การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เร่งกระตุ้นท่องเที่ยวเมืองหลักเชื่อมโยงเมืองน่าเที่ยว รับนโยบาย IGNITE Thailand’s Tourism ดัน 3 จุดขายจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ต่อยอดเส้นทาง “เมือง 3 มรดกโลกยูเนสโก” การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ควบคู่กับการนำเสนออัตลักษณ์ 5 Must Do in Nakhonratchasima
พร้อมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ (ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) เจาะกลุ่มเป้าหมาย Incentive, Active Senior และ Millennials เพื่อให้จังหวัดนครราชสีมาก้าวสู่ศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาค เป็นสังคมคุณภาพสูง และยกระดับการท่องเที่ยวสู่การเป็นจุดหมายในระดับสากล (World Class Tourism)
นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ททท. รับไม้ต่อนโยบาย IGNITE Thailand’s Tourism เดินหน้าขับเคลื่อนกลยุทธ์เชื่อมโยงเมืองหลักและเมืองน่าเที่ยว 55 จังหวัดทั่วประเทศ โดยนำร่องกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ปักหมุดเมืองท่องเที่ยวศักยภาพสูงอย่างนครราชสีมา ก่อนจะเชื่อมโยงไปสู่เมืองน่าเที่ยวอื่น ๆ ในภูมิภาค (จังหวัดชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาโดดเด่นด้วยปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็งและปัจจัยภายนอกที่มีโอกาสพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การคมนาคม
ส่วนมิติทางการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมามีต้นทุนทางการท่องเที่ยวอย่างครบครัน ทั้งจุดขายของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
“เมือง 3 มรดกโลกยูเนสโก” (UNESCO Triple Heritage City) จังหวัดแรกและจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีโปรแกรมของยูเนสโกครบทั้ง 3 โปรแกรม ได้แก่
ถือเป็นวัตถุดิบชั้นดีที่ ททท. จะนำมาผลักดันทางการท่องเที่ยวต่อไป โดยทุกภาคส่วนเตรียมยกระดับจังหวัดนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางโครงข่ายคมนาคม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและศิลปวัฒนธรรมของภูมิภาค ก้าวสู่สังคมคุณภาพสูง ด้าน ททท. เตรียมบูสต์การท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ตามแนวคิดแคมเปญ “สุขทันที ที่เที่ยวไทย”
โดยต่อยอดจากปัจจัยสนับสนุนทั้งการเป็น “เมือง 3 มรดกโลกยูเนสโก” ธรรมชาติที่สวยงาม สินค้าทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายและความพร้อมรองรับการจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ทั้ง Indoor และ Outdoor เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมาย อาทิ กลุ่ม Incentive, Active Senior, Millennials รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงกีฬา โดยเฉพาะกลุ่มตลาดกอล์ฟ จากตลาดระยะใกล้และไกล ผ่าน 3 โครงการสำคัญ
โปรโมท 3 โครงการสำคัญท่องเที่ยวโคราช ประกอบด้วย
ออกแบบเส้นทางนำร่องแห่งความสุข “ท่องเที่ยว 3 มรดกโลก ยูเนสโก” 3 วัน 2 คืน อาทิ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สวนแม่หม่อน สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช เขายายเที่ยง วัดเลิศสวัสดิ์ (เขาจันทน์งาม) สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy)
ภายใต้ความร่วมมือของพันธมิตรบริษัทนำเที่ยวในพื้นที่ โครงการ “WEEKDAY WORKATION@นครราชสีมา” นำเสนอขายแพ็กเกจท่องเที่ยววันธรรมดา ในรูปแบบการจัดประชุม สัมมนา Outing ส่งเสริมนครราชสีมาสู่ “MICE City”
ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบ Sport Tourism และการจัดอีเว้นต์ในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการนำเสนอการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ Wellness Korat และการท่องเที่ยวเชิงอาหาร รูปแบบ Chef’s Table
นอกจากนี้ ททท. ยังส่งเสริม Soft Power โดยใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมเป็นอัตลักษณ์จุดขาย ผ่านแนวคิด 5 Must Do in Nakhonratchasima ประกอบด้วย
