วันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นาย วุฒิชัย คุณเจตน์ นายกสมาคมทุเรียนไทย พร้อมด้วยตัวแทนองค์กรที่เกี่ยวข้องกับชาวสวนทุเรียนและผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนจำนวน 16 องค์กร ประกอบด้วย1. สมาคมทุเรียนไทย2..สมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทยภาคตะวันออก 3.สมาคมชาวสวนลำไยจันทบุรี 4.กลุ่มลุ่มน้ำวังโตนด
5.สมาคมผู้ค้าและส่งออกลำไยภาคตะวันออก6.สมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดน ไทย-กัมพูชา7.สมาคมผู้ผลิตทุเรียนไทย 8.สมาคมชาวสวนผลไม้จังหวัดชุมพร 9.หอการค้าจังหวัดจันทบุรี 10.สมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย 11.สถาบันทุเรียนไทย 12. วิสาหกิจชาวสวนทุเรียนจันท์ 13.สภาเกษตรจังหวัดจันทบุรี 14.กลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนจันทบุรี 15.สมาคมการค้าธุรกิจเกษตรไทย-จีน และ 16.สมาคมทุเรียนใต้ เดินทางยื่นทบทวนการโยกย้าย นาย ชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6
นาย วุฒิชัย คุณเจตน์ นายกสมาคมทุเรียนไทย เปิดเผยว่า การหนังสือทบทวนการโยกย้าย นาย ชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ในครั้งนี้ ก็เพื่อขอความเห็นใจจากนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาว มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นาย ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการได้ทราบว่าทางชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออก รวมไปถึงผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน อยากให้ทบทวนคำสั่งย้ายดังกล่าวออกไปก่อน เพื่อให้ นายชลธีได้ทำงานเพื่อช่วยชาวสวนทุเรียนในการทำเรื่องต่างๆให้เรียบร้อย
เช่น การทำใบรับรอง จีเอพี ที่ยังคงค้างกว่า 80,000 ใบ การจัดการปัญหาทุเรียนอ่อนที่กำลังทำให้คุณภาพของทุเรียนไทยไทยได้รับการชื่นชมจากผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ เพราะจากการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลทำให้ปัจจุบันทุเรียนเกิดขึ้นใหม่ในหลายพื้นที่ของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
และปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพที่ใหญ่มากอย่างทุเรียนอ่อนยังต้องมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาและตรวจจับทุเรียนอ่อนต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายที่มีประสิทธิภาพและผู้บังคับใช้กฎหมายที่เด็ดขาดมากำกับดูแล เพื่อความยั่งยืนของภาคเกษตรไทยและรักษาพืชเศรษฐกิจของไทยที่สร้างมูลค่าให้กับประเทศไทยนอกจากปัญหาเรื่องทุเรียนอ่อนในประเทศแล้ว ยังมีคู่แข่งอย่าง เวียดนาม ที่ได้รับอนุญาตให้ส่งทุเรียนเข้าประเทศจีนได้อีกหนึ่งประเทศ ทำให้ชาวสวนทุเรียนไทยได้รับผลกระทบโดยตรงอีกด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างก็ตามเรื่องย้ายข้าราชการ ที่เข้าใจท่ามกลางสถานการณ์การแข่งขันของตลาดการส่งออกทุเรียนไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) ได้ประกาศลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 อนุญาตให้ประเทศเวียดนาม ส่งทุเรียนผลสดเข้าจีนได้เป็นประเทศที่ 2 ซึ่งประเทศเวียดนามถือเป็นประเทศที่เป็นคู่แข่งทางการค้ากับประเทศไทยที่มีข้อได้เปรียบสูง เนื่องจากประเทศเวียดนามมีพรมแดนติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้ระยะทางขนส่งใกล้กว่าประเทศไทย สามารถตัดทุเรียนแก่ที่มีคุณภาพรสชาติได้ดีกว่าของประเทศไทย และทำให้ราคาถูกกว่าประเทศไทย แม้แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนได้พัฒนาการปลูกทุเรียนในพื้นที่ถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม
นอกจากนี้ประเทศไทยยังพบปัญหาการตรวจพบทุเรียนด้อยคุณภาพส่งออกไปยังสาธารรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นปัญหาสืบเนื่องมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี ที่เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำลายตลาดทุเรียนไทย และปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายควบคุมคุณภาพทุเรียนบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยสาธารรัฐประชาชนจีนมีความต้องการทุเรียนแก่จัดและมีคุณภาพสูง ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบทำให้ราคาทุเรียนไม่เสถียร ความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจของผู้บริโภคคนจีนลดลง และอาจมีการลดการนำเข้าในอนาคตหากมีประเทศทางเลือกที่ดีกว่าด้วย
สำหรับในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนภาคตะวันออกในปี 2563 ได้มีการตรวจพบปัญหาทุเรียนอ่อนมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงการเก็บเกี่ยวทุเรียนในภาคตะวันออกในปี พ.ศ.2564 นายชลธี ถือเป็นคนริเริ่มก่อตั้งชุดปฏิบัติการ “ทีมเล็บเหยี่ยว” เพื่อตรวจจับแก้ปัญหาทุเรียนอ่อน ทุเรียนด้อยคุณภาพ ทีมเล็บเหยี่ยวทำงานอย่างจริงจังรวมทั้งดำเนินการด้านมาตรฐาน GAP ในส่วนของผลไม้เพื่อการส่งออก ทุเรียน ลำไย มังคุด ฯลฯ ของภาคตะวันออกสามารถส่งขายได้อย่างราบรื่นและมีส่วนในการผลักดันเรื่องการกำหนดมาตรฐาน GMP Plus และ GAP Plus เพื่อยกระดับมาตรฐานการจัดการผลไม้ที่ปลอดจากการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 โดยตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา พบทุเรียนด้อยคุณภาพน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญด้วย
นายวุฒิชัย บอกด้วยว่าการยื่นหนังสือของเครือข่ายองค์กรผลไม้และผู้ประกอบการส่งออก จำนวน 16 หน่วยงานครั้งนี้ชาวสวนทุเรียนไทยและผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนไทย หวังว่าผู้มีอำนาจจะให้ความเมตตาและเข้าใจผลกระทบของการโยกย้าย นาย ชลธี ดังกล่าวเพราะถือว่าการโยกย้ายครั้งนีถือว่ากระทบใหญ่หลวงกับวงการทุเรียนไทยที่สร้างรายได้ให้ประเทศกว่าปีละหนึ่งแสนล้านบาท