เปิดรายได้ เหล้า-เบียร์ ไทยเบฟ มีลุ้น เบียร์ช้าง ครองบังลังแชมป์ตลาดน้ำเมา

02 ต.ค. 2567 | 10:19 น.
อัพเดตล่าสุด :02 ต.ค. 2567 | 11:05 น.

ไทยเบฟ เปิดผลประกอบการ 9 เดือนแรก 67 กลุ่มธุรกิจน้ำเมายังฟอร์มดี มีลุ้น เบียร์ช้าง ครองบังลังแชมป์ตลาดน้ำเมา ด้านเหล้าสีกำไรหด หวังพึ่งเศรษฐกิจฟื้น

จบไปหมาด ๆ สำหรับการแถลงผลประกอบการ 9 เดือนแรก ปี 67 ของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ยักษ์ใหญ่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในบ้านเรา หากพูดถึงไทยเบฟ ต้องนึกถึง “กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ที่เป็นเหมือนกล่องดวงใจ

เปิดรายได้ เหล้า-เบียร์ ไทยเบฟ มีลุ้น เบียร์ช้าง ครองบังลังแชมป์ตลาดน้ำเมา

นายไมเคิล ไชน์ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจเบียร์ กล่าวว่า ธุรกิจเบียร์ของเราในประเทศไทยมีปริมาณขายที่เติบโตขึ้นอย่างน่าพอใจ โดยเฉพาะในช่วงกลางปี 2567 จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้น

เปิดผลประกอบการ “กลุ่มเบียร์”

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดบัญชี (EBITDA) ของธุรกิจเบียร์เติบโตอย่างน่าพอใจที่ร้อยละ 10.2 ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เป็น 93,793 ล้านบาท อันเป็นผลจากการลงทุนในตราสินค้าและกิจกรรมทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ที่ลดลง และการผลิตมีที่ประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ปริมาณขายรวมจะลดลงร้อยละ 2.9 ก็ตาม

เปิดรายได้ เหล้า-เบียร์ ไทยเบฟ มีลุ้น เบียร์ช้าง ครองบังลังแชมป์ตลาดน้ำเมา

ในส่วนของธุรกิจในเวียดนามยังคงเผชิญความท้าทายจากการบริโภคที่ลดลงจากสภาวะเศรษฐกิจมหภาคและการบังคับใช้กฤษฎีกาฉบับที่ 100 อย่างเข้มงวด ซึ่งกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับผู้กระทำผิดข้อหาเมาแล้วขับ อย่างไรก็ดี การเสริมแกร่งของธุรกิจในเมียนมาจากการรวมธุรกิจ F&N เข้ามาเป็นบริษัทย่อย รวมถึงการขยายสู่ตลาดกัมพูชา นับเป็นโอกาสดีที่จะช่วยสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจเบียร์

สำหรับการลงทุนใหม่ บริษัทมีแผนเดินหน้าลงทุนด้านต่าง ๆ มูลค่าลงทุนรวม 18,000 พันล้านบาท อาทิ ฟาร์มโคนมในมาเลเซีย 8,000 ล้านบาท, โรงงานเบียร์และธุรกิจอื่น ๆ ในกัมพูชา 1,500 ล้านบาท เป็นต้น เพื่อเสริมศักยภาพการทำธุรกิจและชิงความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การลงทุนในธุรกิจเบียร์ บริษัทเริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตเบียร์ในประเทศกัมพูชา คาดว่าจะแล้วเสร็จต้นปี 2569 มีกำลังผลิตเริ่มต้น 50 ล้านลิตร เพื่อรองรับดีมานด์ในตลาดเบียร์กัมพูชาที่เติบโตเร็วที่สุด และมีขนาดตลาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของอาเซียนในด้านปริมาณการขาย

กัมพูชาเป็นตลาดเบียร์ที่เติบโตเร็วที่สุดและใหญ่เป็นอันดับสี่ของอาเซียนเมื่อวัดจากปริมาณขาย โดยมีปริมาณการบริโภครวมต่อปีประมาณ 10 ล้านเฮกโตลิตร ดังนั้น เราจึงเล็งเห็นโอสาสและได้เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตเบียร์ในกัมพูชา ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงต้นปี 2569 และมีกำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 50 ล้านลิตรเมื่อเปิดดำเนินการ  

นายไมเคิลยังกล่าวว่า “เรายังคงเห็นโอกาสในการเติบโตและมุ่งมั่นดำเนินกลยุทธ์ในตลาดหลักของเรา แต่ในขณะเดียวกันก็ยังระมัดระวังถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยคาดว่าธุรกิจเบียร์ของเราจะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ รวมทั้งมีผลการดำเนินงานที่ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืนในอนาคต”

นอกจากนี้ยังพูดถึงการรอลุ้นการเปลี่ยนแปลงผู้นำตลาดของตลาดเบียร์ที่ฝั่งไทยเบฟ เบียร์ช้าง เป็นมวยรองที่แต้มห่างแชมป์แบบหายใจลดต้นคอ มีหวังจะปาดขึ้นแท่นเป็นผู้นำอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้

