ตราด รับมือ"เอลนีโญ"เร่งกักเก็บนํ้า 7 แห่ง สู้ภัยแล้ง

23 มิ.ย. 2566 | 02:35 น.
อัปเดตล่าสุด :23 มิ.ย. 2566 | 03:06 น.

เตรียมรับมือ “เอลนีโญ” ผู้ว่าฯตราดสั่งเร่งกักเก็บนํ้าใน 7 อ่าง สู้ภัยแล้ง ด้านชลประทานตรัง มั่นใจนํ้าไม่ขาด หลังฝนตกมีนํ้าสำรองแน่ ขณะนํ้าในอ่างเก็บนํ้า “เขาระกำ” ลดฮวบมองเห็นโขดดิน หลังปล่อยนํ้าให้ 3 ตำบล ทำนาปรัง

จากสถานการณ์ "เอลนีโญ" ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 คาดถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 จะส่งผลให้หลายจังหวัดอาจประสบปัญหาภัยแล้ง ส่งผล กระทบต่อปริมาณนํ้าอุปโภค-บริโภค และนํ้าเพื่อการเกษตรนั้น 

นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวว่า จังหวัดตราดได้ประสานงานกับกรมชลประทานจังหวัดตราด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมรับมือปัญหาขาดแคลน นํ้าที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งกรมทรัพยากรนํ้าเพื่อสำรวจนํ้าใต้ดิน นํ้าบนดิน และนํ้าผิวดิน พร้อมสำรวจความต้องการการใช้นํ้า ความสามารถบริหารจัดการนํ้าให้ให้เพียงพอกับความต้องการ 


    

ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวอีกว่า ในส่วนงบประมาณปี 2567 นั้น ทางจังหวัดตราดได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บนํ้าคลองแอ่ง และอ่างเก็บนํ้า ห้วยสะตอ ในห้วง 5 ปีข้างหน้าจะสามารถเก็บนํ้าได้ และสามารถ เติมนํ้าให้กับประชาชนในแต่ละพื้นที่ได้ ในขณะเดียวกัน จะขุดลอกคูคลองและแหล่งนํ้าต่างๆเพื่อใช้เป็นแก้มลิงในการเก็บกักนํ้า ขอให้ประชาชนช่วยกันดูแลและแก้ปัญหา หากพื้นที่ใดมีปัญหาโทรแจ้งที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดตราดได้

ตราด รับมือ\"เอลนีโญ\"เร่งกักเก็บนํ้า 7 แห่ง สู้ภัยแล้ง

นายธำรงศักดิ์ นคราวงศ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานตราด เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่า ปีนี้ปริมาณนํ้าฝนจะน้อยกว่าปีที่แล้วร้อยละ 5 โดยปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” ที่มีการพยากรณ์จะเกิดระหว่างกลางเดือนมิถุนายน-กลางเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งเป็น เอลนีโญระดับอ่อน ยังไม่กระทบกับ จังหวัดตราดและประเทศไทยในปีนี้

แต่จะไปกระทบในปี 2567 เพราะในปี 2564 ชลประทานจังหวัดตราดได้เก็บกักนํ้าในอ่างเก็บนํ้าทั้งหมด 7 อ่างเต็มจำนวนความจุทั้งหมด อาจกระทบบ้างแต่น้อยมาก เพราะได้เตรียมการบริหารจัดการไว้ล่วงหน้า 

ตราด รับมือ"เอลนีโญ"เร่งกักเก็บนํ้า 7 แห่ง สู้ภัยแล้ง

อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 ทางชลประทานตราดยังมีความกังวล เพราะอาจจะเกิดการขาดแคลนนํ้าในช่วงฤดูร้อน ดังนั้นใน ช่วงฤดูฝนปี 2566 นี้ ชลประทานตราดจะต้องทำการเก็บกัดนํ้าให้มากที่สุดเหมือนปี 2564 ส่วนระดับนํ้าในอ่างเก็บนํ้าเขาระกำตอนบน ที่มีปริมาณลดลงนั้น ไม่เป็นปัญหา เพราะหลังจากนี้มีการเก็บกักนํ้าอย่างต่อเนื่อง

จะเห็นได้ว่าระดับนํ้าเพิ่มขึ้นหลังจากเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา เมื่อเดือนมิถุนายน มีฝนตกลงมานํ้าเริ่มเพิ่มขึ้น จึงไม่ต้องกังวลในพื้นที่ชลประทาน ส่วนนอกพื้นที่ ชลประทานได้แจ้งให้องค์กรปกครองท้องถิ่น เก็บกักนํ้าในพื้นที่ ตามคู คลอง หรือสระ เพื่อรองรับนํ้าไว้ใช้ยามขาดแคลน รวมทั้ง เกษตรกรที่ต้องการใช้นํ้าด้วย 

นายสมศักดิ์ เฟื่องเกษม สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตำบลหนองโสน อำเภอเมือง จ.ตราด และเกษตรกร ทำสวนผลไม้รอบอ่างเก็บนํ้าเขาระกำ เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนมีนาคมและเดือนพฤษภาคม 2566 ทางชลประทานตราดได้ปล่อยนํ้าออกไปให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวใน 3 ตำบล คือ ตำบลหนองเสม็ด ต.หนองคันทรง และตำบลหนองโสน เพื่อทำนาปรัง ส่งผลให้ระดับนํ้าลดลงอย่างที่เห็น

สังเกตจากระดับนํ้าที่ท่วมองค์พระพุทธรูปจมนํ้า คือ พระพุทธสิริภูวดลมงคลชัย หรือหลวงพ่อจมนํ้า ระดับนํ้ายังไม่ท่วมบริเวณกำแพงโดยรอบองค์ และบริเวณที่เป็นกุฏิวัด โดย ปกติเดือนมิถุนายนของทุกปี ระดับนํ้าจะมีความสูงถึงระดับเอวเป็นอย่างน้อย

พระพุทธสิริภูวดลมงคลชัย หรือหลวงพ่อจมนํ้า

แต่ปีนี้นํ้ายังแห้งและลดระดับลงมาถึงพื้นและยังลดลงมาอีกกว่า 1-2 เมตร ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ปกติ เกรงว่า หากฝนทิ้งช่วงตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศไว้จะส่งผลกระทบต่อการทำการเกษตรกรรมในช่วงปลายปีและต้นปีของพื้นที่เกษตรกรรมรอบอ่างเก็บนํ้าเขาระกำใน 3 อำเภอ อีกทั้งอ่างเก็บนํ้าเขาระกำยังต้องปล่อยนํ้าเพื่อทำนํ้าประปาของพื้นที่อำเภอเมืองตราดด้วย ที่จำเป็นต้องใช้นํ้ามากและอาจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการที่มีมาก แต่นํ้าไม่เพียงพอในระยะต่อไป 

สำหรับสถานการณ์นํ้าบริเวณอ่างเก็บนํ้าเขาระกำ ต. วังกระแจะ อ.เมือง จ.ตราด ที่บริเวณสันเขื่อนระดับนํ้าลดลงอย่างมาก จากอ่างเก็บนํ้าเขาระกำที่มีความจุเต็มจำนวน 57.165 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้านลบ.ม.) แต่ปัจจุบันเหลือ เพียง 20 ล้านลบ.ม.เท่านั้น จากมาตรวัดระดับนํ้ามีความสูงเพียงและอยู่ในระดับตํ่าที่สุด โดยหน้าอ่างเก็บนํ้าพบโขดดินโผล่ขึ้นมาจนเห็นพื้นล่าง