จับตา "เขตส่งเสริมนวัตกรรมยางพารา" ปลุกระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้

27 ก.ย. 2565 | 11:33 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ก.ย. 2565 | 18:48 น.

จับตา "เขตส่งเสริมนวัตกรรมยางพารา" มูลค่าลงทุน 8.9 หมื่นล้าน ปลุก "ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้" นมูลค่าถึง 990,000 ล้านบาท  

 "โครงการจัดตั้งเขตส่งเสริมนวัตกรรมยางพาราระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้  ( Southern Economic Corridor of Rubber Innovation: SECri )  

 

ที่ใช้เงินลงทุนสูงถึง 89,000 ล้านบาท  แต่ผลประโยชน์ที่ได้รับจะคุ้มค่ามาก สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าถึง 990,000 ล้านบาท  เพิ่มความต้องการใช้ยางในประเทศไม่น้อยกว่า 1.1 ล้านตัน  

 

เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นประมาณ 45,000 คน  กระจายรายได้สู่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง ประมาณ 56.18%  ช่วยผลักดันกลไกราคายางพาราให้เป็นธรรม  และที่สำคัญจะทำให้เกษตรกรชาวสวนยางมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้ที่มั่นคง สามารถช่วยยกระดับรายได้ให้ชาวสวนยางประมาณ 15,675 บาทต่อไร"

จับตา \"เขตส่งเสริมนวัตกรรมยางพารา\" ปลุกระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ การยางแห่งประเทศ ไทย (กยท.)  กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ SECri 

 

โครงการSECri  เป็นการดำเนินโครงการภายใต้  โครงการจัดตั้งพื้นที่บริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ (Rubber Valley)  ซึ่งจะดำเนินโครงการในพื้นที่ที่อยู่ในการกำกับดูแลของ กยท. รวม 38,520 ไร่ ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยแบ่งเป็นพื้นที่ส่งเสริมเกษตรกรรมสวนยางอย่างยั่งยืนและเกษตรกรรมสวนยางผสมผสานรวมประมาณ 33,520 ไร่ ในเขต อำเภอช้างกลาง และอำเภอทุ่งใหญ่    ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 3,500 ไร่ในเขต อำเภอช้างกลาง เป็นพื้นที่จะใช้ดำเนินโครงการSECri

 

โครงการจัดตั้งพื้นที่บริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ กยท.ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้แล้วพบว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะผลักดันเป็นจริงได้โดยใช้ระยะเวลาแค่ 7 ปี  

 

จับตา \"เขตส่งเสริมนวัตกรรมยางพารา\" ปลุกระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้

ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ที่จะดำเนินโครงการคือจังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูงในการลงทุนด้านยางพารา เพราะนอกจากจะอยู่ในพื้นที่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้(SEC) ของรัฐบาล ที่มีความพร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นน้ำ  ไฟฟ้า  และระบบขนส่ง ทั้งถนนสายหลัก สายรอง ท่าเรือ สนามบิน และรถไฟ

 

แล้วยังเป็นพื้นที่ที่เป็นสะพานเชื่อมเศรษฐกิจ (Land Bridge) ระหว่างฝั่งทะเลอันดามัน(มหาสมุทรอินเดีย) และอ่าวไทย(มหาสมุทรแปซิฟิก)     รวมทั้งกยท. ยังมุ่งหวังที่จะผลักดันให้จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราในภูมิภาคนี้ และเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบจากยางพาราอันดับต้นของประเทศอีกด้วย 

 

 สำหรับการศึกษาเพืิ่อดำเนินโครงการดังกล่าวในครั้งนี้ กยท.ได้ดำเนินการศึกษาครอบคลุมในทุกๆด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม  รวมทั้งศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเกษตรรูปแบบผสมผสานต้นแบบการจัดการสวนยางยั่งยืน  เพื่อสร้่างความเข้มแข็งและยกระดับรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน  

จับตา \"เขตส่งเสริมนวัตกรรมยางพารา\" ปลุกระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้

ตลอดจนศึกษาแนวคิดและรูปแบบ ประเภทธุรกิจยางพาราที่เหมาะสมกับระบบนิเวศของพื้นที่  การออกแบบผังแม่บทการพัฒนาเบื้องต้นและผังโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคหลักในพื้นที่โครงการ รูปแบบในการลงทุนและรูปแบบการบริหารจัดการ รวมถึงการประเมินผลกระทบจากโครงการและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 

 

