"พาณิชย์"เตรียมรื้อใหญ่กฎหมายการค้า 4 ฉบับรับสถานการณ์การค้าโลก

28 พ.ย. 2566 | 02:05 น.
อัพเดตล่าสุด :28 พ.ย. 2566 | 02:39 น.

"พาณิชย์"เตรียมรื้อใหญ่กฎหมายการค้า 4 ฉบับรับสถานการณ์การค้าโลก เผยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ตั้งคณะทำงานศึกษาช่วงควิกวิน 100 วันแรก

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ กำลังเร่งปรับปรุงกฎหมายที่อยู่ในความดูแลทุกฉบับ เพื่อให้ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์การค้าโลก รวมถึงส่งเสริมซอฟต์ พาวเวอร์ 

ทั้งนี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้ตั้งคณะทำงานศึกษาแล้ว พบว่า ในช่วงควิกวิน 100 วันแรกของรัฐบาลนี้จะปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. รวม 4 ฉบับ จาก 28 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ,พ.ร.บ.สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) ,พ.ร.บ.สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย 
 

และ พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 หลังเปิดรับฟังความเห็นและนำมาสรุป ไม่ได้นิมิตเอง เพื่อเสนอ รมว.พาณิชย์ก่อนเสนอ ครม. เห็นชอบ แล้วนำเข้าสู่กระบวนการแก้กฎหมาย

สำหรับการแก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ จะยกระดับการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงให้มากขึ้น โดยคุ้มครองการบันทึกเสียงของนักแสดงด้วย จากเดิมที่คุ้มครองเฉพาะการแสดงสด เช่น กรณีนักร้อง เล่นคอนเสิร์ตบนเวที กฎหมายลิขสิทธิ์ไทยปัจจุบัน คุ้มครองสิทธิเฉพาะการแสดงสดบนเวที 

แต่หากมีการบันทึกคอนเสิร์ตแล้วนำมาขายต่อ นักร้องคนนั้นอาจไม่ได้รับค่าส่วนแบ่ง หรือไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ แต่การแก้ไขใหม่จะได้รับการคุ้มครองสิทธิครอบคลุมการบันทึกเสียงด้วย ซึ่งการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับสนธิสัญญาการแสดงและสิ่งบันทึกเสียง ภายใต้องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ไวโป) และสอดคล้องกับความตกลงหุ้น

ส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิกาค พ.ร.บ.จีไอ จะยกระดับการคุ้มครองสินค้า และตราสัญลักษณ์จีไอของไทย เพื่อทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในสินค้าจีไอไทยมากขึ้น ที่สำคัญผู้ใดที่แอบอ้างนำตราสัญลักษณ์ไปใช้ถือว่าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

รวมถึงมีผลดีต่อการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่ไม่ต้องกำหนดรายชื่อสินค้าจีไอที่ได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติม แต่คุ้มครองอัตโนมัติจากประเทศที่ไทยมีเอฟทีเอ ด้วย เช่น อียูที่ไทยอยู่ระหว่างเจรจา และอียู มีสินค้าจีไอจำนวนมาก ขณะที่ พ.ร.บ.นำเข้าฯ จะแก้ไขให้สามารถนำเงินสมทบของภาคเอกชนในกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมาใช้ส่งเสริมส่งออกได้เพิ่ม