thansettakij

เปิดวันแรก คนทะลัก งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ-นานาชาติ ปี 2568

27 มี.ค. 2568 | 07:32 น.
อัปเดตล่าสุด :27 มี.ค. 2568 | 08:26 น.

เปิดฉากแล้ว “งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และนานาชาติ” 27 มี.ค. - 7 เม.ย. 2568 ใหญ่สุดในอาเซียน คาดเงินสะพัด 420 ล้านบาท ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นายสุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) กล่าวว่า งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 23 เริ่มแล้ว โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มี.ค.- 7 เม.ย. 2568 เวลา 10.00 - 21.00 น. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ใหญ่สุดในอาเซียน บนพื้นที่กว่า 2 หมื่น ตร.ม. ในธีม “ย ยักษ์ อ่านใหญ่” งานหนังสือครั้งใหม่ ใหญ่กว่าเดิม 

เปิดวันแรก คนทะลัก งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ-นานาชาติ ปี 2568

พบกับ 7 โซนหนังสือดีที่น่าอ่าน ทั้งไทย และต่างประเทศ ให้เลือกช้อปอย่างจุใจกับ 1,200 บูธ จาก 400 สำนักพิมพ์ พร้อมนิทรรศการ – กิจกรรมกว่า 100 อีเว้นท์ สำหรับบุ๊คเลิฟเวอร์ ที่สำคัญ “Bangkok Rights Fair 2025” งานเจรจาซื้อขายลิขสิทธิ์กับ 115 บริษัท จาก 14 ประเทศและเขตแดน รวมทั้ง PUBAT Café จิบกาแฟหอมกรุ่น จากร้านดัง, บริการนวดแผนไทย ช่วยผ่อนคลายนักช้อปเป็นครั้งแรก

"การจัดงานในปี 2568 ครั้งนี้ กระแสหนังสือนิยายยังคงมาแรง แต่ละสำนักพิมพ์ในแต่ละบูธจัดเต็ม รวมถึงมังงะ ตอบโจทย์นักอ่านเจน Z ช่วงอายุประมาณ 20 ปีขึ้นไปจนถึง 35 ปี และเรามั่นใจจากยอดขายในปีที่ผ่านมาว่าในปี 2568 จะสร้างยอดขายในงานได้ถึง 420 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5-10% จากปีที่ผ่นมา โดยเฉลี่ยเบื้องต้นนักอ่านน่าจะซื้อหนังสือเฉลี่ย 600 บาท/คน หรือประมาณ 2 เล่มอย่างต่ำ"

เปิดวันแรก คนทะลัก งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ-นานาชาติ ปี 2568

ขณะที่ในปี 2567 อุตสาหกรรมหนังสือไทยมีมูลค่ารวม 1.6-1.7 หมื่นล้านบาท เริ่มฟื้นตัวกลับมาคึกคักมากขึ้น โดยการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 53 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 23 (53rd National Book Fair & 23rd Bangkok International Book Fair 2025) ครั้งนี้ สมาคมฯ ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 ฮอลล์ เพื่อรองรับนักอ่านที่เดินทางมาร่วมงานซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี รวมทั้งจำนวนผู้ประกอบการสำนักพิมพ์และบริษัทต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศที่ต้องการเข้าร่วมงานที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย 

ส่วนไฮไลท์ นิทรรศการและกิจกรรม

1. นิทรรศการเยี่ยมยักษ์ : การจำลองโต๊ะทำงานของยักษ์พิเภก พร้อมข้าวของเครื่องใช้ขนาด Oversized ที่เปิดให้นักอ่านเข้าไปเยี่ยมชม 
2. นิทรรศการแปลหนังสือไทย เพื่อเผยแพร่ไปยังต่างประเทศ : การแสดงหนังสือไทยที่ถูกคัดเลือกให้รับทุนสนับสนุนการแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ไปยังต่างประเทศ จาก สศร. จำนวน 15 เล่ม 

เปิดวันแรก คนทะลัก งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ-นานาชาติ ปี 2568
3. นิทรรศการ Book Power : การแสดงหนังสือที่ถูกแนะนำจากคนสำคัญของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ Soft Power ทั้งยังมีกิจกรรมเขียนหนังสือให้ยักษ์อ่าน
4. นิทรรศการ ๗๐ พรรษา ๗ พระราชนิพนธ์แปลทรงคุณค่าในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดย บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด   
5. นิทรรศการวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2568 โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร์ และรัฐสภา 
6. นิทรรศการหนังสือดีเด่น ประจำปี 2568โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 

