จับตา ”ไทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์ท” นัดคนเลี้ยงหมู ถกหาทางออก ให้หยุดขยายสาขา

27 ก.ค. 2566 | 12:40 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ก.ค. 2566 | 12:44 น.

“เดือนเด่น” หนึ่งในตัวแทน 3 องค์กร ผู้เลี้ยงหมู เผย “ไทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์ท” นัด 2 ส.ค. ถกหาทางออกให้หยุดขยายสาขา พร้อมเฉลยปัญหาปมขัดแย้ง เชื่อมาจากโดนหางเลขแบนส่งออก ทำสินค้าในประเทศล้นตลาด ต้องขายดัมพ์ ระบายสต๊อก อัพเดทล่าสุดมี 287 สาขา ทั่วประเทศ

จากกรณี สหกรณ์ –สมาคม 3 องค์กร ได้ทำหนังสือถึง กรรมการผู้จัดการ บมจ. ไทยฟู้ดส์  เรื่อง ปรึกษาสภาพปัญหาเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย  โดยใจความระบุสำคัญว่า ด้วยปัจจุบัน "ไทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์ท" ได้มีการขยายสาขาแต่ละจังหวัดและอำเภอต่อเนื่องเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบทางกลไกการตลาด ล่าสุดมีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญ

จับตา ”ไทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์ท” นัดคนเลี้ยงหมู ถกหาทางออก ให้หยุดขยายสาขา

นายเดือนเด่น ยิ้มแย้ม รองประธานชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงที่มาที่ไปว่า สิ่งที่แตกต่างของไทย ฟู้ดส์ เฟรช มาร์ท เทียบกับบริษัทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นช็อปของ บทาโกร, ซีพี เฟรช มาร์ท  และ บริษัท วี.ซี.มีท ที่จำหน่ายเนื้อหมูและเนื้อสัตว์แช่เย็น แช่แข็งอื่น ๆ โดยขายตามราคาปกติ ไม่ได้ขายดัมพ์ราคา ทำให้ราคาไม่แตกต่างกันมาก โดยสินค้าบางส่วนจะมีจัดโปรโมชั่นบ้าง ในระยะเวลาสั้น ๆ 

จับตา ”ไทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์ท” นัดคนเลี้ยงหมู ถกหาทางออก ให้หยุดขยายสาขา

 

แตกต่างจาก "ทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์ท" ที่เปิดราคาขายเนื้อหมู กิโลกรัม(กก.)ละ 100 บาทต้น ๆ ซึ่งมองว่าไม่ใช่การจัดโปรโมชั่น เพราะถ้าเป็นโปรโมชั่น ก็แค่อาทิตย์เดียวก็น่าจะพอแล้ว แต่บางสาขา เปิดมา 3 เดือนแล้วราคาก็ยังอยู่ กก.ละ 104-107 บาท ขณะที่ราคาขายหน้าเขียงตามตลาดสดอยู่ที่ กก.ละ 150-160 บาท ผลคือ ทำให้บริษัทอื่น ๆ ต้องมาแข่งในราคาต่ำ เพราะต่างก็อ้างว่าถ้าราคาไม่ลง ก็ขายไม่ได้ จึงเป็นที่มาทำให้ต้องมีหนังสือออกมา เพราะเป็นราคาที่กลุ่มเกษตรอยู่ไม่ได้ จากมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นมาก ขายสินค้าได้ไม่คุ้มทุน

 

จับตา ”ไทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์ท” นัดคนเลี้ยงหมู ถกหาทางออก ให้หยุดขยายสาขา

