กรมส่งเสริมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีอัตราการเติบโต GDP อยู่ที่ 6-7% ต่อปี โดยมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยในการผลักดันการเติบโต GDP ได้แก่ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI ) GDP และ การขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม ส่งผลให้รายได้ต่อหัวของประชากรเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากประมาณ 400 ดอลลาร์/คน/ปี ในปี 2543 เพิ่มสูงขึ้นเป็นมากกว่า 3,500 ดอลลาร์/คน/ปี ในปี 2566 ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคในเวียดนามเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์เวียดนาม ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจเวียดนาม โดยมีสัดส่วนต่อ GDP ในเวียดนาม 3-4% และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อุตสาหกรรมยานยนต์ยังสร้างโอการจ้างงานตั้งแต่การผลิต การประกอบ การขายไปจนถึงการขนส่ง ทำให้ประชากรที่เป็นแรงงานสำคัญสำคัญของประเทศมีแหล่งรายได้ ส่งผลให้อุตสาหกรรมนี้มีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม
ขณะเดียวกัน นอกจากเวียดนามเป็นฐานการผลิตและประกอบรถยนต์ให้กับบริษัทผู้ผลิตจากต่างประเทศหลายราย เวียดนามยังมีรถยนต์ "Vinfast" ซึ่งประกอบในเวียดนาม และขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศด้วย การเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเวียดนามได้กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรม สนับสนุนต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก พลาสติก และอิเล็กทรอนิกส์ การนำเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงมาใช้ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตและยกระดับมาตรฐานคุณภาพของอุตสาหกรรมในเวียดนามมากขึ้น
ขณะที่ เวียดนามยังถือเป็นตลาดเกิดใหม่สำหรับธุรกิจยานยนต์ เนื่องจากเวียดนามยังมีสัดส่วนผู้มีรถยนต์เป็นจำนวนน้อย เทียบจำนวนผู้ที่ต้องการมีรถยนต์เป็นของตนเอง เพราะผู้บริโภคเวียดนามยังเห็นว่า การซื้อรถยนต์เป็นการลงทุนที่สูงของครอบครัว และจากการสำรวจผู้บริโภคชาวเวียดนามที่วางแผนซื้อรถยนต์คันใหม่มีเพียง 34% ที่เลือกชื้อรถยนต์ไฟฟ้า
สำหรับตลาดรถยนต์เวียดนามกำลังเติบโต สะท้อนถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจในประเทศและภูมิภาคปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโตนี้ ได้แก่ การขยายตัวของกลุ่มประชากรรายได้ปานกลาง กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นและการพัฒนาเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง จากปี 2560 ถึง 2565 อุตสาหกรรมยานยนต์ของเวียดนามมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 9.1% ต่อปี และในปี 2565 รายได้รวมของอุตสาหกรรมสูงถึง 14 พันล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม ในปี 2566-2567 ตลาดรถยนต์เวียดนามเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ เนื่องจากยอดขายลดลงอย่างมาก เป็นผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวน และการสิ้นสุดของนโยบายลด ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนรถยนต์ โดยในปี 2567 พบว่า ยอดทางรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ลดลง 40% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2567 และลดลง 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ต่ำสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายในประเทศต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน
ทั้งนี้ การเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดเวียดนามตลาดรถยนต์ของเวียดนานกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนเปลงครั้งใหญ่จากการเศรษฐกิจทำให้การเพิ่มขึ้นของรายได้ภายหลังหักภาษี ของครัวเรือนในเวียดนามเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคเวียดนามสามารถซื้อหาสินค้าที่ตอบสนองความสะดวกสบายมากขึ้น ต้องการซื้อรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลมากขึ้น ประกอบกับการขยายตัวของเมืองยังช่วยเร่งความต้องการถยนต์ส่วนบุคคลและสถานะทางสังคมที่มาพร้อมกับการเป็นเจ้าของรถ ทำให้ผู้บริโภคมีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงในเขตเมืองของเวียดนามหันมาซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน แม้ว่าปัจจุบัน เวียดนามมียอดขายรถยนต์เฉลี่ยอยู่ที่ปีละประมาณ 230,000 คัน เทียบกับยอดขายรถยนต์ในประเทศไทยที่มียอดขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 770,000 คันต่อปี หรือมากกว่าประมาณ 3.34 เท่า
ขณะที่ ประชากรเวียดนามมีกว่า 100 ล้านคน มากกว่าจำนวนประชากรของประเทศไทยที่มีประมาณ 66 ล้านคน ทำให้เวียดนามยังเป็นตลาดที่มีโอกาสขยายตัวของรถยนต์ส่วนบุคคลอีกมาก คาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในเวียดนามมีการเติบโต ประมาณการยอดขายรถยนต์ในเวียดนามจะสูงถึง 750,000 - 800,000 คันภายในปี 2568
นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าในปี2566 - 2575 ตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ของเวียดนามจะยังเติบโตในอัตราเฉลี่ย (CAGR) ที่ 12.6% ตามการเติบโตของตลาดรถยนต์เวียดนาม ซึ่งอัตราการครอบครองรถยนต์ต่อหัวในเวียดนามยังคงอยู่ในอัตราต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ทำให้เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่ตลาดรถยนต์เติบโตเร็วที่สุดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา คาดการณ์ว่าภายในปี 2568 ครัวเรือนเวียดนามจะมีอัตรการเป็นเจ้าของรถยนต์อยู่ที่ 9% ซึ่งใกล้เคียงกับอินเดีย และฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน และภายในปี 2573 อัตรานี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 30%
ทั้งนี้ สำหรับการนำเข้ารถยนต์ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน (ATIGA) ระหว่างปี 2565 - 2570 กำหนดอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์ประกอบสำเร็จ (CBU) ที่ผลิตในประเทศสมาชิกอาเซียน และเป็นไปตามเงื่อนไขถิ่นกำเนิดสินค้าและได้รับหนังสือรับรองจะมีภาษีนำเข้า 0% ถือเป็นข้อได้เปรียบสำคัญของไทยในการส่งออกรถยนต์ไปยังตลาตเวียดนาม โดยในปี 2566 กรมศุลกากรเวียดนาม รายงานว่า ภาพรวมแล้วทั้งประเทศมีการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปทุกชนิดอยู่ที่ 76,291 คัน โดยมีมูลค่าซื้อขายรวมอยู่ที่ 1,785 พันล้านดอลลาร์ และมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้น 52%
อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2566 ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่เวียดนามนำเข้ารถยนต์มากที่สุด จำนวนกว่า 32,373 คัน ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ประมาณ 678.2 ล้านดอลลาร์ ราคารถยนต์ที่นำเข้ามาจากไทยโดยเฉลี่ยประมาณคันละ 21,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 500 ล้านดองต่อคัน และรุ่นของรถยนต์ที่นิยมนำเข้ามา เช่น Toyota Corolla Cross, Ford Everest, Ford Ranger, Honda HR