"นฤมล" มอบนโยบายขับเคลื่อนกรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 57 ปี

20 ต.ค. 2567 | 06:19 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ต.ค. 2567 | 06:22 น.

ก้าวใหม่ “กรมส่งเสริมการเกษตร” รัฐมนตรีเกษตรฯ มอบนโยบายขับเคลื่อน ครบรอบ 57 ปี เน้นทำเกษตรมูลค่าสูง ดึงเกษตรกรรุ่นใหม่มีบทบาทมากขึ้น อธิบดีฯ เล็งพลิกโฉมเกษตรไทย หลังพบ มีเกษตรกรกว่า 8 ล้านคน อายุเฉลี่ยกว่า 50 ปี ดันนโยบายเกษตรสมัยใหม่ ผ่านนักส่งเสริมการเกษตรทั่วประเทศ

\"นฤมล\" มอบนโยบายขับเคลื่อนกรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 57 ปี

นางนฤมลภิญโญ สินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยภายหลังมอบนโยบายและเปิดงานสัมมนาแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2568 และร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมการเกษตรครบรอบ 57 ปีในวันที่ 21 ตุลาคม 2567  กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรมีบทบาทและภารกิจสำคัญซึ่งถือเป็นหน่วยงานหลักที่มีภารกิจหลากหลายครอบคลุมการดูแลและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

 

\"นฤมล\" มอบนโยบายขับเคลื่อนกรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 57 ปี

 

ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการผลิตการพัฒนาเทคโนโลยีหรือการบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผ่านมาที่เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังในการสำรวจและรายงานข้อมูลความเสียหายของพื้นที่การเกษตรรวมถึงการออกเยี่ยมเยียนให้กำลังใจแก่พี่น้องเกษตรกร

 

\"นฤมล\" มอบนโยบายขับเคลื่อนกรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 57 ปี

สำหรับการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2568 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มุ่งเน้นการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวกับการเกษตรโดยนโยบายหลักที่มุ่งเน้นคือการยกระดับเกษตรดั้งเดิมให้เป็นเกษตรสมัยใหม่ตามแนวคิด “ตลาดนำนวัตกรรมเสริมเพิ่มรายได้” รวมถึงฟื้นฟูนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” และการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกร

อย่างไรก็ตามยังพร้อมสานต่องานของร้อยเอกธรรมนัสพรหมเผ่าอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อให้การทำงานสามารถขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่องและพร้อมพัฒนาแนวทางตามสถานการณ์ของประเทศซึ่งได้ให้ความสำคัญใน 2 ประเด็นสำคัญคือ

 

1. เกษตรมูลค่าสูงที่เป็นภารกิจสำคัญของกรมส่งเสริมการเกษตรทั้งในเรื่อง Smart Agriculture การทำเกษตรแม่นยำการส่งเสริมด้านการเพาะปลูกรวมไปถึงการแปรรูปเพื่อต่อยอดการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรเป็นต้น

\"นฤมล\" มอบนโยบายขับเคลื่อนกรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 57 ปี

2. การทำเกษตรแบบยั่งยืนที่สอดคล้องกับทิศทางของโลกในปัจจุบันโดยให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืนของอาหารและความยั่งยืนของภาคเกษตรโดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเสริมให้มีการจัดการทรัพยากรทางการเกษตรโดยทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Go Green) ด้วย BCG และ Carbon Credit รวมทั้งการแก้ปัญหา PM 2.5 ที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศและส่งผลกระทบในหลายด้านต้องเร่งรัดแก้ไขปัญหาและลดการเผาในพื้นที่การเกษตรให้ได้มากที่สุด

\"นฤมล\" มอบนโยบายขับเคลื่อนกรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 57 ปี

นอกจากนี้ส่งเสริมเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เข้ามาในภาคเกษตรมากขึ้นต่อยอดขยายผลเพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้ามาขับเคลื่อนภาคการเกษตรอย่างไรก็ตามด้วยภารกิจที่หลากหลายของกรมส่งเสริมการเกษตรจึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอให้ความสำคัญกับ "การทำงานเชิงรุกบูรณาการร่วมมือและมีส่วนร่วม" ของทุกภาคส่วนซึ่งเชื่อมั่นในศักยภาพของกรมส่งเสริมการเกษตรในการขับเคลื่อนงานพัฒนาการเกษตรให้ก้าวหน้าและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร  กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกว่า 150 ล้านไร่ เกษตรกรมากกว่า 8 ล้านคน มีอายุเฉลี่ยมากกว่า 50 ปี ล้วนเป็นความท้าทายที่ต้องเผชิญ ดังนั้นแผนงานสำคัญที่จะขับเคลื่อนในปีงบประมาณ 2568 เพื่อยกระดับการเรียนรู้ของเกษตรกรเพื่อมุ่งเน้นการเปลี่ยนพฤติกรรม โดยนักส่งเสริมการเกษตรจะต้องมีข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ วิจัยพัฒนาไปสู่เป้าหมาย รักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

