วันนี้ ( 10 ตุลาคม 2567 ) นายวาทิตร รักษ์ธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน กันยายน 2567 ปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 48.8 จากเดือน สิงหาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 50.2 เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือนนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 เป็นต้นมา
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 48.8 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมอยู่ที่ 52.7 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 64.4
โดยปัจจัยลบในเดือน กันยายน 2567 มาจาก 4 เรื่องหลัก ได้แก่
ทั้งนื้ ก็มีปัจจัยบวก เรื่องรัฐบาลดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 10,000 บาท ให้กลุ่มเปราะบางรวม 14.55 ล้านคน ขณะที่มติเห็นชอบขยายเวลาคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ไว้ที่ 7% ต่ออีก 1 ปี เพื่อส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้น หลังจากเปิดประเทศยกเว้นยื่นวีซ่านักท่องเที่ยว ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายตัวปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น ทำให้กำลังซื้อในต่างประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ Set Index ในเดือนกันยายน 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 89.76 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,359.07 ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2567 เป็น 1,448.83 ณ สิ้นเดือนกันยายน
รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัวช้าและค่าครองชีพสูง รงมถึงสงครามรัฐเซียและยูเครน กับอิสราเอลกับฮามาสในฉนวนกาซาที่ยังคงยึดเยื้อ ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานในอนาคต โดยยังมีโอกาสบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ขณะที่ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากระดับ 40.4 เป็น 39.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวลดลงจากระดับ 64.3 มาอยู่ที่ระดับ 63.1 การที่ศัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมาปรับตัวลดลงต่อเนื่อเป็นเดือนที่ 7 ทุกรายการ แสดงว่า ผู้บริโภคยังไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ แม้ว่าจะมีมาตรการแจกเงินคนละ 10,000 บาทออกมาแล้วก็ตาม เนื่องจากสถาการณ์น้ำท่วมทำให้ภาพบรรยากาศการใช้จ่ายไม่คึกคัก
อย่างไรก็ตาม จากประเมินสถานการณ์อุทกภัยปี 2567 คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่าประมาณ 36,929 ล้านบาท โดยมีสมมติฐานว่าสถานการณ์จะคลี่คลายภายใน 15 วัน จากการวิเคราะห์พบว่าการภาคเกษตรได้รับผลกระทบมากที่สุด คิดเป็น 74.3% รองลงมาคือ ภาคบริการ และภาคอุตสาหกรรม มูลค่าความเสียหายนี้คิดเป็น 0.21% ของ GDP ภาพรวมมี 36 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบโดยเชียงรายเสียหายมากที่สุด รองลงมาคือ เชียงใหม่ และพะเยา