“ความจริงในตอนนี้เราขายยังไม่ได้ค่าอาหารสัตว์เลย เพราะเกษตรกรรายย่อยต้นทุนสูงกว่าการเลี้ยงในบริษัท จากทุกอย่างเกษตรกรต้องซื้อของจากบริษัททั้งหมด แต่กลับนำสินค้ามาขายต่ำกว่าต้นทุนอีก เรียกว่า "ไทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์ท" ไปเปิดที่ไหน แม่ค้าพ่อค้าเขียง ก็ต้องเลิกไปโดยปริยาย อย่างในตอนนี้ “ไทยฟู้ดส์” เคยเชือดหมู กก.ละ 100 และไม่เกิน 120 กก.ต่อตัว แต่เกษตรกรรายย่อยทำไม่ได้ เพราะราคาหมูเข้าเลี้ยงก็ตัวละ 1,500 บาทแล้ว แต่บริษัทเลี้ยงและวัตถุดิบก็ซื้อในราคาถูก”

 

จับตา ”ไทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์ท” นัดคนเลี้ยงหมู ถกหาทางออก ให้หยุดขยายสาขา

นายเดือนเด่น กล่าวว่า การที่เกษตรกรขอร้องไปทางบริษัทฯ คือเรื่องการขอให้ชะลอการขยายสาขา เพราะตอนนี้มีการขยายทุกอำเภอ บางอำเภอมี 2 ร้าน ซึ่งในความจริงหากจะขยายเท่าไรไม่ว่า จะ 2 ที่ หรือ 3 ที่ ขออย่างเดียวอย่าทุ่มตลาดเกินไป หากไปเปิดที่ไหน เขียงหมูเคยซื้อจากชาวบ้าน/เกษตรกร นำไปเชือด ก็พอที่จะมีเงินค่าใช้จ่ายให้ลูกได้ไปเรียนหนังสือ แต่ตอนนี้เขียงขายเหมือนเดิม แต่จะเชือดหมูน้อยลง และหันไปรับชิ้นส่วนหมูจากบริษัทมาขายแทน

 

 

“ยกตัวอย่างขายเนื้อหมูให้คนทั่วไป ลูกค้าปกติ กก.ละ 107 บาท  แต่ถ้าไปส่งชิ้นส่วน ส่งเนื้อ ขายเขียงให้พ่อค้าราคา แค่ 80-90 บาท/กก. ก็ยิ่งดัมพ์ราคาไปใหญ่ ทำให้เรางงเอาหมูมาจากไหน ขายได้อย่างไรในราคานี้ ในขณะนี้ทางบริษัทลุยตลาดอีสานหนักเลย มากกว่าทุกภาคไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไร แล้วถ้าปักหมุดเปิดร้านที่ไหน แม้กระทั่งคนที่เคยเดินห้าง เพื่อไปซื้อเนื้อหมู ยังหันมาซื้อจากร้านไทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์ท  เพราะราคาถูกซื้อ 5 กิโลฯ ได้ราคาหนึ่ง แต่ถ้าซื้อ 10 กิโลฯ ได้อีกราคาหนึ่ง ก็ไม่รู้ว่าเขาเอาหมูที่ไหนมาขาย แล้วขายอย่างนี้ชาวบ้าน เกษตรกรจะอยู่ได้อย่างไร ถ้าเป็นอย่างนี้อีกไม่นานพวกเราคงสูญพันธุ์”

จับตา ”ไทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์ท” นัดคนเลี้ยงหมู ถกหาทางออก ให้หยุดขยายสาขา

นายเดือนเด่น กล่าวอีกว่า หากย้อนไปในช่วง ปี 2563 -2564 มีหมูป่วยตายเกษตรกรก็ขาดทุนกันเยอะแล้ว แล้วในช่วงนั้นรัฐบาลก็มีโครงการสานฝันให้เกษตรกรกู้เงินคนละ 1 แสนบาทให้มาเลี้ยงหมูต่อ กลับทำให้มีหนี้เพิ่ม คือวันนี้คนเลี้ยงหมู มีหนี้กันทุกครัวเรือน จะเลิกเลี้ยงหมูก็ไม่ได้ เพราะเป็นอาชีพทำกันมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี แต่วิกฤติที่โดนบริษัทมาทุ่มราคาในครั้งนี้สาหัสกว่าทุกครั้ง มากกว่าโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ซึ่งถ้าป้องกันได้ ส่วนที่เหลือยังขายได้ราคา แล้วในช่วงนั้นราคาดีมาก ขาย ณ หน้าฟาร์ม ราคา กก.ละกว่า 100 บาท

 

จับตา ”ไทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์ท” นัดคนเลี้ยงหมู ถกหาทางออก ให้หยุดขยายสาขา

"แต่ตอนนี้ไม่มีทางออกจริง ผมในนามตัวแทนเกษตรกรขอความเมตตามีที่เหลือให้ยืนบ้าง ถ้าจะขยายสาขาเราก็ไม่ได้ว่าเพราะเป็นการค้าเสรี แต่อย่าทุ่มตลาดเกินไป จากปกติพ่อค้าเป็นคนเสนอราคา กลายเป็นบริษัทเสนอราคาต่ำกว่าราคาหน้าฟาร์มเกษตรกร แล้วก็เปิดฟาร์ม ให้พ่อค้าสามารถคัดไซส์ได้อีก แล้วอย่างนี้เกษตรกรจะอยู่อย่างไร"

 

นายเดือนเด่น ยังได้วิเคราะห์ถึงต้นตอของปัญหานี้ คาดจะเป็นผลพวงต้นตอมาจากรัฐบาลประกาศห้ามส่งออกหมู เพราะกลัวหมูขาดแคลนในประเทศ ทำให้หมูค้างล้นในประเทศ จึงเป็นเหตุที่มาให้บริษัทต้องระบายสต๊อก แบบดัมพ์ราคาลงมา ทำให้เกษตรกรอยู่ไม่ได้ ทั้งที่ปัจจุบันราคาขายก็ขาดทุนอยู่แล้ว ยังมาโดนบริษัทซ้ำเติมไปอีกเด้งหนึ่ง ดังนั้นในวันที่ 2 สิงหาคมนี้ จะมีการประชุมหารือเพื่อหาทางออกร่วมกับบริษัทฯ เพื่อหาทางออกว่าจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร

 

อนึ่ง  ไทยฟู้ดส์ เฟรซ มาร์เก็ต อัพเดทพิกัดสาขาที่เปิดบริการทั้งหมด 287 สาขา

.

พิกัดไทยฟู้ดส์ เฟรซ มาร์เก็ต 4 ภาค ได้แก่

  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันตก
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ยกตัวอย่าง ภาคกลาง 

กรุงเทพมหานคร

1. สาขาตลาดนำเบอร์วัน

 เบอร์โทร 061-384-4304

https://goo.gl/maps/U6iqNUpHQJGcWBYN9

 

2. สาขาตลาดแม่ประคอง ลาดพร้าววังหิน

เบอร์โทร 061-385-3945

https://goo.gl/maps/MeEBni6THDxjV6dj8

 

3. สาขาตลาดจินดา

เบอร์โทร 065-291-2488

https://goo.gl/maps/dzHWMKGxDuW77BJx9

 

4. สาขาตลาดประชาอุทิศ 76

เบอร์โทร 081-140-0597

https://goo.gl/maps/dT3Dt1qmdhgLbxFNA

 

5. สาขาตลาดแสงศิริ เพชรเกษม 110

เบอร์โทร 0811400599

https://goo.gl/maps/SKjEnQJYn8XVwEf4A

 

6. สาขาตลาดเทพทิพย์ สายไหม ซอย 7

เบอร์โทร 081-140-0605

https://goo.gl/maps/JwhnRXkte8cRrLWd7

 

7. สาขาตลาดศิริผล รามอินทรา 67

เบอร์โทร 081-140- 0603

https://goo.gl/maps/2NoTShRzrVHnuvpi6

 

8. สาขาบ้านศิริสุข

เบอร์โทร 065-291-3435

https://goo.gl/maps/nJ9M9peuYUhMQzwi6

 

9. สาขาโชคชัย 4

เบอร์โทร 065-291-3439

https://goo.gl/maps/xgfaofKqZ9MMJGnK6

 

10. สาขาพัฒนาการ 20

เบอร์โทร 065-291-3453

https://goo.gl/maps/cCNvqmZHn8cNuUGL8