เที่ยวคลองแม่ข่าสัมผัส"โอตารุ"เมืองไทยแน่น เทศบาลนครเชียงใหม่ลุยต่อเฟส2

25 พ.ย. 2565 | 06:13 น.
อัปเดตล่าสุด :25 พ.ย. 2565 | 13:26 น.

คลองแม่ข่าเชียงใหม่สุดฮิต นักท่องเที่ยวไทย-ต่างชาติแห่เที่ยววันละนับหมื่นคน สัมผัสบรรยากาศริมคลองสไตล์ญี่ปุ่น เทศบาลนครเชียงใหม่เดินหน้าปรับปรุงต่อเฟส 2 อีก 650 เมตร

คลองแม่ข่า หรือน้ำแม่ข่า เป็นแหล่งน้ำสำคัญของเมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณ แต่ช่วงพัฒนาเมืองที่ผ่านมาถูกละเลย จนกลายเป็นที่รองรับน้ำเสียของเมือง กระทั่งชุมชนริมคลองปลุกกระแสการฟื้นฟูสภาพคลองแม่ข่าอีกครั้ง เทศบาลนครเชียงใหม่ ได้ทำโครงการระบบท่อรวบรวมน้ำเสียสั่งฝั่งคลองพร้อมปรับภูมิทัศน์ เฟสแรกช่วงถนนระแกง-ประตูก้อม(สถานีสูบน้ำเสียที่ 6)         

 

ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของทุกหน่วยงานในเชียงใหม่ ช่วยกันพัฒนาคลองแม่ข่า ให้กลับมาเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงเชียงใหม่อีกครั้ง โดยให้ความสำคัญกับการบำบัดน้ำ ควบคู่กับการทำให้ชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยดึงชุมชนร่วมพัฒนาสภาพแวดล้อมสองฝั่งคลองในสไตล์ญี่ปุ่น จนกลายเป็นแลนด์มาร์คใหม่จุดเช็คอินนักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปเยี่ยมชมถึงวันละกว่า 10,000 คน

เที่ยวคลองแม่ข่าสัมผัส\"โอตารุ\"เมืองไทยแน่น เทศบาลนครเชียงใหม่ลุยต่อเฟส2

เที่ยวคลองแม่ข่าสัมผัส\"โอตารุ\"เมืองไทยแน่น เทศบาลนครเชียงใหม่ลุยต่อเฟส2

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 พ.ย.น 2565  ผู้บริหารเทศบาลนครเชียงใหม่ นำโดยนายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายณภัทร ประเสริฐดี ผู้อำนวยการสำนักช่าง และ รศ.ชูโชค อายุพงศ์ นักวิชาการศูนย์วิชาการสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกันลงพื้นที่ พร้อมเปิดเผย แผนดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแม่ข่า ระยะที่ 2 พร้อมปรับปรุงประตูระบายน้ำศรีดอนไชย ช่วงที่ 1 ตั้งแต่ประตูระบายน้ำศรีดอนไชยถึงสะพานระแกง และช่วงที่ 2 ตั้งแต่สะพานข้ามลำคูไหว ถึงสะพานเวียงพิงค์    

 

นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ กล่าวว่า น้ำแม่ข่า เป็นคลองน้ำสายหลักของชาวเชียงใหม่ ที่รู้จักกันดีในชื่อ“คลองแม่ข่า” มีต้นน้ำเริ่มจากอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นคลองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยพญามังราย โดยถือเป็น 1 ใน 7 ชัยมงคลของการก่อร่างสร้างเมือง“เชียงใหม่” เมื่อพ.ศ. 1839

เที่ยวคลองแม่ข่าสัมผัส\"โอตารุ\"เมืองไทยแน่น เทศบาลนครเชียงใหม่ลุยต่อเฟส2  

เที่ยวคลองแม่ข่าสัมผัส\"โอตารุ\"เมืองไทยแน่น เทศบาลนครเชียงใหม่ลุยต่อเฟส2

เส้นทางการไหลของน้ำใน“คลองแม่ข่า” จากทิศเหนือเข้าผ่านตัวเมือง ได้ไหลอ้อมตัวเวียงที่ล้อมรอบด้วยคูเมืองในบริเวณใกล้ “แจ่งศรีภูมิ” อ้อมเวียงทางทิศตะวันออก จึงเปรียบเสมือนคูเมืองชั้นนอก และยังเป็นทางระบายน้ำ 

 

จากเดิม “คลองแม่ข่า” มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหาร และสร้างความชุ่มชื้นให้กับคนเชียงใหม่ มาอย่างยาวนาน แต่เมื่อความเจริญของเมืองเพิ่มขึ้น ทำให้คลองแม่ข่าถูกบุกรุกและมีการปล่อยน้ำเสียลงสู่คลองโดยไม่ผ่านการบำบัด ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียมานานหลายสิบปี 

เที่ยวคลองแม่ข่าสัมผัส\"โอตารุ\"เมืองไทยแน่น เทศบาลนครเชียงใหม่ลุยต่อเฟส2

เทศบาลนครเชียงใหม่ จึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างระบบท่อรวบรวมน้ำเสียของสองฝั่งคลอง พร้อมปรับภูมิทัศน์ ระยะที่ 1 ถนนระแกง–ประตูก้อม (สถานีสูบน้ำเสียที่ 6) ระยะทางประมาณ 750 เมตร  ด้วยงบประมาณ 22 ล้านบาท ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน อาทิ การออกแบบของกลุ่มสถาปนิกในพื้นที่ มีผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการมาร่วมหาวิธีจัดการเรื่องระบบน้ำเสีย สร้างท่อรองรับน้ำทิ้ง เพื่อส่งต่อไปบำบัดที่โรงงานบำบัดน้ำเสีย ตลอดจนมีการกวดขันเรื่องการปล่อยน้ำลงในคลองแม่ข่าอย่างเคร่งครัด 

