"พระนครศรีอยุธยา” ใช้วิจัยสร้าง Soft Power เมืองกรุงเก่า กระตุ้นท่องเที่ยว

16 ก.ย. 2567 | 22:05 น.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมบริหารจัดการงบประมาณกองทุน ววน. ตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ที่รับงบประมาณด้านการวิจัยนำผลงานมาพัฒนาพื้นที่ในด้านการท่องเที่ยว

รศ.ดร.นิรมล สุธรรมกิจ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจพัฒนา กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำ กล่าวว่า ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ที่มีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุนและขับเคลื่อนระบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และสนับสนุนการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน พร้อมความร่วมมือกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดทำแผนงานความร่วมมือ ระยะ 4 ปี สนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 

\"พระนครศรีอยุธยา” ใช้วิจัยสร้าง Soft Power เมืองกรุงเก่า กระตุ้นท่องเที่ยว

โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund; FF) พัฒนาศักยภาพด้าน ววน.ของหน่วยรับงบประมาณให้มีความเข้มแข็งในภาพรวมของทั้งประเทศ และมีความครอบคลุมกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ววน. สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงานและตอบเป้าหมายของประเทศ ขณะที่นโยบายของคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ในช่วงปี 2568-2569 ได้จัดสรรงบประมาณโครงการ FF ให้หน่วยงานมีโครงการ Multi-Year ระยะเวลา 2-3 ปี ร้อยละ 30-50 ของงบประมาณของหน่วยงาน พร้อมทั้งให้หน่วยงานสนับสนุนทุนสำหรับนักวิจัยใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของงบประมาณของหน่วยงาน

ด้าน ผศ. ดร.เลิศชาย สถิตพนาวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า มรภ.พระนครศรีอยุธยา เป็นหนึ่งในสถาบันวิจัยและพัฒนาที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัย ได้ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรม งานวิจัย และบริการวิชาการ เป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการงานวิจัยและบริการวิชาการที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและยกระดับคุณภาพด้านงานวิจัย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ 

โดยได้รับงบประมาณและโจทย์วิจัยจากทางพื้นที่หรือชุมชน เฉพาะวิสาหกิจชุมชน ในด้านอาหาร และด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งคณะนักวิจัยได้นำเสนอโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน ววน. ดังนี้ 

\"พระนครศรีอยุธยา” ใช้วิจัยสร้าง Soft Power เมืองกรุงเก่า กระตุ้นท่องเที่ยว

1. โครงการ “เสน่ห์วิถีไทย กรุงเก่า”นวัตกรรมการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวสัมผัสเสน่ห์วิถีชีวิตเมืองกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวสัมผัสวิถี ชุมชน ผ่านเรื่องเล่า ตำนาน และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเมืองกรุงเก่า จัดกิจกรรมและเส้นทางท่องเที่ยว พร้อมยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของฝาก ของที่ระลึก ของแหล่งท่องเที่ยว และเพื่อสร้างนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ ส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยว ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การสานปลาตะเพียน นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ “เที่ยวตามวิจัย” 

2. โครงการ “การท่องเที่ยววิถีไทยเพื่อผู้สูงวัย” นวัตกรรมและการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพในเมืองมรดกโลก สำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย อ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รองรับนักท่องเที่ยวสูงวัย พัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รองรับนักท่องเที่ยวสูงวัยในเมืองมรดกโลก

\"พระนครศรีอยุธยา” ใช้วิจัยสร้าง Soft Power เมืองกรุงเก่า กระตุ้นท่องเที่ยว

3. โครงการ “การพัฒนาและยกระดับมูลค่าอาหารพหุวัฒนธรรมตำรับดั้งเดิมเมืองเก่าอยุธยา” เพื่อศึกษาอัตลักษณ์อาหารพหุวัฒนธรรมตำรับดั้งเดิมเมืองเก่าอยุธยา หนุนการท่องเที่ยวชุมชนเมืองเก่าอยุธยา พัฒนารูปแบบการสร้างสรรค์จัดกิจกรรมและเส้นทางท่องเที่ยวสัมผัสอาหารพาหุวัฒนธรรม สร้างรูปแบบการเล่าเรื่องเพื่อยกระดับมูลค่าอาหารพหุวัฒนธรรมตำรับดั้งเดิม พร้อมทั้งเป็นการพัฒนาและยกระดับมูลค่าอาหารพหุวัฒนธรรมตำรับดั้งเดิมเมืองเก่าอยุธยา ด้วยการตลาดเชิงบูรณาการ อาทิ ขนมตาล แกงมัสมั่น น้ำตาลสด แกงไก่นอกหม้อ

ทั้งนี้ ดร.ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผล กล่าวว่า จากการติดตามและประเมินผลของหน่วยรับงบประมาณจากกองทุน ววน. ที่ให้หน่วยบริหารและจัดการทุน และหน่วยรับงบประมาณ FF สามารถพัฒนากระบวนการทำงานที่ได้จากข้อเสนอแนะของคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ส่งผลให้มีความสามารถในการบริหารและจัดการทุนได้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศ เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง จนนำไปสู่ ระบบ ววน. ของประเทศ ซึ่งถูกขับเคลื่อนและพัฒนาให้ดีขึ้นด้วยการทำงานแบบเครือข่ายระหว่าง สกสว. หน่วยบริหารและจัดการทุน และหน่วยรับงบประมาณ