วันที่ 2 มิถุนายน 2567 เวลา 8.30 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมของภาคธุรกิจไทย เพื่อรับมือกับผลกระทบของมาตรการทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และแนวโน้มด้านความยั่งยืนของโลก โดยเฉพาะกับคนตัวเล็กและ SMEs ของไทย ที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน GDP และเศรษฐกิจของประเทศ
ล่าสุดได้รับรายงานจาก นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ดำเนินการสำรวจเกี่ยวกับมาตรการทางสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับด้านการค้าจากทั่วโลก ซึ่งนายภูมิธรรมได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาการค้าตามระเบียบการค้าโลกใหม่
และสั่งการให้จัดทำคลังความรู้ “พาณิชย์คิดค้า อย่างยั่งยืน” เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการทำธุรกิจ เผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจ อาทิ การดำเนินธุรกิจและการค้าที่ยั่งยืน เทรนด์การค้า กฎระเบียบของไทยและคู่ค้าสำคัญที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลกิจกรรม สัมมนา และงานแสดงสินค้า หลักสูตรการเรียนรู้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ และข้อมูลสินค้าและร้านค้าที่สนับสนุนความยั่งยืน
ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการให้เข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้ในการเรียนรู้ ปรับตัว และแสวงหาโอกาสทางการค้าจากความยั่งยืน ณ จุดเดียว ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีแผนจะเปิดตัวเร็วๆ นี้ บน www.คิดค้า.com
โดย สนค. ระบุว่า ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและให้ความสนใจกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งทางด้านสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ทำให้ส่งผลต่อนโยบายด้านการค้า ซึ่งหลายประเทศนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแพร่หลาย เช่น
โดยมีกฎระเบียบหรือมาตรการที่เกี่ยวข้อง อาทิมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) เพื่อลดความได้เปรียบด้านต้นทุนของสินค้าที่ผลิตในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าสินค้าที่ผลิตจากประเทศที่มีมาตรการจัดการกับก๊าซเรือนกระจก
ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 และปัจจุบันยังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยจะเริ่มเก็บภาษีกับผู้นำเข้าในวันที่ 1 มกราคม 2569 ในสินค้าไฟฟ้าซีเมนต์ ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และไฮโดรเจน
เพื่อส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า และลดการมีส่วนร่วมของอียู ในการตัดไม้ทำลายป่าและทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของป่าทั่วโลก ครอบคลุมสินค้า 7 รายการ ได้แก่ วัว ไม้ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง กาแฟ โกโก้ และยางพารา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่มิถุนายน 2566
ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านเช่นกัน โดยมีระยะเวลา 18 เดือน สำหรับผู้ประกอบการทั่วไป (ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2567)และระยะเวลา 24 เดือน สำหรับผู้ประกอบการ SMEs (ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568)
กำหนดให้ธุรกิจในอียูรวมถึงบริษัทจากประเทศที่สามที่ทำธุรกิจในอียู ที่มีจำนวนพนักงานไม่น้อยกว่า 1,000 ราย และมีรายได้จากทั่วโลกไม่น้อยกว่า 450 ล้านยูโรต่อปี ต้องจัดทำรายงานสอบทาน (Due Diligence) ความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
ซึ่งผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าไปอียูจะต้องเตรียมพร้อมในการให้ข้อมูลกับผู้นำเข้าฝั่งอียูเพื่อประกอบการจัดทำรายงานการสอบทานดังกล่าว
ครอบคลุมสินค้าที่จำหน่ายทั้งหมดที่ผลิตในอียูเพื่อการบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก และสินค้านำเข้า โดยจะห้ามจำหน่ายสินค้าที่มาจากแรงงานบังคับในตลาดอียู รวมทั้งห้ามนำเข้าส่งออกด้วย
ทั้งนี้ หลังจากที่รัฐสภายุโรปได้อนุมัติกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้ว จะมีการประกาศในรัฐกิจจานุเบกษาของสหภาพยุโรป ทำให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ จากนั้นประเทศสมาชิกอียูจะต้องออกกฎหมายภายใน โดยคาดว่าจะเริ่มใช้ในอีก 3 ปีข้างหน้า
ภาคธุรกิจไทยต้องเร่งปรับตัวสู่ความยั่งยืน
นอกจากอียูแล้ว อีกหลายประเทศก็มีนโยบายในการออกกฎหมายหรือมาตรการทางการค้าเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และแคนาดา มีแนวคิดจะใช้มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนเช่นกัน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ภาคธุรกิจไทยจะต้องเร่งปรับตัวสู่ความยั่งยืน ซึ่งเป็นกระแสหลักของโลก
ยิ่งไปกว่านั้น ไทยยังเป็นประเทศเกษตรกรรมและประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลก มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้กับสาขาเกษตรกรรม ย่อมส่งผลกระทบอย่างแน่นอน
ไทย เดินหน้าร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างกลไกรับมือปัญหาสิ่งแวดล้อม
ขณะนี้ ไทยอยู่ระหว่างจัดทำ ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ..... ที่จะเป็นกลไกส่งเสริมการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างแน่นอน ถ้าเริ่มเรียนรู้ ปรับตัวเพื่อแสวงหาโอกาสจากกระแสดังกล่าว และเตรียมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น อาทิ ปรับปรุงกระบวนการผลิตสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงาน ก็จะเป็นแต้มต่อ ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจด้วย