 “ขณะนี้มีเอกชนสนใจจะเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการSECri  แล้ว  ทั้งที่เป็นบริษัทภายในประเทศ และบริษัทจากต่างประเทศ  โดยเป็นบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางต้นน้ำจนถึงปลายน้ำจำนวน 3ราย และบริษัทพัฒนาพื้นที่ 1 ราย  และบริษัทผู้ผลิตเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางต้นน้ำ 1 ราย  สำหรับอุตสาหกรรมที่สนใจลงทุน เช่น อุตสาหกรรมพัฒนาการแปรรูปยางคอมปาวด์ ยางผสม ธุรกิจแปรรูปน้ำยางข้น   โรงงานผลิตถุงมือยาง  โรงงานผลิตถุงยางอนามัย  โรงงานผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์  โรงงานพื้นที่รองเท้า  โรงงานที่นอนและหมอนยางพารา โรงงาน ผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา เป็นต้น" นายณกรณ์กล่าว 

 

 ดังนั้น กยท. จึงมั่นใจว่า หากมีการเปิดดำเนินโครงการอย่างเป็นทางการแล้ว จะทำให้เกิดการลงทุนและความร่วมมือในด้านต่างๆทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และพันธมิตรหน่วยงานต่างๆ  ในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ระบบสาธารณูปโภค  แหล่งการเรียนรู้  เป็นต้น  เกิดช่องทางการขนส่งเพิ่มขึ้นและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ  

จับตา \"เขตส่งเสริมนวัตกรรมยางพารา\" ปลุกระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้

ตลอดจนการลงทุนโรงงานแปรรูปยางพาราขนาดกลางและขนาดใหญ่อย่างแน่นอน  ซึ่งจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบนและตอนกลาง  โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช  ทั้งในด้านการค้า  การลงทุน รวมถึงภาคการบริการ การท่องเที่ยวภายในพื้นที่และบริเวณโดยรอบ  สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า990,000 ล้านบาท  ทำให้เกิดการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจสู่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางสูงถึง 56.18% หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 558,000 ล้านบาท   

 

 นอกจากนี้โครงการSECri ยังจะช่วยส่งเสริมและต่อยอดอุตสาหกรรมยางพารา พัฒนามูลค่าของผลิตภัณฑ์ยางพาราในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งจะสามารถเพิ่มความต้องการใช้ยางพาราภายในประเทศจากร้อยละ 17 ไปสู่ร้อยละ 23 หรือปริมาณการใช้ยางอยู่ที่ 1.09 ล้านตัน หรือมูลค่าเพิ่มขึ้น 110,000 ล้านบาท   ผลักดันกลไกราคายางให้มีความเป็นธรรมทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย  ต่อยอดสู่การพัฒนาการเปิดประมูลยางพาราในตลาดท้องถิ่นที่ใหญ่ขึ้น  เพิ่มมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราเป็น 450,000 ล้านบาท ภายในปี 2570  

 

รวมทั้งยังส่งเสริมการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาพันธุ์ยางให้มีประสิทธิภา่พมากขึ้น  และงานวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าที่ใช้ยางพาราหรือส่วนประกอบของยางพาราในการผลิต ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมยางพารา   

จับตา \"เขตส่งเสริมนวัตกรรมยางพารา\" ปลุกระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้

 ทั้งนี้กยท.จะให้ความสำคัญกับระบบนิเวศ   โดยมุ่งเน้นการเป็นเขตส่งเสริมนวัตกรรมยางพาราและอุตสาห กรรมยางพาราที่มีต้นทุนต่ำ แต่มีประสิทธิภาพสูง  โดยเฉพาะธุรกิจ Start Up รุ่นใหม่เพื่อสร้างนวัตกรรมยางพาราใหม่ๆ  ผู้ว่าการ กยท.มั่นใจว่า SECri  ยังการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ยางพารา    ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(GPP) ในจังหวัดที่เติบโตขึ้น  สร้างโอกาสในกับแรงงานมีอาชีพที่ดีขึ้นและมั่นคง  เกิดการต่อยอดฐานความรู้จากการส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะ เกษตรผสมผสานสวนยางยั่งยืน

 

ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่เกษตรการชาวสวนยางในภาคใต้และจังหวัดอื่นๆเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 15,675 บาทต่อไร่ ภายในปี 2570 

 

 “โครงการจัดตั้งเขตส่งเสริมนวัตกรรมยางพาราระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ  SECri  จะสร้างโอกาสให้ประเทศไทยก้าวสู่ประเทศไทยอุตสาหกรรมยางครบวงจร  ก่อให้เกิดการพัฒนายางตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราของไทยในส่งออกในรูปผลิตภัณฑ์ยางมากขึ้น ราคายางจะมีเสถียรภาพ  เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้สูงขึ้น และจะมีความมั่นคงในอาชีพอย่างยั่งยืน  ซึ่งขณะนี้ กยท.ได้เสนอโครงการให้กระทรวงการคลัง  และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) พิจารณาแล้ว  คาดว่าจะมีความชัดเจนของโครงการมากขึ้นในปี 2566 และจะสามารถผลักดันให้เป็นจริงได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 ปีนี้อย่างแน่นอน "  ผู้ว่าการ กยท. กล่าวด้วยความมั่นใจ