วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบร่างการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำทั้งหมด 7 มาตรการ ทั้งระยะสั้น-กลาง-ยาว วงเงิน 450 ล้านบาท โดยคาดว่าปัญหานี้จะหมดไปในปี พ.ศ. 2570
- มาตรการแรก เร่งจับปลาหมอคางดำในแหล่งแพร่ระบาด คาดว่าจะสามารถลดปริมาณได้ 4 ล้านกิโลกรัม หรือ 4,000 ตัน ภายใน 2 ปี หรือ กลางปี 68
- มาตรการที่สอง เมื่อปริมาณปลาหมอคางดำลดลง ปล่อยปลาผู้ล่า เช่น ปลากะพง
- มาตรการที่สาม นำปลาหมอคางดำที่จับได้มาแปรรูปเป็นปุ๋ยหมัก ปลาร้า ปลาป่น เพื่อไม่ให้สูญเปล่า นำมาใช้ประโยชน์ได้
- มาตรการที่สี่ ป้องกันการแพร่กระจายข้ามแหล่งน้ำ
- มาตรการที่ห้า ให้ความรู้ประชาชน การสังเกต ระวังและป้องกันสัตว์น้ำต่างถิ่นเข้ามาคุกคาม
- มาตรการที่หก เป็นแผนระยะกลางและระยะยาว โดยใช้เทคโนโลยีเหนี่ยวนำโครโมโซมของปลาหมอคางดำ จาก 2 N เป็น 4 N ระงับการแพร่พันธุ์
- มาตรการที่เจ็ด แหล่งน้ำที่โดนปลาหมอคางดำคุกคามทำให้ระบบนิเวศน์เสียหาย กรมประมงจะนำสัตว์น้ำประจำถิ่นที่ถูกทำลายคืนถิ่น ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่โดยทำลายไป