เตือน "เอลนีโญ" เสี่ยงทำเศรษฐกิจโลกเสียหายยาวถึง 2029

13 มิ.ย. 2566 | 08:00 น.
อัพเดตล่าสุด :13 มิ.ย. 2566 | 09:42 น.

เตือน ปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" จะเกิดขึ้นทะลุ 90 เปอร์เซ็นต์ ลากยาวถึง มีนาคม 2567 เเละเสี่ยงทำเศรษฐกิจโลกเสียหายยาวถึง 2029

ความน่าจะเป็นที่จะเกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ทะลุ 90% เเละคาดว่าจะลากยาวถึงอย่างน้อย มี.ค. ปี 2567 เป็นสัญญาณเตือนให้ต้องเตรียมรับมือสภาพอากาศที่มีแนวโน้มร้อนและแล้งกว่าปกติซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค สัญญาณนี้จะเริ่มชัดเจนตั้งแต่ ต.ค. ปีนี้เป็นต้นไป

 

นักวิทยาศาสตร์จากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ ระบุว่า ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" เริ่มขึ้นแล้ว หลังจาก 3 ปีที่ผ่านมาเกิดปรากฏการณ์ลานีญามาอย่างต่อเนื่อง

ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่า เอลนีโญจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โลกร้อนขึ้นทะลุ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ถือว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นระดับนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างหนัก เกิดภัยแล้ง ไฟป่า และเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง

แต่สำหรับความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะมีถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปจนถึงปี 2029  นี่คือข้อมูลที่อ้างอิงจากการศึกษาใน วารสารวิทยาศาสตร์ ที่บอกว่า

ปรากฏการณ์เอลนีโญส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว แม้ว่าปรากฏการณ์จะผ่านพ้นไปแล้ว  โดยวิเคราะห์จากสถานการณ์หลังเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ในปี  1982-1983 ในช่วง 5 ปีหลังจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทั่วโลกสูญเสียรายได้ 4.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ในปี  1997-1998 ทั่วโลกสูญเสียรายได้ 5.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

 

เอลนีโญ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร

จะเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยทุก ๆ 2-7 ปี เกิดจากกระแสลมมีกำลังอ่อนและเปลี่ยนทิศทางพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปฟิซิกไปด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปฟิซิก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหล ไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ด้วยเหตุนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียขาดฝนและเกิดความแห้งแล้ง แต่ชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้กลับมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น

ปรากฏการณ์เอลนีโญ สำหรับประเทศไทยเจอแน่ แม้จะมีกำลังอ่อน แต่ก็ควรเตรียมรับมือกับ “ภัยแล้ง” ที่จะมาถึงในปีนี้ให้ดี ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงกับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอาหาร เพราะอาจจะทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง

ที่ผ่านมากรมชลประทาน ได้เตรียมแผนรับมือลดผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง เฝ้าระวัง ติดตาม ประเมินสถานการณ์ เพื่อวิเคราะห์และปรับแผนบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่ ที่สำคัญให้เร่งเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด

ข้อมูล : theverge

Supplementary Materials for Persistent effect of El Nino on global economic growth