นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่าตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อยากให้โปรโมตการท่องเที่ยวเมืองรองมากขึ้น เพื่อกระจายรายได้ไม่ให้กระจุกตัวเฉพาะในเมืองหลัก สอดรับกับทางหอการค้าไทยที่ได้ร่วมมือกับททท.เตรียมจะยกระดับ “10 เมืองรอง” ยกระดับสู่เมืองท่องเที่ยวหลัก
ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในพื้นที่เพิ่มขึ้น ผ่านการให้อินเซ็นทีฟต่างๆ ซึ่งทางททท.และหอการค้าจะนำร่องคัดเลือกมา 10 จังหวัดเพื่อผลักดันในเรื่องนี้ โดยมีกำหนดเปิดตัวโครงการดังกล่าวในเดือน ม.ค. 2567 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้แถลงในรายละเอียดทั้งหมด
สำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองในปี 2567 จะต่อยอดจากแคมเปญหลักของตลาดในประเทศ “365 วัน มหัศจรรย์เมืองไทยเที่ยวได้ทุกวัน” สู่แคมเปญใหม่ “365 วัน มหัศจรรย์เที่ยวเมืองรอง” ภายใต้แคมเปญสื่อสารตลาดในประเทศ “สุขทันที ที่เที่ยวไทย” เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวออกไปท่องเที่ยว
รวมถึงเร่งประชาสัมพันธ์ภายใต้แนวคิด “เปิดประสบการณ์ใหม่ เที่ยวเมืองรองมิรู้ลืม” มุ่งเน้นการบอกต่อประสบการณ์ทรงคุณค่า และสะท้อนอัตลักษณ์ของเมืองรอง ในเรื่องของงานเทศกาลประเพณีและอาหารถิ่น
โดยททท.ได้ทบทวนอัตลักษณ์ร่วมกับพันธมิตรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน พบว่าอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่คือ
โดยเป็นอัตลักษณ์ที่มีการคำนึงถึงความพร้อมของปัจจัยขับเคลื่อนต่างๆ อาทิ สถานที่ท่องเที่ยว ที่พักและการเข้าถึง การส่งมอบประสบการณ์ ร้านอาหาร และกิจกรรมด้านซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power)
อีกทั้งททท.ยังให้ความสำคัญกับ ทำงาน บูรณาการเชิง supply กับ ภาครัฐ ทั้งกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพย์ฯ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงแรงงาน ฯลฯ
ทั้งนี้ยังรวมถึงการ กระตุ้น Demand กับภาคเอกชนทุกส่วน ทั้ง สมาคมท่องเที่ยว หอการค้า สายการบิน ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร โรงแรม ร้านอาหาร วิสาหกิจชุมชน ฯลฯ สร้างความสุขพร้อมดูแลธรรมชาติ นำไปสู่ช่วงเวลาที่แสนพิเศษตลอดทั้งปีในเมืองไทย
โดยเน้น “สร้างประสบการณ์ทรงคุณค่า” พร้อมมุ่งนำเสนอสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวไทยตามแนวคิด Soft Power สะท้อนเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของเมืองรองแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ(Meaning Full Travel + Story Telling) จากการสร้างการรับรู้สู่การเดินทางจริงผ่านประสบการณ์ ภาพจำ ความรู้สึก และรสชาติอาหารท้องถิ่นที่คุ้นเคยเชื่อมโยงกับเรื่องราวบรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรม อัตลักษณ์พื้นที่ในเมืองรอง
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ย. พบว่าเมืองรอง 55 จังหวัด มีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางท่องเที่ยว 73.32 ล้านคน-ครั้ง เพิ่มขึ้น 34.47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ก่อนการระบาดของโควิด-19 ก่อให้เกิดรายได้จากการเดินทางท่องเที่ยว 169,608 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.86% เทียบกับปี 2562
โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการเดินทางท่องเที่ยวประมาณ 2,313 บาทต่อคนต่อทริป เพิ่มขึ้น 3% และคาดว่าตลอดปี 2566 ประเทศไทยจะมีรายได้การท่องเที่ยวในเมืองรองเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 40% เมื่อเทียบกับทั้งปี 2562 ส่วนปี 2567 ประเมินว่ารายได้การท่องเที่ยวเมืองรองจะเติบโต 10-15% จากปี 2566
ทั้งททท.ยังได้จัดทำแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองปี 2567-2568 จะมีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วนทั้งในระดับท้องถิ่น/จังหวัด และระดับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อทบทวนอัตลักษณ์ (กำหนดจุดขาย) เพื่อนำไปสู่แผนปฏิบัติการ (Action Plan) และการพัฒนาพื้นที่เมืองรอง 55 จังหวัดเพื่อให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ โดยจะดำเนินการตามชั้นตอนต่างๆ ได้แก่
ขณะเดียวกันในปีหน้าททท.ได้ร่วมมือกับพันธมิตรที่มีฐานลูกค้าหรือฐานสมาชิกขนาดใหญ่ ร่วมประชาสัมพันธ์ จัดแคมเปญ กิจกรรมท่องเที่ยวเมืองรอง การจัดอีเว้นท์มาร์เก็ตติ้ง รวมเทศกาล ประเพณีต่างๆที่สะท้อนเอกลักษณ์อัตลักษณ์ของท้องถิ่น อาทิ
นางสาวฐาปนีย์ ยังกล่าวต่อว่าที่ผ่านมา ททท. ได้ดำเนินการส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองรอง 55 จังหวัด ซึ่งตามนิยามคือจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวไม่เกิน 4 ล้านคนต่อปี ภายใต้แนวคิดต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2558 อาทิ ในปี 2558 ด้วยแนวคิด “12 เมืองต้องห้ามพลาด” จากนั้นในปี 2559-2561 ใช้แนวคิด “12 เมืองต้องห้ามพลาด Plus”
ส่วนในปี 2562-2563 แนวคิด “เมืองรอง ต้องลอง” ขณะที่ปี 2564-2565 แนวคิด “เมืองรองต้องไป” และล่าสุดในปี 2566-2567 แนวคิด “เปิดประสบการณ์ใหม่ เที่ยวเมืองรองมิรู้ลืม” โดยหลังจาก ททท.ได้ดำเนินกลยุทธ์ส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรอง ทำให้ปัจจุบันบางจังหวัดมีนักท่องเที่ยวเกิน 4 ล้านคนแล้ว