เปิดวันแรก คนทะลัก งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ-นานาชาติ ปี 2568

7. นิทรรศการ Little Read Storyverseจักรวาลล้านเรื่องเล่า : จัดแสดงหนังสือภาพ มุมวาดเขียน และกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจ จากเหล่านักอ่านที่พร้อมจะนำทุกคนออกเดินทางสู่ “จักรวาลล้านเรื่องเล่า”
8. นิทรรศการ “หนึ่งอ่านล้านตื่น” โดย มูลนิธิหนึ่งอ่านล้านตื่น : พบกับ “ทุนหนังสือตรงใจ ”กิจกรรมมอบทุนจำนวน 10,000 บาท ให้กับโรงเรียนและสถานที่ขาดแคลนจำนวน 20 แห่ง มูลค่ารวม 200,000 บาท 
9. กิจกรรม Author’s Salon : การเปิดพื้นที่ให้นักเขียนอิสระและนักเขียนทุกประเภท รวมถึงผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา ได้มาพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันประสบการณ์การเขียนกับนักอ่าน

เปิดวันแรก คนทะลัก งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ-นานาชาติ ปี 2568

10. โครงการ Global Author Spotlight : จัดโครงการเชิญนักเขียนต่างประเทศ (Global Author Spotlight) เพื่อให้นักอ่านไทยได้พบปะและทำกิจกรรมร่วมกับนักเขียนที่มีผลงานโดดเด่นจากนานาชาติ โดยในปีนี้ มีนักเขียนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ 6 ราย/หน่วยงาน ได้แก่ 

  1. เอซรา คีริลล์ เออร์เกอร์ จากเยอรมัน ผู้เขียน Salaryman Unbound (เกมฆาตกร)
  2. เมาริ กุนนัส จากฟินแลนด์ผู้เขียน Good Night Mr. Clutterbuck (ราตรีสวัสดิ์นะคุณปุ๊บปั๊บ), Santa and the Magic Drum (ซานตาคลอสกับกลองมนตรา) และอื่น ๆ
  3. ทองใบ โพทิสาน ศิลปินดีเด่นสาขาวรรณกรรม นักประพันธ์รางวัลซีไรต์ประธานสมาคมนักประพันธ์ลาว และ รศ.แสงฟ้า โหลานุพาบ นักประพันธ์รางวัลวรรณกรรมแม่น้ำโขง จาก สปป.ลาว
  4. สมาคมนักเขียนแห่งประเทศกัมพูชา
  5. เดวิด ซิมส์ จากสกอตแลนด์ ผู้เขียน Soft City: Building Density for Everyday Life
  6. เว็กซ์ คิงส์ จากอังกฤษ ผู้เขียน GOOD VIBES, GOOD LIFE ใช้คลื่นพลังบวกดึงดูดพลังสุข

11. โครงการ PUBAT Contest : พบกับ กิจกรรม “ย ยักษ์นักพรูฟ” การแข่งขันค้นหาคำไทย คำไหนผิด, “ย ยักษ์นักอ่าน” การแข่งขันทดสอบความรู้ของนักอ่าน ในหมวดหนังสือประเภทต่างๆ
ทั้งนี้นิทรรศการแปลหนังสือไทย นิทรรศการ Book Power นิทรรศการ Little Read Storyverse กิจกรรม Author’s Salon และกิจกรรม Global Author Spotlight จัดขึ้นโดยความร่วมมือของ PUBAT และ THACCA ด้วยการสนับสนุนหลักจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
เปิดวันแรก คนทะลัก งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ-นานาชาติ ปี 2568

สำหรับงาน “Bangkok Rights Fair 2025 งานจับคู่ธุรกิจ เพื่อการซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระหว่างวันที่ 28 - 29 มีนาคม 2568 ณ ห้อง MR208 ชั้น 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

โดยในครั้งนี้ มีสำนักพิมพ์และตัวแทนลิขสิทธิ์เข้าร่วมกว่า 115 บริษัท จาก 14ประเทศและเขตแดน อาทิ สหราชอาณาจักร จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลี ไต้หวัน พม่า ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย โดยภายในงานตั้งเป้าหมายที่จะมีการเจรจาการค้า (Business Matching) มากกว่า 200 คู่ คาดว่าจะมีมูลค่าการซื้อขายลิขสิทธิ์เกิดขึ้นในงานกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 68.5 ล้านบาท