ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง

16 ส.ค. 2566 | 10:23 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ส.ค. 2566 | 10:23 น.

ปิดฉาก ส่งออกทุเรียนภาคตะวันออก พุ่งกว่า 6.5 แสนตัน ฟัน 8.5 หมื่นล้านสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อานิสงส์ค่าขนส่งทางเรือต่ำสุดรอบ 30 ปี ดันราคาสูงตลอดฤดูกาล หน้าสวนเฉลี่ยสูงกว่า 120 บาทต่อ กก. ขณะ "ลำไยภาคเหนือ" ราคาพุ่งรอบ 4 ปี โรงงานผลไม้กระป๋องเปิดศึกล้งแย่งซื้อ

ปิดฉากความสำเร็จการบริหารจัดการ “ทุเรียนภาคตะวันออก” ปี 2566 ไปเรียบร้อย ถือเป็นปีทองของเกษตรกรที่ราคายืนสูงตั้งแต่ต้นฤดูจนจบฤดูการผลิต (ก.พ.-พ.ค.) ยอดส่งออกทุบสถิติใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และในปี 2567 จะรักษามาตรฐานเพื่อรักษาตลาดส่งออกที่มีจีนเป็นตลาดใหญ่สุดไว้ได้อย่างเหนียวแน่นหรือไม่ เป็นความท้าทายของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ต้องเตรียมรับมือ

ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในปี 2566 ทุเรียนภาคตะวันออกมียอดการส่งออกสูงถึง 6.5 แสนตัน มูลค่ากว่า 8.5 หมื่นล้านบาท ถือเป็นสถิติใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่มูลค่าทุเรียนที่เกษตรกรขายได้กว่า 6.5 หมื่นล้านบาท (คำนวณจากราคาขายทุเรียนเฉลี่ย ณ ไร่นา กิโลกรัมละ 107.17 บาท)

 

ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง

ขณะที่ยอดรวมทั้งปีนี้ (ทุเรียนภาคตะวันออกรวมภาคใต้) คาดยอดการส่งออกประมาณ 1.09 ล้านตัน โดยผลผลิตภาคใต้ทั้งปี คาดโดยรวมประมาณ 598,837 ตัน ส่งออกประมาณ 479,070 ตัน มูลค่าที่เกษตรกรขายได้ 52.6 หมื่นล้านบาท (ราคาทุเรียนเฉลี่ย ณ ไร่นา กก.ละ 110 บาท) ดังนั้นเพื่อรักษาคุณภาพ และรักษาตลาด ยังคงมาตรการเดิมตาม “จันทบุรี โมเดล” คือมีการควบคุมคุณภาพตั้งแต่ต้นนํ้าถึงปลายนํ้า โดยมีมาตรการควบคุมคุณภาพทุเรียนตั้งแต่สวนถึงโรงคัดบรรจุ และบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

 

ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง

สำหรับในปี 2567 สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จะประกาศใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องหลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวม และโรงคัดบรรจุ ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับ หากเป็นไปตามแผนจะมีผลบังคับใช้ประมาณเดือนสิงหาคม 2567

 

ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง

ส่วนภาคใต้มีจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไขในปีหน้าคือ 1.ข้อกฎหมายด้านทุเรียนอ่อนของกระทรวงเกษตรฯไม่มีควบคุม ต้องอาศัยกฎหมายของฝ่ายปกครองจึงทำให้ยากต่อการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ 2. แผนงานและงบประมาณในการดำเนินการยังไม่ชัดเจนทำให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ดำเนินงานค่อนข้างลำบาก 3.บุคลาการในพื้นที่มีน้อยทำให้การดำเนินงานได้ล่าช้าและไม่ทั่วถึง และในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่แปลงทุเรียนเป็นแปลงขนาดเล็ก ทำให้ผู้ประกอบการไม่นิยมนำใบรับรอง GAP ไปใช้ในการส่งออก รวมทั้งเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากแปลงทุเรียนบางส่วนอยู่ในหุบเขา

ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง

 

นายระพีภัทร์ กล่าวอีกว่า จากการรับฟังความคิดเห็น ของผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ในจังหวัดจันทบุรี (เมื่อเดือน มิ.ย.) คาดการณ์ว่า ในระยะ 10 ปีนับจากนี้ ตลาดทุเรียนไทยในประเทศจีน ยังคงสดใสและคุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจากทุเรียนไทยเป็นที่นิยมของผู้บริโภค แต่ขอให้รักษามาตรฐานการผลิต โดยเกษตรกรและโรงผู้ประกอบการคัดบรรจุ ต้องเข้มงวดเรื่องคุณภาพผลผลิต โดยเฉพาะเรื่องศัตรูพืชที่ติดไปกับทุเรียนส่งออก และการไม่ตัดทุเรียนอ่อน และไม่ส่งออกทุเรียนด้อยคุณภาพอย่างเด็ดขาด

ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง

“ในปีงบ 2567 กรมวิชาการเกษตร มีเป้าหมายการตรวจรับรอง มาตรฐานการผลิตพืช 162,895 แปลง ภายใต้วงเงินที่เสนอของบประมาณ 251.02 ล้านบาท แต่ถ้าหากมีการถ่ายโอนภารกิจการตรวจรับรอง GAP และเกษตรอินทรีย์ทั้งระบบแล้ว เกษตรกรจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรองให้กับหน่วยรับรองเอกชน (CB) ไม่ตํ่ากว่า 1,000 ล้านบาท งบตรงนี้หากเป็นไปได้จะต้องเสนอของบอุดหนุนจากรัฐบาลเพื่อช่วยเกษตรกรดีกว่าการอุดหนุนในรูปแบบอื่น”

ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง

สอดคล้องกับนายสัญชัย ปุรณะชัยคีรี นายกสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย เผยว่า ปีนี้ทุเรียนภาคตะวันออก ยอดส่งออกสูงมาก จากปัจจัยบวกคือ 1.ปัญหาเรื่องการขนส่งปีนี้ไม่มีอุปสรรคเลย โดยเฉพาะทางเรือ ที่มีเรือจำนวนมาก ทำให้มีการแข่งขันด้านราคา ไม่มีพายุ ทำให้ไม่มีปัญหาความล่าช้า และค่าระวางเรือก็ถูกลงมาก จากที่ค้าขายผลไม้มารอบ 30 ปี ค่าระวางเรือ ณ ปัจจุบัน เหลืออยู่แค่ 700-800 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้ จากอดีตที่เคยสูงถึง 8,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้ ส่วนการขนส่งทางบก รถบรรทุกไม่มีปัญหาจรจาติดขัด 2.ทุเรียนภาคตะวันออกปีนี้ควบคุมคุณภาพได้ดีมาก ทำให้รสชาติดี เนื้อแห้ง ได้รับความนิยมในจีนสูง ส่งผลทำให้ทุเรียนไทยราคาไม่ตกเลยตลอดฤดูกาล ราคาหน้าสวน เฉลี่ย กก. ละไม่ตํ่ากว่า 120 บาท ขึ้นไป

ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง

ส่วน “ลำไย” ภาคเหนือ นายธนกฤต ต้นวัฒนากูล นายกสมาคมผู้ผลิตลำไยอบแห้งภาคเหนือ กล่าวว่า ราคาลำไยต้นฤดูสูงมาก (ประมาณปลายเดือนก.ค.) เกรด AA (จับโบ้) 39-40 บาท ต่อ กก. เป็นราคาที่สูงสุดในรอบ 4 ปี ผลจากจากโรงคว้าน โรงงานลำไยกระป๋องรับคำสั่งซื้อแล้วคาดการณ์ของจะน้อย โดยเฉพาะเกรด AA เลยซื้อราคาล่วงหน้านำไปก่อน

ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง

ในขณะนั้นโรงอบสัดส่วนกว่า 60% ก็ไม่ทำงาน เพราะเห็นว่าราคาลำไยสูงเกินไป แต่พอผ่านมา 2-3 สัปดาห์ ราคาเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ประมาณ กก.ละ 30 บาท เริ่มรับราคาได้โรงอบก็ทยอยเปิด มองในฐานะผู้ประกอบการก็มีความเสี่ยงในการขาย แต่ที่เกษตรกรบ่นว่าราคาตกเพราะนำราคาไปเทียบกับช่วงต้นฤดู

 

หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,914 วันที่ 17-19 สิงหาคม พ.ศ. 2566

 

ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง

อนึ่ง งานนิทรรศการ 5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทย และการก้าวไปในทศวรรษที่ 6 วันที่ 19 - 20 สิงหาคม 2566 เวลา 10.30 - 19.30 น. ณ เฮลิกซ์ การ์เด้น ชั้น 5 ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ถ.สุขุมวิท กรุงเทพฯ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >>> คลิกอ่าน

 

ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง

 

ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง

ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง

ปลื้ม! ทุเรียนตะวันออก ทำนิวไฮ ส่งออกพุ่ง 8.5 หมื่นล้าน ชาวสวนกระเป๋าตุง