ค่าเช่าคลังสินค้าเอเชีย-แปซิฟิกขยับขึ้น 2.4% ไทยแนวโน้มดีคาดโต 5-6% ต่อปี

29 ก.ย. 2567 | 03:43 น.
อัพเดตล่าสุด :29 ก.ย. 2567 | 03:50 น.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า รายงาน สถานการณ์ค่าเช่าคลังในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครึ่งปีแรกของปี 67 ราคาปรับสูงขึ้น 2.4% ด้านปักกิ่ง เชี่ยงไฮ้ลดลงค่าเช่าอย่างต่อเนื่อง เหตุอัตราว่างคลังสินค้าเพิ่มสูงขึ้น 20% ขณะที่ไทย มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า รายงานว่า สถานการณ์ค่าเช่าพื้นที่ของกิจกรรมโลจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในครึ่งปีแรกของปี 2567 จากการสำรวจในเมืองเศรษฐกิจสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ สิงคโปร์ เขตเศรษฐกิจพิเศษเวียดนามตอนใต้ เมลเบิร์น บริสเบน มะบิลา จาการ์ตา ไทเป กรุงเทพมหานคร กัวลาลัมเปอร์ โอ๊คแลนด์ ซิดนีย์ ฮ่องกง ปักกิ่ง และเซี่ยงไฮ้ มีทิศทางการปรับราคาค่าเช่าอาคารคลังสินค้าในภูมิภาคสูงขึ้น โดยสูงขึ้นเฉลี่ย 2.4% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว แต่ถือว่าลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่ค่าเช่าเพิ่มขึ้น 62% จากปีก่อนหน้า 

ทั้งนี้ การหดตัวของราคาค่าเช่าคลังสินค้าในเอเซีย-แปซิฟิก เกิดจากการลดลงของกิจกรรมทางธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ค่าเช่าในปักกิ่งและเชี่ยงไฮ้ลดลงอย่างต่อเนื่อง และอัตราว่างของโกดังหรือคลังสินค้าในตลาดเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20% ส่งผลให้เจ้าของทรัพย์สินในจีนต้องลดค่าเช่าลง และสนอสัญญาเช่าระยะสั้นเพื่อดึงดูดผู้เช่า 

นอกจากนี้ คาดว่าสถานการณ์ค่าเช่าในจีนน่าจะหดตัวลดต่ำลงอีก จากการมีคลังสินค้าใหม่จำนวนมากที่กำลังจะสร้างแล้วเสร็จและเปิดตัวในปีนี้ ในทางกลับกัน ค่าเช่าคลังสินค้าในตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คงที่หรือเพิ่มขึ้น เช่น ค่าเช่าคลังสินค้าในกรุงเทพมหานครคงที่ 

ขณะที่ ค่าคลังสินค้าในสิงคโปร์สูงที่สุดในภูมิภาคและสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 6 เดือน ตั้งแต่ต้นปี 2567 เนื่องจากผู้ผลิต และผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศยังคงเชื่อมั่น และมองว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์มีแนวโน้มที่จะขยายตัว โดยแม้ว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกมีความท้าทายและมีการแบ่งขึ้นสูงขึ้นแต่ความต้องการเช้าพื้นที่คลังสินค้ายังคงอยู่ในระดับสูง 

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการธุรกิจบางรายในสิงคโปร์ได้พิจารณาซื้อพื้นที่โกดังแทนการเช่า เพื่อรับมือกับคำเซ่าที่เพิ่มขึ้น และรักษาความมั่นคงในระยะยาวแทนการเช่า

ทั้งนี้ แนวโน้มธุรกิจคลังสินค้าในไทยธุรกิจคลังสินค้ามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจโลจิสติกส์ คลังสินค้ามีเพื่อการจัดเก็บวัตถุดิบ ชิ้นส่วนรอการผลิตสินค้าสำเร็จรูป คลังสินค้ายังเป็นจุดบรรจุสินค้า เปลี่ยนถ่ายสินค้า รับคืนสินค้า และอื่น ๆ ธุรกิจคลังสินค้าจึงมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการดำเนิบงานของธุรกิจ ตั้งแต่การผลิต การกระจายสินค้า การจำหน่าย และการขนส่ง 

ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่าจำนวนนิติบุคคลธุรกิจคลังสินค้าในไทยที่ยังดำเนินกิจการอยู่สะสม ณ เดือนสิงหาคม 2567 อยู่ที่ 924 ราย ประกอบด้วยธุรกิจเกี่ยวกับคลังสินค้าและการจัดเก็นสินค้าอื่น ๆ เช่น การมริการจัดเก็บสินค้าและสถามที่เก็บสินค้าที่เป็นของเหลวและก๊าซรวมถึงกิจกรรมที่พักสินค้าจากต่างประเทศ กิจกรรมเขตปลอดภาษีและฟรีไซน และคลังสินค้ากัณฑ์บน มีนิติบุคคลจำนวน 669 ราย มีสัดส่วนมิติบุคคลสัญชาติไทยอยู่ที่ประมาณ 76.13% และนิติบุคคลต่างชาติอยู่ที่ประมาน 23.87% แบ่งออกเป็น 

  • ธุรกิจที่เกี่ยวกับคลังสินค้าและการจัดเก็บสินค้าแช่เย็นหรือแซ่แข็ง มีนิติบุคคลจำนวน 215 ราย มีสัดส่วนนิติบุคคลสัญชาติไทยอยู่ที่ประมาณ 90.43% มีสัดส่วนนิติบุคคลต่างชาติอยู่ที่ประมาณร้อยละ 957
  • ธุรกิจที่เกี่ยวกับคลังสินค้าและการจัดเก็นสินค้าธัญพืช มีนิติบุคคลจำนวน 40 ราย โดยเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยทั้งหมด

แนวโน้มธุรกิจให้เช่าคลังสินค้าในไทยปี 67-68

จากข้อมูลวิจัยกรุงศรี เผยว่า ปี 2567-2568 ความต้องการเช่าพื้นที่คลังสินค้าในไทยโดยรวมคาดว่าจะเติบไตได้อย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 

  • คลังสินค้าทั่วไป ความต้องการเช่าพื้นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้มขึ้นเฉลี่ย 56% ต่อปี เป็นผลมาจากเศรษฐกิจมีทิศางพื้นตัวดีขึ้นและธุรกิจคลังสินค้าได้อานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวจากการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาไทย42 ล้านคน 

นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากการลงทุนและการพัฒนาโครงการในมีคนอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในเขต EECโดยผู้ประกอบการมีแนวโน้มขยายการลงทุนในคลังสินค้าแบบสำเร็จรูปพร้อมใช้ที่สร้างตามคำสั่งลูกค้า และคลังสินค้าพร้อมส่งเพื่อขยายฐานลูกค้าทั้งในประเทศและภูมิภาคใกล้เคียง

  • คลังสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็ง: ความต้องการใช้บริการเช่ามีแนวโน้นเพิ่มขึ้น เป็นผลจากความต้องการสินค้ากลุ่มอาหารและการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารที่เพิ่มขึ้น เช่น คลังสินค้าห้องเย็นในโครงการระเบียงผลโม้ภาคตะวันออก คลังสินค้าและศูนย์กลางกระจายสินค้าเกษตรในท่าอากาศยาน
  • คลังสินค้าธัญพืช ความต้องการใช้บริการจะผันผวบตามผลผลผลิตเกษตรและสภาพอากาศ เช่น ภาวะเอลนีโญส่งผลให้ผลผลิต มีแนวโน้นลดลง โดยเฉพราะปี 2567-2568 

อย่างไรก็ตามในช่วงที่มีการแข่งขันรับซื้อผลผลิตเพื่อสะสมเป็นสต็อกในการส่งออกอาจทำให้ความต้องการใช้บริการคลังสินค้ารัญพืชเพิ่มขึ้นข้อเสนอแนะสำหรับผู้ประกอบการ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ บริหารต้นทุนควบคู่กับการปรับตัวสู่ความยั่งยืน

1. ปรับรูปแบบเป็นคลังสินค้าสมัยใหม่ระบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มการบริหารจัดการพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เทคโนโลยีในระบบจัดการต่าง ๆ เช่น การจัดวางสินค้าการลำเลียงสิบค้า เพื่อบริหารต้นทุนและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

2. พัฒนาธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนหรือ ESG เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสอดรับกับเทรนด์ความต้องการของลูกค้าในตลาดโลก