ผัดหมี่โคราช ขนมจีนประโดก ส้มตำโคราช มะขามเทศเพชรโนนไทยกาแฟดงมะไฟ รวมทั้งเชื่อมโยงร้านอาหารที่ได้รับการคัดเลือกผ่านโครงการ MICHELIN GUIDE THAILAND
เทศกาลเที่ยวพิมาย งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี ประเพณีสงกรานต์ แห่พระลอดซุ้มประตูเมือง ประเพณีแห่เทียนพรรษาโคราช งานเบญจมาศในม่านหมอก วังน้ำเขียว
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เมืองลอยฟ้า เขายายเที่ยง ภาพเขียนสี 4,000 ปี วัดเขาจันทร์งาม
หมี่โคราช เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ผ้าไหมปักธงชัย ไวน์เขาใหญ่ ผักปลอดสาร ผักสลัด
ตีกอล์ฟ 12 สนาม วิ่งโคราชมาราธอน วิ่งโคราชลอยฟ้า วิ่งเทรนชีวมณฑลสะแกราช ค่ายมวย ช.ชนะมวยไทย ซึ่ง ททท. จะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมกีฬามวยไทย ภายใต้ชื่องาน AMAZING MUAY THAI EXPERIENCE เจาะลึกแหล่งกำเนิด “มวยไทย” ผ่านอัตลักษณ์มวยไทยโบราณ 4 สาย และมวยโคราช กำหนดจัดงานวันที่ 6-8 กันยายน 2567 ลานเมรุพรหมทัต อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
ไม่เพียงเท่านั้น ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องยังได้ร่วมพัฒนาจังหวัดนครราชสีมาด้วย Mega project ต่าง ๆ อาทิ โครงการ Triple Heritage Ring Road ยกระดับสินค้าและบริการของท้องถิ่นตามเส้นทาง 3 มรดกโลก เชื่อมโยงการท่องเที่ยวนครชัยบุรินทร์, โครงการพัฒนาพื้นที่เขาใหญ่ เพื่อให้ได้รับการรับรองเป็น Blue Zone, โครงการ Locations For Film Industry in Korat เพิ่มศักยภาพเมืองโคราชเป็นพื้นที่ถ่ายทำภาพยนตร์ โดย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา
โครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจชุมชนกับโครงข่ายคมนาคมหลักในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยกรมทางหลวงชนบท โครงการการจัดแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติต่าง ๆ โดยการกีฬาแห่งประเทศไทย จะเข้ามาเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตทั้งด้านของเศรษฐกิจและการลงทุน
ก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ และเกิดการถ่ายเทของของแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวนมาก ถือเป็นโอกาสในการนำเสนอสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลายของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น และเพิ่มโอกาสทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่
ภาพรวมสถานการณ์ท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ปี 2566 พบว่า มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนรวมทั้งสิ้น 7,939,895 คน-ครั้ง แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 7,785,906 คน-ครั้ง คิดเป็น 98 % และ นักท่องเที่ยวต่างชาติ 153,989 คน-ครั้ง คิดเป็น 2 % สร้างรายได้หมุนเวียน 14,895.28 ล้านบาท
ขณะที่ภาพรวมสถานการณ์ท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ปี 2567 เดือนมกราคม-เมษายน มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนรวมทั้งสิ้น 2,821,084 คน-ครั้ง แบ่งเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทย 2,745,768 คน-ครั้ง และ นักท่องเที่ยวต่างชาติ 75,316 คน-ครั้ง
ทั้งนี้นักท่องเที่ยวชาวไทยที่นิยมเดินทางท่องเที่ยว จ.นครราชสีมา สูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ สุรินทร์ สระบุรี ลพบุรี อุบลราชธานี และพระนครศรีอยุธยา ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการเดินทางภายในภูมิภาค และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 42,942 คน-ครั้ง โดย 5 อันดับที่เดินทางเข้ามาจังหวัดนครราชสีมาสูงสุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เยอรมัน ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ และสร้างรายได้หมุนเวียน 5,674 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32 % เมื่อเทียบกับปี 2566