นายวีรวัฒน์ องค์วาสิฏฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีรันดา รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ VRANDA ผู้นำธุรกิจโรงแรม รีสอร์ทและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/256 บริษัทฯ มีรายได้รวม 323.9 ล้านบาท เติบโต 6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาสก่อนหน้า มี EBITDA 71.6 ล้านบาท เติบโต 145% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 54% จากไตรมาสก่อนหน้า โดยมีกำไรสุทธิ 1.7 ล้านบาท นับว่าเป็นสัญญาณฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญจากจุดต่ำสุดนับในเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19
ธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทในเครือวีรันดาฟื้นตัวอย่างโดดเด่นในไตรมาส 2/2565 มีรายได้ 225.5 ล้านบาท เติบโต 268% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 50% จากไตรมาสก่อนหน้า และคิดเป็น 80% ของช่วงก่อนโควิด (Pre-COVID ไตรมาส 2/2562) โดยในไตรมาส 2/2565 มีอัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 51% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีอัตรา 16% ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งของนักท่องเที่ยวทั้งจากนักท่องเที่ยวภายในประเทศที่ต้องการมาพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาวและจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ได้รับการผ่อนคลายมาตรการการเดินทางมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อโรงแรม โซ แบงคอก และวีรันดา คอลเล็กชัน สมุย – ร็อคกี้ รีสอร์ท ซึ่งมีสัดส่วนนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ
ปัจจัยการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เกิดจากการผ่อนคลายมาตรการการเดินทางมายังประเทศไทยตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินกลยุทธ์การตลาดผสานกับจุดแข็งโรงแรมและรีสอร์ทในเครือที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ผลักดันพอร์ตโรงแรมและรีสอร์ท รวมถึงธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มให้เป็นแบรนด์นั่งอยู่ในใจลูกค้าอย่างแข็งแกร่ง (Top of Mind) สนับสนุนอัตราการเข้าพักนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากสัญญาณบวกแนวโน้มการฟื้นตัวอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลังที่เหลือของปีนี้ จากนโยบายกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวโดยการเพิ่มเที่ยวบินและจำนวนที่นั่งในเส้นทางบินภายในประเทศและระหว่างประเทศประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่อ่อนค่าจะช่วยกระตุ้นนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยรับกับไฮซีซั่นหรือฤดูกาลท่องเที่ยวในไตรมาส 4 ของปีนี้คึกคักยิ่งขึ้น
ในส่วนของฐานะทางการเงิน VRANDA มีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงอยู่ที่ 1.23 เท่า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565 จาก 1.25 เท่า ณ สิ้นปี 2564 ซึ่งเป็นผลมาจากการชำระคืนเงินกู้ยืมสุทธิ ซึ่งอัตราส่วนดังกล่าวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเงื่อนไขตามพันธสัญญาหนี้ที่ 2 เท่า
สำหรับแผนธุรกิจครึ่งปีหลัง บริษัทฯ ดำเนินกลยุทธ์ตลาดโรงแรมและรีสอร์ทในเครือ มุ่งเจาะตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นเพื่อผลักดันรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยจะผลักดันให้ปริมาณนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติกลับมามีอัตราการเข้าพักในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดโควิด-19 วางเป้าหมายในช่วงครึ่งปีหลังที่เหลือมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 60% พร้อมกับตอกย้ำการเป็นผู้นำธุรกิจไลฟ์สไตล์ ด้วยแผนลงทุน 2 โครงการใหม่ ได้แก่
จึงมั่นใจว่าทิศทางการดำเนินธุรกิจครึ่งปีหลังจะเติบโตอย่างสดใส