 

การทำงานได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิทัศน์และพื้นที่สีเขียว ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเศรษฐกิจเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับชุมชนที่มีรายได้น้อย รวมไปถึงการวางแผนเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องย้ายออกจากชุมชน และที่สำคัญคือ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการใช้พื้นที่คลองแม่ข่า เพื่อให้ชุมชนได้ดูแลบริหารจัดการพื้นที่ให้เป็นระบบระเบียบด้วยตนเอง

เที่ยวคลองแม่ข่าสัมผัส\"โอตารุ\"เมืองไทยแน่น เทศบาลนครเชียงใหม่ลุยต่อเฟส2

ผลการปรับภูมิทัศน์คลองแม่ข่า ซึ่งเปลี่ยนหลังบ้านให้เป็นหน้าบ้าน ริมขอบของคลองก่อสร้างด้วยซีรีนบล็อกคอนกรีต เรียงต่อตัวกันคล้ายกับที่ญี่ปุ่น มีการนำต้นไม้หรือพืชผักสวนครัวมาปลูกประดับตกแต่งให้สวยงาม และบริเวณทางเดินเลียบคลอง ผนังกำแพงมีการแต่งด้วยผ้า รูปวาด กระดาษ ในสไตล์ญี่ปุ่น ชาวบ้านตั้งร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม กาแฟ เสื้อผ้าพื้นเมือง ของที่ระลึก และเพื่อความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว ได้มีการปรับพื้นที่จากเดิมที่ทิ้งว่างเป็นสวนกล้วย ก็เปลี่ยนเป็นที่จอดรถ เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวอีกด้วย

 

จุดไฮไลด์ของคลองแม่ข่าที่มาแล้วจะต้องถ่ายรูป คือ สะพานไม้สีเหลือง ที่มีความโดดเด่นจากสีและสไตล์ของสะพานไม้ สวยสะดุดตา ดึงดูดนักเดินทางให้เข้ามาท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านสองฝั่งคลองแม่ข่า 

เที่ยวคลองแม่ข่าสัมผัส\"โอตารุ\"เมืองไทยแน่น เทศบาลนครเชียงใหม่ลุยต่อเฟส2

ปัจจุบัน “คลองแม่ข่า” กลับมาสร้างชีวิต เป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงให้กับชุมชนสองฝั่งคลอง ให้กลับมามีชีวิต และเป็นสถานที่ที่ได้รับความสนใจ เป็นจุดแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้มาเที่ยวชม โดยไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่น ซึ่งมีกระแสตอบรับอย่างดี มีคนเดินทางเข้าพื้นที่เป็นจำนวนมาก ถึงวันละกว่า 10,000 คน อันจะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่ให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง 

 

นายอัศนี กล่าวอีกว่า  แผนการดำเนินงานปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแม่ข่า ในระยะที่ 2 พร้อมปรับปรุงประตูระบายน้ำศรีดอนไชย ช่วงที่ 1 ตั้งแต่ ระตูระบายน้ำศรีดอนไชย ถึงสะพานระแกง และช่วงที่ 2 ตั้งแต่สะพานข้ามลำคูไหว ถึงสะพานเวียงพิงค์  เฟสที่ 2 รวมระยะทาง 560 เมตรทั้งสองฝั่ง คือจะขึ้นไปทางทิศเหนือและลงใต้มาทางศรีดอนไชย และไปทางกาดก้อมอีกด้วย ซึ่งสำนักงบประมาณบรรจุแผนเรียบร้อยแล้ว เป็นวงเงินอีกกว่า 18.3 ล้านบาท 

เที่ยวคลองแม่ข่าสัมผัส\"โอตารุ\"เมืองไทยแน่น เทศบาลนครเชียงใหม่ลุยต่อเฟส2

ทั้งนี้ แผนพัฒนาคลองแม่ข่า เชียงใหม่ เป็น 1 .น 10 คลอง ที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นคลองต้นแบบพัฒนา โดย 9 คลองอยู่ในกรุงเทพฯ และการพัฒนาคลองแม่ข่าเป็นคลองเดียวในต่างจังหวัด โดยสร้างสรรค์สไตล์ญี่ปุ่น ในแนวทาง"โอตารุ"เมืองไทย คล้ายกับเดินอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คใหม่ที่คึกคักด้วยนักท่องเที่ยว เข้ามสัมผัสกลิ่นอายชีวิตความเป็นอยู่ชาวบ้านสองฝั่งคลอง พร้อมสร้างเศรษฐกิจให้สะพัดเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในชุมชน 

 

เมืองโอตารุ เป็นเมืองท่าเล็ก ๆ บนชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นในจังหวัดฮอกไกโด ติดกับเมืองซัปโปโร มีคลองผ่านกลางเมือง ซึ่งมีทางเดินเลียบคลอง สองข้างทางเเป็นอาคารและโกดังเก่าแก่ยุควิคทอเรีย ที่ถูกปรับเป็นร้านค้าและร้านอาหาร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเมือง ที่สามารถมาเยี่ยมชมได้ทั้งหน้าหนาวที่มีหิมะปกคลุมอย่างสวยงาม และในฤดูอื่น ๆ ตลอดทั้งปี