ปรากฎการณ์ “เอลนีโญ”คืออะไร กรมอุตินิยมวิทยาให้คำอธิบายไว้โดยสรุปว่าคือการอุ่นขึ้นผิดปกติของผิวน้ำทะเลกระแสน้ำอุ่นที่ไหลลงทางใต้ตามชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ซึ่งตรงข้ามกับปรากฎการณ์"ลานีญา"ที่จะทำให้เกิดฝนตกมากกว่าปกติ
สำหรับผลกระทบของ"เอลนีโญ"ต่อปริมาณฝนและอุณหภูมิในประเทศไทย นั้นเอลนีโญจะทำให้ปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่ต่ำกว่าปกติ (rainfall Index น้อยกว่า 50) โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝน และพบว่าเอลนีโญขนาดปานกลางถึงรุนแรงมีผลกระทบทำให้ปริมาณฝนต่ำกว่าปกติมากขึ้นสำหรับอุณหภูมิ ปรากฏว่าสูงกว่าปกติทุกฤดูในปีเอลนีโญ
นายพีรโชติ จรัญวงศ์ นายกสมาคมการค้าอินทรีย์ไทย และ กรรมการผู้จัดการบริษัทผลิตภัณฑ์อาหารเมอริท จำกัด เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังจะเผชิญปรากฎการณ์"เอลนีโญ" ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความร้อนและแห้งแล้งมากกว่าปกติ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงโดยคาดการณ์จากปรากฎการณ์ "ลาณีญา" ที่มีปริมาณฝนมากกว่าปกติก่อนหน้านี้ที่กินเวลานานถึง 3ปี จึงคาดการณ์ว่าไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเผชิญกับปรากฎการณ์เอลนีโญราว 3 ปี เช่นกัน
“ เกษตรกรควรเตรียมตัวรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นซึ่งอาจมีความรุนแรงและยาวนาน โดยหาแหล่งกักเก็บน้ำและปรับแผนบริหารจัดการในแปลงเกษตรให้เหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อให้เกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาตินี้ให้น้อยที่สุด เช่น ลงทุนให้เหมาะสมกับสัดส่วนความสามารถการดูแลรักษาเพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหาย หยุดหรือเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ทนแล้งใช้น้ำน้อย”
สำหรับภาพรวมผลผลิตทางการเกษตรของไทยน่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ราคาตลาดเพิ่มขึ้น เพราะสินค้าหายไปจากตลาด เมื่อช่วงเอลนีโญครั้งก่อน ราคามะพร้าวจากเดิมกิโลกรัมละ 10 บาท เพิ่มเป็น 50 บาท ขณะที่ผลมะพร้าวก็จะมีขนาดเล็กลงในส่วนของบริษัทถือว่าดีเพราะสะดวกในการขนส่งแต่สำหรับเกษตรกรทั่วไปจะได้รับผลกระทบเพราะด้านน้ำหนักที่จะจำหน่ายลดลง
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ดังกล่าว แม้ทิศทางราคาสินค้าเกษตรจะดีขึ้นแต่เกษตรกรจะไม่มีผลผลิตป้อนตลาดเท่ากับว่าภาคเกษตรไทยจะได้รับผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจตามไปด้วย ดังนั้น แนวทางรับมือของภาครัฐควรร่วมกับเกษตรกรวางแผนการรับมือเอลนีโญร่วมกัน
“การเตรียมน้ำไว้มากๆในภาคเกษตรไม่ใช้คำตอบที่จะใช้กับ "เอลนีโญ"ได้เพราะ ปรากฎการณ์นี้เป็นเรื่องของความแห้งแล้งที่สภาพอากาศร้อนรุนแรง ดังนั้นแหล่งกักเก็บน้ำก็จะระเหยหมดไปในเวลาไม่นาน และอากาศที่ร้อนก็จะยิ่งทำให้พืชต้องการน้ำมากขึ้น การบริหารจัดการน้ำเพื่อประโยชน์อุปโภคบริโภคที่จำเป็นมากกว่าใช้เพื่อการเกษตรซึ่งต้องการน้ำปริมาณสูงมากท่ามกลางความยากลำบากที่จะหาแห่งซัพพลายมาเพิ่มได้เพราะฝนจะทิ้งช่วงนานด้วยเช่นกัน”
สำหรับบริษัท มีสวนมะพร้าวที่ที่ดินกว่า 2,200 ไร่ ณ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ได้ทยอยปลูกมะพร้าวสายพันธุ์มาว่า พันธุ์นี้เป็นที่ขึ้นชื่อในเรื่องให้ผลผลิตขนาดเล็ก แต่มีเนื้อหนาและมีความทนทานต่อสภาพอากาศของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี เพื่อป้อนเข้าสู่ การ แปรรูปผลผลิตจากไร่ มาเป็นผลิตภัณฑ์มะพร้าวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำกะทิ,น้ำมะพร้าว,น้ำมันมะพร้าว,แป้งมะพร้าว และเกล็ดมะพร้าวอบแห้ง รวมถึงมีคอนแทร็กฟาร์มมิ่งกับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วยสำหรับผลผลิตของบริษัทปีหนึ่งจะผลิตได้3,000ตู้คอนเทนเนอร์ โดยปี654ผลิตได้1,500ตู้ ปีนี้เนื่องจากเจอแล้งน่าจะผลิตได้800ตู้