ผู้เลี้ยงไก่ไข่ กระทุ้ง! ขอราคาเพิ่ม รัฐอุดหนุนฟองละบาท

18 ม.ค. 2566 | 23:00 น.

ผู้เลี้ยงไก่ไข่โอด อาหารสัตว์แพงลิ่ว กระทุ้งขอราคาเหมาะสม 3.90-4 บาทต่อฟอง ชงเลียนโมเดลญี่ปุ่น รัฐอุดหนุนฟองละ 1 บาทเพิ่มบริโภค 365 ฟองต่อคนต่อปี ระบุพรรคไหนชูเป็นนโยบาย พร้อมเทคะแนนเสียง ผู้ค้าไข่ไก่สั่งจับตา “ไข่ผี”จากห้องเย็นจ่อทะลักตลาดหลังราคาปรับขึ้น

วันที่ 6 ม.ค.2565 เครือข่าย 4 สหกรณ์ ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประกอบด้วย สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด, สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี จำกัด, สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่นํ้าน้อย จำกัด ประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละ ณ หน้าฟาร์มเกษตรกรอยู่ที่ฟองละ 3.60 บาท

 

ชัยพร สีถัน

 

นายชัยพร สีถัน อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ราคาไข่ไก่ที่ปรับขึ้นมาใหม่นั้น ยังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยเมื่อคำนวณจากราคาอาหารไก่ เดือน ม.ค. 2566 อยู่ที่ 17-18 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ราคาไข่ไก่คละอยู่ที่ 3.60 บาทต่อฟอง เทียบกับเดือนกันของปีก่อน ราคาอาหารไก่อยู่ที่ 13-14 บาทต่อ กก. และไข่ไก่คละอยู่ที่ 3.40 บาทต่อฟอง จะเห็นว่าราคาไข่ไก่มีการปรับขึ้นแค่ 20 สตางค์เมื่อเทียบกับราคาอาหารไก่ที่ปรับขึ้นไป 4-5 บาทต่อ กก.

 

ผู้เลี้ยงไก่ไข่ กระทุ้ง! ขอราคาเพิ่ม รัฐอุดหนุนฟองละบาท

 

ทั้งนี้จากราคาอาหารไก่ที่ปรับเพิ่ม 1 บาทต่อ กก.จะส่งผลให้ราคาไข่ไก่ปรับขึ้น 17 สตางค์ต่อฟอง ขณะนี้ราคาอาหารไก่ปรับขึ้นประมาณ 3-4 บาทต่อ กก. ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 3.90-4 บาทต่อฟอง เทียบกับไต้หวัน ราคาอาหารไก่อยู่ที่ 21 บาทต่อ กก. ราคาไข่ไก่ 6 บาทต่อฟอง ส่วนมาเลเซีย อาหารไก่ 19 บาทต่อ กก. ราคาไข่ไก่ 4.50 บาทฟอง ทำให้มีการนำเข้าไข่ไก่จากไทยจากไข่ในประเทศราคาสูง

 

ผู้เลี้ยงไก่ไข่ กระทุ้ง! ขอราคาเพิ่ม รัฐอุดหนุนฟองละบาท

 

“ไทยควรมีการปรับราคาไข่ไก่ตามกลไกตลาดที่เหมาะสม และรัฐควรมีการอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้บริโภคไข่ถูกและส่งเสริมการรับประทานไข่ไก่ ตามอย่างประเทศญี่ปุ่นที่เคยมีมาตรการช่วยเหลือผู้บริโภคฟองละ 1 บาทต่อคนต่อปี เฉลี่ย 365 ฟองต่อคนต่อปี ทำให้ผู้บริโภคไม่เดือดร้อน ไม่ต่อว่ารัฐบาล หากพรรคการเมืองไหนนำแนวความคิดนี้ไปใช้เป็นนโยบายหาเสียง ผู้เลี้ยงไก่ไข่ก็พร้อมจะเทคะแนนให้ เพราะผู้บริโภค และเกษตรกรจะวิน-วินกันทั้งคู่”

 

 

 

สุธาศิน อมฤก

 

ด้านนายสุธาศิน อมฤก นายกสมาคมการค้าผู้ค้าไข่ไทย กล่าวว่า ช่วงนี้ไม่ควรไปปั่นราคาไข่ไก่ขึ้นให้มาก ควรช่วยกันประคองราคานี้ให้รอดก่อน เพราะอีกด้านหนึ่งก็ไม่ทราบว่ามี “ไข่ไก่ผี” โผล่มาจากไหน ทั้งที่กรมปศุสัตว์ได้ขอความร่วมมือผู้เลี้ยงปลดแม่ไก่ไข่ต่อเนื่อง หากราคาไข่ปรับขึ้นแบบตามใจผู้เลี้ยงเช่นนี้ เชื่อว่าจะมีไข่ไก่จากห้องเย็นทะลักออกมาขายในตลาดอีกระลอกใหญ่แบบสึนามิ

 

ผู้เลี้ยงไก่ไข่ กระทุ้ง! ขอราคาเพิ่ม รัฐอุดหนุนฟองละบาท

 

