ความคืบหน้าโครงการ “ประกันรายได้ยางพารา” เฟส 4 ยังมีต่อเนื่อง เป็น โครงการประกันรายได้พืชเกษตร 5 ชนิด ประกอบด้วย ข้าว ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และยางพารา โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง และเมื่อได้ร่วมเป็นรัฐบาล ได้ผลักดันโครงการประกันรายได้ถูกบรรจุให้เป็น 1 ใน 12 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ซึ่งโครงการประกันรายได้ดำเนินการเข้าสู่ปีที่ 4
สำหรับพืช "ยางพารา" ซึ่งอยู่ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถานะเช่นเดียวกับ 4 พืช ผ่านได้ผ่านบอร์ดแต่ละพืชมาเรียบร้อยแล้ว ล่าสุดประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบแล้วเดินหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 วงเงินรวมกว่า 7.6 พันล้านบาท ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 และล่าสุด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้แจ้งโอนเงินประกันรายได้เฟส 4 หลังเที่ยงคืนคืนนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 13 เมษายน เป็นต้นไป นั้น
แหล่งข่าวกลุ่ม สภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย มีความเคลื่อนไหว ตั้งแต่ หลังเที่ยงคืนเป็นต้นมานั้น บางคนโพสต์ดีใจ พร้อมโชว์สลิป โอนเงินดีใจ หลายคนก็โพสต์ผิดหวัง ทำไมยังไม่ได้สักที ใครที่ยังไม่ได้ ต่างก็ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
วิธีตรวจสอบสถานการณ์โอนเงินประกันประกันรายได้ยางพารา เฟส 4 เข้าไปที่เว็บไซต์ https://chongkho.inbaac.com ตรวจสอบผลการรับการสนับสนุนตามโครงการรัฐ ของ ธ.ก.ส. คลิกที่นี่
กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
ระบบจะแจ้งผลการรับเงินว่าท่านจะได้รับเงินจากโครงการประกันรายได้ยางพารา ระยะที่ 4 เข้าเลขที่บัญชีไหน พร้อมวันที่โอน สาขาธกส. และสถานะการโอน สำเร็จ/หรืออยู่ระหว่างดำเนินการ
สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 และเป็นเกษตรกรที่ปลูกยางในพื้นที่มีเอกสารสิทธิเท่านั้น ซึ่งมีประมาณ 1.6 ล้านคน รวมพื้นที่สวนยางกรีดได้ 18.18 ล้านไร่ ส่วนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ ยังคงเดิม อาทิ
1.เป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่
2.ราคายางที่ประกันรายได้ มีการแบ่งสัดส่วนรายได้ เจ้าของสวน ร้อยละ 60 และคนกรีดร้อยละ 40 ของเงินค่าประกันรายได้ สำหรับการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางที่ผ่านมา 3 ระยะ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 วงเงินสะสมโครงการรวมทั้งสิ้น 46,682.88 ล้านบาท สามารถช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางได้เฉลี่ยปีละ 1.4 ล้านคน
สำหรับ การชดเชย “ประกันรายได้ยางพารา” แบ่งเป็นงวดที่ 1 "เดือนตุลาคม" ประจำปี 2565 จ่ายชดเชยกว่า 2,673 ล้านบาท ดังนี้
งวดที่ 2 "เดือนพฤศจิกายน" ประจำปี 2565 จ่ายชดเชย 4,025 ล้านบาท