นายพัลลภ แซ่จิว รักษาการประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า เชียงใหม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมรวมกว่า 2 ครั้งติดต่อกัน ครั้งแรกในวันที่ 24-28 กันยายน 2567 และตามมาด้วยล่าสุดในขณะนี้
ปัจจุบันน้ำท่วมเชียงใหม่รอบ 2 แผ่กระจายไปมาก และที่สำคัญคือข่าวที่แพร่ออกไปทั้งจากนักท่องเที่ยวเองและข่าวที่นำเสนอตามข้อเท็จจริง
“ตอนเกิดเหตุครั้งแรกนักท่องเที่ยวจีน ไต้หวัน เกาหลี ยังมาอยู่ แต่ตอนนี้ก็ต้องบอกว่า กระทบหนักมาก ตลาดในประเทศที่โรงเรียนปิดเทอมก็หันไปทางอื่นหมด เฉพาะเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้
ปกติภาพรวมเศรษฐกิจทั้งหมดของเชียงใหม่จะอยู่ที่ตัวเลข 6,000 ล้านบาท ตอนนี้ลดลงเหลือ 200 ล้านบาทต่อวัน เพราะสถานการณ์แผ่ไปยัง อ.แม่แตง แม่ริม แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เท่ากับสูญรายได้ไปในพริบตา 2,000 ล้านบาทในช่วง 10 วัน
ทั้งนี้ยังไม่รวมทางอ้อมอื่นๆ ทั้งสาธารณูปโภค บุคคล สาธารณสุข และอื่นๆ ที่พ่วงกับการท่องเที่ยว เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อไปอีก 15 วันหลังสถานการณ์
สถานการณ์ตอนนี้สำหรับเชียงใหม่ คือ ต้องเร่งประสัมพันธ์นักท่องเที่ยวใหม่หมดให้กลับมา หลังจากเชียงใหม่กลับสู่ภาวะปกติในเร็ววันนี้ เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว
นายพัลลภ ยังกล่าวต่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ภัยพิบัติและภาวะโลกร้อนตอนนี้มันรุนแรงแบบทะลุปรอท รับมือกันอย่างไรหากระดับน้ำจะขึ้นสูงกว่าเกณฑ์ปกติ
จากเหตุการณ์ครั้งนี้มองว่าชะงักแบบไม่มีแผน เมื่อน้ำขึ้นสู่ระดับ 4.90 เมตร รู้อยู่แล้วว่าภายใน 6 ชั่วโมงน้ำจากเชียงดาวและแม่แตงจะไหลลงมาแน่ มองไม่เห็นว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงในเชิงพัฒนา ได้แต่ลุ้นฟ้าฝน และบอกให้ทำใจ
อีกทั้งยังมีจุดอ่อนอีกหลายอย่าง เช่น การทำแบริเออร์น้ำ แต่ไมีการปิดถนน ปล่อยให้รถฝ่ากระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวเข้าไปแบริเออร์พังน้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนห้างร้านพังเสียหายจำนวนมาก แบบนี้เรียกว่าเอาไม่อยู่
ผมอยากให้ไปดูงานหน้าโรงแรมแชงกรีล่า เชียงใหม่ ที่เขาสามารถป้องกันน้ำไม่ให้ไหลเข้ามท่วมพื้นที่โรงแรมได้ ทั้งที่ระดับน้ำต่างกันเกือบเมตร เขาใช้เทคโนโลยีอะไร เท่าที่เห็นมีเสาปักลงพื้นแล้วใช้กระทบทรายและถุงน้ำทับมีพลาสกติกบางกั้นอักชั้นเท่านั้น
บางแต่เอาอยู่ เขาทำได้ เราต้องไปดูแล้วเอามาทำไว้ใช้ในยามเกิดเหตุการณ์ เอาไปวางตลอดแนวลุ่มต่ำ ใช้เทคโนโลยีที่ดีกว่า เพราะโมเดลกระทบทรายไม่น่าจะเป็นทางที่ถูกต้องแล้ว
ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมขังบริเวณกาดเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตลาดขายของสด ผักและผลไม้ ล่าสุดน้ำเริ่มลดลง โดยระดับน้ำมีความสูงอยู่ที่ระดับหน้าแข้ง
ส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้าบางส่วนเริ่มเดินทางเข้าทำความสะอาดแผงร้าน และเตรียมผักผลไม้ให้พร้อมสำหรับขายเมื่อตลาดกลับมาสู่ภาวะปกติ