ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบให้ดำเนิน โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 กรอบวงเงินงบประมาณตามกรอบมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จำนวน 18,700.13 ล้านบาท
และมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกปทุมธานี ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือน
เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุด ลดภาระค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ โดยที่กลไกตลาดยังคงทำงานเป็นปกติซึ่ง ธ.ก.ส. ได้เริ่มโอนเงินประกันรายได้ ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 โดยโอนเงินงวดที่ 1 - งวดที่ 9 เข้าบัญชีเกษตรกรในวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา
นายธีร์วริศ พรพันธวิศ นายกสมาคมส่งเสริมเกษตรกรชาวนาอีสาน และ ในฐานะคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างและการชดเชยส่วนต่างราคาให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” วันนี้ (16 ธ.ค.65) มีการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิง โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ครั้งที่25/2565 (งวดที่ 10) ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงคำนวณจากราคาข้าวชนิดต่างๆ ย้อนหลัง 7 วันทำการ (6-15 ธ.ค.65) ความชื้นไม่เกิน 15% เกษตรกรที่แจ้งวันคาดว่าเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 10-16 ธ.ค.65
ข้าวเปลือกหอมมะลิ ชดเชยตันละ 1,075.90 บาท
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ชดเชยตันละ 598.76 บาท
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ชดเชยตันละ 288.31 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า ชดเชยตันละ 496.89 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว ราคาสูงกว่าเป้าหมาย
นายธีร์วริศ กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงที่คำนวณได้ในงวดที่ 9 – 10 แล้ว พบว่า ราคาข้าวเปลือกปทุมธานี ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียวปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกหอมมะลินอก พื้นที่ปรับตัวลดลง
ตรวจสอบเงิน "ประกันรายได้เกษตรกร"
สมาคมโรงสีข้าวไทย รายงาน เว็บไซต์ Thai Rice Mill Association ราคาข้าวประจำวัน ศุกร์ ที่ 16 ธันวาคม 2565