\"นฤมล\" มอบนโยบายขับเคลื่อนกรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 57 ปี

โดยการทดลอง ทดสอบ แก้ไขปัญหา สร้างสังคมเกษตรแห่งการเรียนรู้ และ Renewable ใช้การจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อไปสู่ 3 แนวคิดหลักที่จะปรับโฉมภาคเกษตรไปสู่อนาคต ได้แก่ 1. เกษตรกรจะต้องปรับตัวปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง (Adaptive Advantage) ใช้แนวคิดเกษตรกรรมยั่งยืนและระบบการเกษตรที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 2. เปลี่ยนใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยการผลิตภาคเกษตร เพื่อให้เกิดความได้เปรียบและเหมาะสมกับพื้นที่ (Labor Intensive to Science and Technology Intensive) รองรับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจการเกษตร (Transformer Agriculture) 3. ปรับจากพืชเชิงเดี่ยวไปสู่พืชที่หลากหลายเพื่อให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น Single Crop Patterns to Integrate Precision Farming โดยใช้เกษตรแม่นยำ

\"นฤมล\" มอบนโยบายขับเคลื่อนกรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 57 ปี

การขับเคลื่อนจะต้องใช้ 5 กลยุทธ์สำคัญในการช่วยขับเคลื่อน ได้แก่ 1. คนหรือเกษตรกร สร้างทักษะเกษตรกรและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทุกช่วงวัย เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตของเกษตรกร รวมถึงแรงงานภาคเกษตรจะต้องเรียนรู้การเกษตรแบบใหม่ นักส่งเสริมการเกษตรจะต้องออกแบบทักษะ หลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ ผลิตสื่อการเรียนรู้ และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2. พื้นที่ หรือ ชุมชน การปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรสู่ระบบอาหารและการเกษตรที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ ออกแบบความเป็นไปได้ ระบุเทคโนโลยีที่ทดสอบ เชื่อมตลาด วางแผนการผลิตการตลาด เพื่อนำไปสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

\"นฤมล\" มอบนโยบายขับเคลื่อนกรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 57 ปี

3. งานบริการ พัฒนาระบบโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม เพื่อความมั่นคงด้านอาหาร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของชาติ การให้บริการขั้นพื้นฐาน สร้างเจตคติหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  4. ตลาด พัฒนาประสิทธิภาพกลไกตลาด สร้างสินค้าเกษตรให้เกิดความแตกต่าง ไปสู่สินค้าเกษตรมูลค่าสูง เพื่อรองรับการเข้าสู่การตลาดบนโลกดิจิทัล 5. การคุ้มครองทางสังคม พัฒนางานบริการเพื่อการเพิ่มผลิตภาพการผลิตเชิงกลยุทธ์จะเป็นการให้บริการผ่านระบบออนไลน์ มีการบริหารจัดการข้อมูลให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดและจะต้องมีการเฝ้าระวังเชิงรุก

\"นฤมล\" มอบนโยบายขับเคลื่อนกรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 57 ปี

รวมถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างจริงจัง การขับเคลื่อนผ่าน 22 โครงการทั้งระบบการเพาะปลูกพืช การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลิตภาพของดิน การควบคุมและจัดการโรคแมลงศัตรูพืช การจัดการน้ำเพื่อเพิ่มผลิตภาพของน้ำ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การจัดการเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีเกษตร การปรับตัวและพลิกฟื้นจากผลกระทบโดยเร็ว ความเชี่ยวชาญธุรกิจเกษตร ความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีภายในชุมชน และการเปิดใจรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ เป็นต้น 

\"นฤมล\" มอบนโยบายขับเคลื่อนกรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 57 ปี

นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรยังมีภารกิจสำคัญที่ต้องขับเคลื่อน เช่น การขับเคลื่อน 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง การพัฒนากาแฟ เพื่อเข้าสู่มาตรฐาน SCA การส่งออกกล้วยหอมทอง การทดแทนการนำเข้าข้าวโพดอาหารสัตว์ การส่งเสริม Plant Base food การขับเคลื่อนแม่ฮ่องสอนโมเดล การจัดการศัตรูพืชสำคัญ

\"นฤมล\" มอบนโยบายขับเคลื่อนกรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 57 ปี

เช่น หนอนเจาะทุเรียน ใบด่างมันสำปะหลัง รวมถึงพืชอุบัติใหม่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร การพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยเกษตรกรรุ่นใหม่และวิสาหกิจชุมชน การขึ้นทะเบียนผู้ให้บริการภาคเกษตร สื่อและกระบวนการเรียนรู้สมัยใหม่ และการปรับโครงสร้างการผลิตสู่เกษตรมูลค่าสูง (Zoning by Agri Map) เป็นต้น นับเป็นความท้าทายที่กรมส่งเสริมการเกษตรจะต้องขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าผ่านนักส่งเสริมการเกษตรทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตรต่อไป