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ หรือ เอ้กบอร์ด เผยถึงแผนการนำเข้าเลี้ยงไก่ไข่พันธุ์ (GP และ PS) ปี 2566 ได้แก่ ไก่ไข่ปู่ย่าพันธุ์ (GP) จำนวน 3,870 ตัว สาเหตุเนื่องจาก บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)(บมจ.) มีการขอชดเชย GP ที่สูญเสียจำนวน 70 ตัว ที่ไม่สามารถนำเข้ามาภายในปี 2565 ได้เนื่องจากจะต้องนำเข้า GP ครั้งละไม่ตํ่ากว่า 2,000 ตัว และไก่ไข่พ่อแม่พันธุ์ (PS) จำนวน 440,000 ตัว(ดูกราฟิกประกอบ)

 

 

ผู้เลี้ยงไก่ไข่ กระทุ้ง! ขอราคาเพิ่ม รัฐอุดหนุนฟองละบาท

 “จะสังเกตุเห็นว่า แผนการนำเข้า PS มีการปรับลดโควตาเหลือจำนวน 440,000 ตัว ตั้งแต่ปี 2562 ปรากฎว่าราคาไข่ไก่โดยเฉลี่ยปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับต้นทุนเฉลี่ยในแต่ละปี โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา ราคาไข่ไก่เฉลี่ยยังสูงกว่าราคาต้นทุนเฉลี่ยจึงใช้แผนการเลี้ยง PS เท่าเดิม อย่างไรก็ดีมอบหมายให้กรมปศุสัตว์ออกมาตรการลงโทษผู้ที่ไม่ปลดแม่ไก่ตามกติกา เพื่อคุมปริมาณไข่ไก่ให้สมดุลกับความต้องการ จากปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อไข่ราคาดี เมื่อถึงเวลาปลดไก่แล้วก็ไม่ดำเนินการ”

 

 

สำหรับเรื่องของต้นทุนอาหารสัตว์ ปัจจุบันต้นทุนสูงมาก สาเหตุหลักจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สำคัญยังยืดเยื้อ เงินบาทที่อ่อนค่าในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ราคาวัตถุดิบนำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์พยายามที่จะเข้ามาแก้ปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ขาดแคลนและราคาสูง เช่น ยกเลิกมาตรการ 3 : 1 (ซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ 3 ส่วน นำเข้าข้าวสาลีได้ 1 ส่วน) แต่ผลผลิตข้าวโพดในประเทศก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงงานอาหารสัตว์ ยังขาดอีกกว่า 2 ล้านตัน

 

ผู้เลี้ยงไก่ไข่ กระทุ้ง! ขอราคาเพิ่ม รัฐอุดหนุนฟองละบาท

 

ดังนั้นทำให้ต้องมีการใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนทดแทน เช่น มันสำปะหลัง รวมถึงมีเงื่อนไขในตอนนั้นว่า กากถั่วเหลืองต้องไม่เกิน กก.ละ 18-19 บาท และมันเส้นต้องไม่เกิน กก.ละ 5 บาท แต่ปัจจุบันราคากากถั่วเหลืองอยู่ที่ กก.ละกว่า 20 บาท มันเส้น กก.ละ 9 บาท ซึ่งการเลี้ยงไก่ในปัจจุบันไม่ได้เลี้ยงใต้ถุนบ้านเหมือนสมัยก่อน แต่เลี้ยงในระบบอุตสาหกรรม จึงใช้วัตถุดิบท้องถิ่นไม่ได้ ถ้าจะใช้จะต้องมีคุณภาพและปริมาณมากพอ เพื่อที่ให้การผลิตอาหารสัตว์เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้โอกาสลดต้นทุนทำได้ยาก

 

ผู้เลี้ยงไก่ไข่ กระทุ้ง! ขอราคาเพิ่ม รัฐอุดหนุนฟองละบาท

 

อย่างไรก็ดีมีผู้เสนอขอให้มีการทบทวนศึกษาเรื่องพืชจีเอ็มโอ (GMOs) โดยให้เอ้กบอร์ด ส่งต่อให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการพิจารณาศึกษาเรื่องข้าวโพด GMOs เนื่องจากมีความจำเป็น ซึ่งในอดีตหลายฝ่ายมีความกังวลเรื่องของพืช GMOs ไม่ปลอดภัย ทำลายระบบนิเวศ ทำให้พืชต่างๆ สูญพันธุ์ แม้ระยะเวลาผ่านไป แต่หลายฝ่ายยังมีความกังวลเรื่องนี้

 

 

ผู้เลี้ยงไก่ไข่ กระทุ้ง! ขอราคาเพิ่ม รัฐอุดหนุนฟองละบาท

 

ขณะในต่างประเทศมีการใช้ GMOs เช่น จีนเพิ่งมีนโยบายผลิตกากถั่วเหลืองจีเอ็มโอ ภายในประเทศ เพื่อลดการนำเข้า ส่วนในยุโรปมีการยอมรับพืชจีเอ็มโอไม่ได้ต่อต้านเหมือนเมื่อก่อน ดังนั้นมองว่า จีเอ็มโอไม่ได้ร้ายแรง จะเป็นการแก้ปัญหาเรื่องข้าวโพดขาดแคลน และเพิ่มความสามารถการแข่งขันกับต่างประเทศ

 

หน้าที่ 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,854  วันที่ 19-21 มกราคม พ.ศ. 2566