วันนี้(วันที่ 28 สิงหาคม 2566 ) เวลา 15.30 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้เปิดโอกาสให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) หรือทอท.และประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบิน 8 แห่ง เข้าหารือถึงการแก้ไขปัญหาการท่องเที่ยว ที่พรรคเพื่อไทย
โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสที่ 4 จะเป็นการกระตุ้นให้ภาคเอกชนเตรียมตัว และในช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้จะเป็นวันชาติจีน เพื่อให้ภาคธุรกิจ และการท่องเที่ยวจับตลาดในเวลานี้ให้ได้ โดยเฉพาะสายการบินต่างๆที่ต้องมีความพร้อม และจะต้องครอบคลุมไปถึงความมั่นคง และความปลอดภัย
นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าสืบเนื่องจาก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่จ.ภูเก็ต ซึ่งพบว่ามีปัญหาเที่ยวบินไม่เพียงพอ รวมถึงปัญหาตั๋วเครื่องบินราคาแพง ทำให้นายกได้นัดประชุมทอท.และผู้บริหารสายการบิน ในนามสมาคมสายการบินประเทศไทย เพื่อหารือในการแก้ปัญหาดังกล่าว
โดยในส่วนของทอท.ได้รับนโยบายจากนายเศรษฐา นายกรัฐมนตรีให้เร่งบริหารจัดการความแออัดภายในสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง รวมถึงแก้ปัญหาบัตรโดยสารแพงให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในช่วงไฮซีซั่นนี้ ซึ่งทอท.จะนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาสนามบินแออัดให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ
สำหรับในส่วนของการพัฒนาสนามภูเก็ตก็จะมีการขยายอาคารผู้โดยสารสนามบินภูเก็ตจากปัจจุบันรองรับได้ 12 ล้านคนต่อปี เป็น 20 ล้านคนต่อปี วงเงิน 10,000 ล้านบาทเสร็จในปี 2568 และในช่วงที่เราปรับปรุงสนามบินภูเก็ต ก็จะศึกษาสร้างสนามบินแห่งใหม่ที่ จ.พังงา รองรับผู้โดยสารได้ 20 ล้านคน คาดว่าใช้เงินลงทุนประมาณ 80,000 ล้านบาท เพื่อช่วยแบ่งเบาสนามบินภูเก็ต นายกีรติ กล่าวทิ้งท้าย
ขณะที่ในส่วนของผู้ประกอบสายการบินรายใหญ่ของไทย ในนามสมาคมสายการบินประเทศไทย จะนำข้อหารือพิจารณานโยบายที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการ สร้างความเเข็งเเกร่ง ลดข้อจำกัด เเละเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจสายการบิน ซึ่งจะตอบโจทย์การให้บริการที่มีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบค่าโดยสาร 4 เรื่องหลัก ประกอบด้วย
1.ขอให้กรมสรรพสามิต ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน สำหรับเครื่องบินไอพ่น จากอัตรา 4.726 บาทต่อลิตรเหลือ 0.20 บาทต่อลิตร เป็นเวลากว่า 2 ปี เพื่อต้องการช่วยเหลือ บรรเทาภาระต้นทุนให้แก่สายการบินในช่วงเผชิญวิกฤตการปิดประเทศจากการแพร่ระบาดโควิด รวมถึงช่วยดูแลค่าครองชีพแก่ประชาชน
2.การส่งเสริมนโยบายเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย เช่น การกำหนดอัตราที่เหมาะสมของภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน (excise tax) ฯลฯ ซึ่งจัดเก็บในอัตรา
3.การเร่งแก้ไขอุปสรรคและข้อจำกัดของอุตสาหกรรมการบินไทย เช่น เร่งกระบวนการเพิ่มอุปทานของอุตสาหกรรมการบิน หรือ ขั้นตอนการนำเข้าเครื่องบิน การบูรณาการทำงานระหว่างสนามบินและสายการบิน
4.การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่อุตสาหกรรมการบิน เช่น การเจรจาเพิ่มสิทธิการบิน ในประเทศกลุ่มเป้าหมายของการท่องเที่ยวไทย การลดค่าธรรมวีซ่าเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว เป็นต้น
ทั้งนี้เนื่องจากการเดินทางทางอากาศถือเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภาพรวมของประเทศ เพราะเป็นผู้เชื่อมต่อการสร้างเเละกระจายรายได้สู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ โดยปัจจุบันอยู่ในช่วงการฟื้นฟูที่สำคัญที่สุด ซึ่งต้องอาศัยทั้งการปรับตัวของสายการบิน เเละการสนับสนุนต่อเนื่องจากภาครัฐ
นายสันติสุข คล่องใช้ยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่าสายการบินมีข้อเสนอเเนะถึงรัฐบาลใหม่ ในการผลักดันนโยบาย เพื่อฟื้นธุรกิจการท่องเที่ยวเเละการบินได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเศรษฐกิจในภาพรวม ราว 3 เรื่อง ได้แก่