NOK งบปี64 ขาดทุนลดลง 80% ที่1.39 พันล้าน กำไรจากปรับหนี้-ลดรายจ่ายหนุน

12 ต.ค. 2565 | 04:25 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ต.ค. 2565 | 11:54 น.

บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK) รายงานผลดำเนินงานปี64 ขาดทุน 1.39 พันล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 80.8% เหตุมีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้กว่า 4.0 พันล้านบาท และค่าใช้จ่ายที่ลดลง 8.4 พันล้านบาท หรือลด 51.8%

 

บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOK รายงานผลการดำเนินงานงวดปี 2564 ว่า บริษัทและบริษัทย่อยขาดทุน 1,399.46 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 5,896.40 ล้านบาท หรือลดลง 80.8% หรือจากช่วงปี 63 ที่ขาดทุน 7,295.86 ล้านบาท โดยผลกระทบมาจากบริษัทฯ มีรายได้จากการดำเนินงานรวม 6,355.61 ล้านบาท หรือลดลงจากปีก่อน 379.78 ล้านบาท หรือลดลง 5.64%

 

โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการขนส่งผู้โดยสารลดลง 3816.85 ล้านบาท หรือ ลดลง 66.0% และรายได้จากบริษัทอื่นๆลดลง 540.15 ล้านบาท หรือลดลง 69.5% ซึ่งเป็นปีที่สายการบินได้รับผลกระทบตลอดเกือบทั้งปี และด้วยมาตรการจำกัดการเดินทางต่างของรัฐบาล แต่รายได้เพิ่มขึ้น 3,977.22 ล้านบาท จากการที่บริษัทมีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 4,023.14 ล้านบาท 

 

 

 

สำหรับค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 7,791.22 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 8,385.52 ล้านบาท หรือลดลง 51.8% ส่งผลให้บริษัทลดลงขาดทุนจากปีก่อน

 

บริษัทและบริษัทย่อย มีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร(ASK)ลดลง 66.6% ปริมาณขนส่งผู้โดยสาร (PRK) ลดลง 74.2% และมีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 1.30 ล้านคน ลดลงจากปีก่อน 68.9%

 

สำหรับความคืบหน้าของแผนฟื้นฟูกิจการตามที่บริษัทได้ยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางไปเมื่อวันที่และศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 30 ก.ค.2563 นั้น เมื่อวันที่ 29 ก.ย.2564 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการ

 

สาระสำคัญของแผนฟื้นฟูกิจการคือ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ชำระหนี้ตามกลุ่มเจ้าหนี้ ปรับปรุงกระบวนการทำงานของบริษัท โดยการเพิ่มรายได้ จากปรับเปลี่ยนราคาบัตรโดยสารให้สอดคล้องกับกลไกลตลาด

 

รวมทั้งบริหารค่าใช้จ่าย โดยการปรับกระบสนการทำงานและปรับโครงสร้างองค์กร บริหารต้นทุนค่าเช่าเครื่องบิน ลดต้นทุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิง บริหารค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงค่าอากาศยาน

 

อย่างไรก็ตามใน ในไตรมาสที่ 4 ภาครัฐผ่อนคลายมาตรการการจำกัดการเดินทาง ส่งผลให้ผู้โดยสารมีความต้องการเดินทางเพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทเพิ่มเที่ยวบิน รวมทั้งการเปิดเส้นทางบินใหม่เพิ่มเติม เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้โดยสาร โดดยเฉพาะเส้นทางดอนเมือง-เบตง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทกับรัฐบาลเพื่อรองรับความต้องการของผู้โดยสาร ซึ่งได้รับผลตอบรับดี

 

อ่านเพิ่มเติม :  คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ งบปี 2564