"รพีภัทร์" อัปเดทคืบหน้าเทคโนโลยีจีโนม จ่อเสนอรัฐมนตรีเกษตรฯ ลงนาม

12 มิ.ย. 2567 | 10:03 น.

“รพีภัทร” อธิบดีกรมวิชาการเกษตรอัปเดทคืบหน้าเทคโนโลยีจีโนม เตรียมส่งร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และร่างประกาศกรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง เสนอรัฐมนตรีเกษตร ลงนามภายในเดือน ก.ค.นี้

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยว่า ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงวิสัยทัศน์แนวทางการขับเคลื่อนภาคเกษตร IGNITE AGRICULTURE HUB จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเกษตร และอาหารของโลก เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 โดยร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับนโยบายมาตรการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการเพื่อสนับสนุนภาคเกษตร ในการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ และเร่งศึกษาการใช้เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (Genome Editing, GEd)

 

รพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์

กรมวิชาการเกษตรจึงได้จัดประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพด้านการเกษตรกรมวิชาการเกษตรเพื่อพิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนเทคโนโลยี จัดทำร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และร่างประกาศกรมวิชาการเกษตรเพื่อรองรับการพัฒนาพันธุ์พืช สัตว์ ประมง จากเทคโนโลยีปรับแต่งจีโนม คาดว่าจะเสนอต่อรัฐมนตนีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และสามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ทันต่อการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568

 

 

\"รพีภัทร์\" อัปเดทคืบหน้าเทคโนโลยีจีโนม จ่อเสนอรัฐมนตรีเกษตรฯ ลงนาม

นางปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กล่าวว่า เทคโนโลยี Genome Editing เป็นเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูงและได้รับการยอมรับในองค์กรนานาชาติ (FAO, OECD) เพื่อการขับเคลื่อนเทคโนโลยีในประเทศ จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจ การผลักดันงานวิจัยและพัฒนาด้วยเทคโนโลยีGEd สำหรับรองรับภาวะวิกฤตคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพด้านการเกษตรกรมวิชาการเกษตร จะพิจารณาร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และร่างประกาศกรมวิชาการเกษตร และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

\"รพีภัทร์\" อัปเดทคืบหน้าเทคโนโลยีจีโนม จ่อเสนอรัฐมนตรีเกษตรฯ ลงนาม

นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งใน และต่างประเทศ ในการถ่ายทอดความรู้ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพให้ทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร และเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อคิดเห็นได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

\"รพีภัทร์\" อัปเดทคืบหน้าเทคโนโลยีจีโนม จ่อเสนอรัฐมนตรีเกษตรฯ ลงนาม

การประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพด้านการเกษตรกรมวิชาการเกษตร เพื่อดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ตามมาตรการจขับเคลื่อนมาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและความยั่งยืน การดำเนินการด้านพันธุ์พืช โดยการใช้เทคโนโลยีการปรับแต่ง และแก้ไขยีน Gene Editingจะดำเนินงานโดยการบูรณาการร่วมกันของหลายหน่วยงาน อาทิ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมหม่อนไหม และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเน้นย้ำว่า การจัดประชุมในวันนี้ เพื่อระดมความคิดของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัย ให้ทัดเทียมนานาประเทศ รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมในภาคการเกษตรทั่วโลก (พืช/ประมง/ปศุสัตว์) แนวทางการพิจารณาเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม โดยคณะกรรมการเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ การดำเนินงานด้านเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมของกรมวิชาการเกษตร (ด้านงานวิจัย/ด้านการกำกับดูแล/ด้านสร้างการรับรู้)

\"รพีภัทร์\" อัปเดทคืบหน้าเทคโนโลยีจีโนม จ่อเสนอรัฐมนตรีเกษตรฯ ลงนาม

ทั้งนี้เพื่อจัดทำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการปรับปรุงพันธุ์สิ่งมีชีวิตทางการเกษตรด้วยเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ (New breeding Technique)ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขใน การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ (New breeding Technique) เพื่อนำไปสู่ท่าทีที่ชัดเจนของประเทศไทย ในด้านเทคโนโลยี GEd ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมที่จะขับเคลื่อนเทคโนโลยี GEd อย่างเป็นรูปธรรม ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป