นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าการผลักดันโครงการพัฒนาเมืองรอง 10 จังหวัดเป็นเมืองหลัก ถือเป็นโมเดลต้นแบบความร่วมมือภาครัฐภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่ให้เกิดการยกระดับรายได้และลดความเหลื่อมลํ้าให้กับประเทศไทย ซึ่ง "เศรษฐา ทวีสิน" นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสนใจและมีการหารือกับหอการค้าฯ ถึงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว
โดยขณะนี้ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และผู้แทนของหอการค้าฯ โดยอยู่ระหว่างการปรับปรุงรายละเอียดก่อนที่จะแถลงข่าวเดินหน้าโครงการ ซึ่งนี่ถือเป็นบิ๊กโปรเจ็กต์ที่หอการค้าฯ และรัฐบาลจะร่วมกันดันเศรษฐกิจในระดับจังหวัดให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด และจะเป็นโมเดลเพื่อขยายผลกับจังหวัดอื่นๆ ในระยะต่อไปด้วย
ด้านแหล่งข่าวจากรัฐบาล เผยว่า โครงการพัฒนาเมืองรอง 10 จังหวัดเป็นเมืองหลัก จะประกอบไปด้วย
โดยในจังหวัดเหล่านี้ มี 9 เมืองรองที่จะยกระดับสู่เมืองท่องเที่ยวหลัก ขณะที่กาญจนบุรี ที่ปัจจุบันเป็นเมืองท่องเที่ยวหลักอยู่แล้ว เพราะมีนักท่องเที่ยวเกิน 4 ล้านคนไปแล้ว แต่ก็มีการบรรจุไว้ในโมเดลนี้ด้วย เนื่องจากนายกรัฐมนตรีต้องการยกระดับให้เกิดวันพักค้างของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น โดยเน้นการจัดอีเว้นท์ด้านแสงสี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มจำนวนวันพักของนักท่องเที่ยวมากขึ้น
สำหรับวิธีการเลือกจังหวัดในเมืองดังกล่าว จะพิจารณาจาก
1. ขนาดพื้นที่ จำนวนประชากร และมีเศรษฐกิจขนาดเล็กถึงปานกลาง
2. มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นจุดแข็งในด้านวัฒนธรรม เกษตรกรรม สินค้าชุมชน ท่องเที่ยวและอาหาร
3. มีความสะดวกด้านการคมนาคมและการเดินทางเข้าถึง
4. ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากบุคคลภายในจังหวัด ทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา เอกชน
5. ภาคเอกชนมีความพร้อมในการลงทุนขนาดกลางและใหญ่ในพื้นที่จังหวัด
ทั้งนี้แผนการยกระดับ 10 เมืองรองสู่เมืองหลัก จะเน้นใน 3 กลยุทธ์ ได้แก่
ได้แก่ 1. เร่งการส่งเสริมการลงทุน และการให้อินเซ็นทีฟในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุน 2. การสร้างแลนด์มาร์ก ด้านการท่องเที่ยว อาหาร วัฒนธรรม และส่งเสริมเอกลักษณ์ อัตลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่ดี เชื่อมโยงโครงการ One Family One Soft Power (OFOS)
ได้แก่ พัฒนาระบบสาธารณูปโภค (นํ้าประปา ไฟฟ้า อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง) ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยีและการสื่อสารที่ทันสมัยทั่วถึง 2. การสร้างเมืองรองเป็นโมเดลต้นแบบเมือง Net Zero รวมถึงระบบจัดการขยะให้ครบวงจรด้วยระบบ Reduce, Reuse,Recycle
ได้แก่ 1. กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยให้ทั่วถึง เพิ่มรายได้ให้เอสเอ็มอี โดยการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายและเพิ่มมูลค่าของสินค้า 2. มาตรการส่งเสริมให้คนเก่ง (Talent) ที่เป็นคนไทยกลับสู่ภูมิลำเนา และแรงงานศักยภาพสูงชาวต่างชาติ เข้ามาทำงานในพื้นที่ และ 3. ส่งเสริมการจ้างงานเฉพาะกลุ่ม ได้แก่ คนพิการ กลุ่มผู้สูงอายุ ในพื้นที่
นอกจากนี้การยกระดับ ทั้ง 10 จังหวัดดังกล่าว ยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว คมนาคม การค้า และการจัดเทศกาลเชื่อมโยงไปยังจังหวัดใกล้เคียงด้วย
ขณะที่ นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า จากการที่หอการค้า มีนโยบายที่จะยกระดับเมืองรองสู่เมืองหลักเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งก็สอดรับทิศทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวของททท.ในการกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2559 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้กำหนดให้จังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวไม่เกิน 4 ล้านคน ถือว่าเป็นเมืองรอง ซึ่งมีทั้งหมด 55 จังหวัด
ททท.ได้เริ่มส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองภายใต้แนวคิดต่างๆมาตั้งแต่ปี 2558 อาทิ “12 เมืองต้องห้ามพลาด”, “12 เมืองต้องห้ามพลาด Plus”, “เมืองรอง ต้องลอง”, “เมืองรองต้องไป” และล่าสุดในปี 2566-2567 แนวคิด “เปิดประสบการณ์ใหม่ เที่ยวเมืองรองมิรู้ลืม” กระทั่งการเดินทางท่องเที่ยว เมืองรองเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ล่าสุดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม-กันยายน 2566) พบว่าในพื้นที่เมืองรอง 55 จังหวัด มีคนไทยเดินทางท่องเที่ยว 73.32 ล้านคน-ครั้ง เพิ่มขึ้น 34.47% สร้างรายได้จากการเดินทางท่องเที่ยว 169,608.66 ล้านบาท เติบโต 38.86%
ในปี 2567 ททท.จะเร่งต่อยอดโครงการ “365 วัน มหัศจรรย์ เที่ยวเมืองรอง” จัดกิจกรรมกระตุ้นการตลาดเชิงรุกตั้งแต่วันนี้ต่อเนื่องไป ตลอดแผนการตลาดปีงบประมาณ 2567 ร่วมกันผลักดันให้เมืองไทยสามารถสร้างแรงจูงใจให้คนตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวได้ทุกวัน โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนซึ่งมีให้เลือกหลากหลาย ด้วยวิธีเน้น “เปิดประสบการณ์ใหม่ เที่ยวเมืองรองมิรู้ลืม” ภายใต้แคมเปญสื่อสารตลาดในประเทศ “สุขทันที ที่เที่ยวไทย”
โดย ททท. จะร่วมกับภาครัฐและเอกชน ร่วมมือกันเน้น “สร้างประสบการณ์ทรงคุณค่า” นำเสนอสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวไทยด้วย Soft Power ซึ่งเป็นจุดแข็งสะท้อนเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของเมืองท่องเที่ยวรองแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ ในรูปแบบ Meaning Full Travel + Story Telling
ด้วยกลยุทธ์สร้างการรับรู้สู่การเดินทางจริงผ่านประสบการณ์ ภาพจำ ความรู้สึก และรสชาติอาหารท้องถิ่นที่คุ้นเคยเชื่อมโยงกับเรื่องราวบรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรม อัตลักษณ์พื้นที่ในเมืองรองทั้ง 55 จังหวัด ผู้ว่าททท.กล่าวทิ้งท้าย