการวางยาในกรณีสัตว์ป่วยที่ไม่สามารถหายใจได้ และเครื่องติดตามสัญญาณชีพ เป็นต้น อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ มีทีมบุคลากรแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงทำงานในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เป็นที่รู้จักและยอมรับ มีความเชี่ยวชาญการใช้เครื่องมือและวินิจฉัยโรค การประเมินอาการเพื่อวางแผนการรักษาและพยาบาลได้ทันท่วงที ช่วยลดความเจ็บปวดและความทรมานของสัตว์เลี้ยงให้ได้โดยเร็ว เพราะการแพทย์ฉุกเฉินคือการช่วยเหลือได้เร็วทันการณ์ หมายถึง โอกาสรอดชีวิตของสัตว์ก็มีสูงขึ้นเช่นกัน
“จากประสบการณ์การทำงานทำให้รู้ว่า โอกาสในการรักษาหรือมีชีวิตรอดของสัตว์เลี้ยงขึ้นอยู่กับความเร็วและประสิทธิภาพในการจัดการภาวะฉุกเฉิน ณ ขณะนั้น ต้องยอมรับว่ามีสถานพยาบาลสัตว์เปิดขึ้นจำนวนมากก็จริง แต่หากสัตว์ป่วยที่อยู่ในภาวะที่ต้องช่วยเหลือแบบฉุกเฉินจำเป็นต้องเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลสัตว์ พอว์ บัดดี้ จึงขอเป็นหนึ่งทางเลือกให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ต้องการนำสัตว์ป่วยมารับการรักษาช่วยเหลือได้ในทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อหวังว่าสัตว์ป่วยที่เข้ามารักษาจะได้กลับบ้านไปอย่างปลอดภัย”
นอกจากนี้ สพ.ญ. นันทิยา กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การแข่งขันในอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงค่อนข้างรุนแรง เห็นได้จากการเปิดโรงพยาบาลและคลีนิคจำนวนมาก เพราะตลาดเพ็ท แคร์ (pet Care) มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ทำให้มีโอกาสในการขยายธุรกิจอีกมาก ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมากระแสการเติบโตของสัตว์เลี้ยงในบ้านมีจำนวนมากขึ้นจากครอบครัวที่เปิดต้อนรับสมาชิกใหม่ที่มาในรูปสี่ขา ส่งผลให้การเติบโตของสถานพยาบาลสัตว์ขนาดเล็กมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และเป็นการเลี้ยงแบบให้ความรักให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะถือว่าสัตว์เลี้ยงเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว
ข้อมูล Euromonitor เดือนสิงหาคม 2566 พบว่าตลาด เพ็ท แคร์ (pet Care) ปี 2566 มีมูลค่ารวม 5.5 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2565 และเติบโตสูงที่สุดในอาเซียน ตลอด 5 ปี นับจากปี 2561-2565 เติบโตเฉลี่ยปีละกว่าร้อยละ 10 จึงเป็นเหตุให้มีผู้สนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจสัตว์เลี้ยงเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่การจำหน่ายสัตว์เลี้ยง การพัฒนาอาหารสัตว์เลี้ยง ตลอดจนการเปิดสถานพยาบาลสัตว์เลี้ยงทั้งในรูปแบบคลินิกและโรงพยาบาล