ธุรกิจเบียร์ ประเทศเวียดนาม

นายเลสเตอร์ ตัน เต็ก ชวน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของซาเบโก้ กล่าวว่า “Bia Saigon ยังคงเป็นตราสินค้าเบียร์อันดับหนึ่งในเวียดนาม โดยเรายังคงเดินหน้าเสริมความแข็งแกร่งของตำแหน่งผู้นำผ่านการขยายเครือข่ายการกระจายสินค้า โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเมืองสำคัญต่าง ๆ ผ่านการทำงานร่วมกันอย่างอย่างใกล้ชิดภายในของทีมการค้า เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

เมื่อมองถึงการฟื้นตัวของตลาดโดยรวมในอนาคต เราได้ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค โดยเรามั่นใจว่าบริษัทมีความพร้อมที่จะคว้าโอกาสในการเติบโตใหม่ ๆ ในตลาด เพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำและผลักดันการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นเสริมสร้างความแข็งแกร่งใน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่

  • ความเป็นเลิศด้านการค้า (Commercial Excellence)
  • ประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Efficiency) รวมถึงการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล (ESG)” 
  • ความเป็นเลิศด้านการค้า (Commercial Excellence)

ซาเบโก้ยังคงดำเนินกิจกรรมทางการตลาดและส่งเสริมการขายของทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ พร้อมทั้งมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายให้แข็งแกร่งขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากเครือข่ายที่ครอบคลุมของบริษัทในการสร้างช่องทางจัดจำหน่ายใหม่ ๆ โดยกิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภคให้แข็งแกร่งขึ้น แต่ยังส่งเสริมความสัมพันธ์กับตัวแทนจำหน่ายในท้องถิ่นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีกด้วย อันนำไปสู่การเพิ่มโอกาสทางการขายและช่วยให้ซาเบโก้สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในเดือนสิงหาคม 2567 ซาเบโก้เปิดตัวเบียร์ 333 Pilsner ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของกลุ่มตราสินค้าเบียร์ 333 โดย 333 Pilsner มีความโดดเด่นจากเบียร์ชนิดอื่นด้วยรสชาติที่เบาและนุ่มนวล ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มผู้บริโภคเบียร์รุ่นใหม่ในเวียดนาม ประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Efficiency)

ซาเบโก้ได้ปรับปรุงระบบคลังสินค้าและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายคลังสินค้าและลดต้นทุนการดำเนินงาน ซึ่งส่งผลให้สามารถจัดหาเบียร์ในปริมาณที่เพียงพอสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังยกระดับระบบการจัดการดำเนินงานเพื่อสร้างความเสถียรภาพ เพิ่มผลผลิต การตรวจสอบ และความถูกต้องของการดำเนินงาน

เปิดแผน กลุ่มสุรา

กลุ่มธุรกิจสุรา มีรายได้จากการขาย 92,788 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 มีกำไรก่อนดอกเบี้ย (EBITDA) ลดลงร้อยละ 1.3 สาเหตุหลักมาจากปริมาณขายรวมที่ลดลงร้อยละ 2.7 เนื่องจากการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไทย แต่ชดเชยด้วยรายได้ธุรกิจในประเทศเมียนมาที่ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นจากปีก่อน

นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้บริหารสูงสุดปฏิบัติการต่างประเทศ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจสุรา ผู้บริหารสูงสุดการเงินและการบัญชีกลุ่ม เปิดเผยว่า ไทยเบฟมีสัดส่วนของสุราขาวกว่า 90% และสุราสี 90%

เปิดรายได้ เหล้า-เบียร์ ไทยเบฟ มีลุ้น เบียร์ช้าง ครองบังลังแชมป์ตลาดน้ำเมา

ความท้าทายของสุราสีของประเทศไทยคือเรื่องของเศรษฐกิจ เมื่อสถานการณ์กำลังซื้อซบคนจะหันไปดื่มสุราที่ราคาถูกลงแทนสุราสีที่ราคาสูงขึ้นมา ส่งผลให้กลุ่มไทยเบฟเบนเข็มการส่งออกสุราสีเพิ่มขึ้นหวังว่าในอนาคตอัตรารายได้จากการส่งออกจะเพิ่มขึ้นจาก 10% เป็น 15%

หลังจากนี้ นอกจากการเพิ่มกำลังผลิตสุราพรีเมี่ยมในต่างประเทศแล้ว จะมุ่งทำตลาดสุราพรีเมี่ยมสัญชาติไทยในตลาดโลก โดยมียี่ห้อใหม่ “ปราการ-Prakaan” ซิงเกิลมอลต์วิสกี้ระดับพรีเมี่ยม เพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภคในตลาดหลักอย่างไทย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่น