“ทุเรียน” เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้ไทย สร้างชื่อเสียงโด่งดังไกลถึงต่างประเทศ สร้างเม็ดเงินมหาศาลเข้าประเทศเพราะเป็นผลไม้ชื่อดัง ประเทศไทยมีการปลูกทุเรียนหลายพื้นที่ และมีหลากหลายสายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งปัจจุบัน มีทุเรียนไทยที่ได้รับขึ้นทะเบียนสินค้า GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ประมาณ 18 รายการ
ทั้งนี้ “ทุเรียน” ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้า GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทั้ง 18 รายการ มีดังนี้
เป็นทุเรียนพันธุ์หลงลับแล มีเนื้อมาก สีเหลืองเข้ม เนื้อแห้งละเอียดเหนียว มีกลิ่นอ่อน รสชาติหวานมัน เมล็ดลีบเล็ก ปลูกในเขตพื้นที่ อ.ลับแล อ.เมืองอุตรดิตถ์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ จุดกำเนิดของทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์มาจากทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีความพิเศษแตกต่างจากทุเรียนพื้นเมืองทั่วไปคือ เป็นทุเรียนขนาดเล็ก รสชาติหวานมัน เมล็ดลีบ
ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุมทอง และพันธุ์พื้นเมือง มีรสชาติดี หวาน มัน หอม สีเหลือง เนื้อละเอียด ปลูกในเขตพื้นที่ จ.นนทบุรี ซึ่งในพื้นที่นนทบุรี ซึ่งชาวสวนในพื้นที่จะใช้ใบทองหลางเป็นส่วนผสมที่สำคัญในปุ๋ย ทำให้ทุเรียนมีคุณภาพดี รสชาติหวานอร่อย เป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป
ทุเรียนพันธุ์หลินลับแล มีเนื้อสีเหลืองเข้ม เนื้อละเอียดเหนียวแห้ง รสชาติหวานมัน กลิ่นอ่อน เนื้อมาก เส้นใยน้อย เก็บไว้ได้นานโดยไม่แฉะ มีเมล็ดลีบเล็ก ปลูกในเขตพื้นที่ อ.ลับแล อ.เมืองอุตรดิตถ์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ พื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย หรือที่เรียกว่าเป็นดินแดงผาผุ ซึ่งต้นกำเนิดมาจากการนำเมล็ดทุเรียนมาปลูกแล้วได้ทุเรียนต้นใหม่ที่มีผลทุเรียนแปลกกว่าทุเรียนต้นอื่นๆ จากนั้นมีการส่งเข้าประกวด และได้รับความนิยมจากนักกินทุเรียนไม่น้อยกว่าทุเรียนพันธุ์หลงลับแล
ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุมทอง และพันธุ์พื้นเมือง มีเนื้อแห้ง หนา เส้นใยน้อย หวานมัน ปลูกในเขตพื้นที่ อ.เมืองปราจีนบุรี อ.กบินทร์บุรี อ.ประจันตคาม อ.ศรีมหาโพธิ์ และ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี โดยเกษตรกรได้นำพันธุ์ทุเรียนทั้งแบบตอนกิ่ง และเมล็ดมาจาก จ.นนทบุรี นำมาปลูกเมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา และด้วยสภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน และเนื้อดิน ทำให้ทุเรียนปราจีนมีเอกลักษณ์พิเศษคือ เนื้อแห้งไม่แฉะ
ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี เนื้อทุเรียนละเอียด แห้ง เนียนนุ่ม รสชาติหวานมัน มีกลิ่นหอมปานกลาง สีเนื้อเหลืองสม่ำเสมอทั้งผล ปลูกในพื้นที่ อ.ขุนหาญ อ.กันทรลักษณ์ และ อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ
ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง และพันธุ์ชะนี มีลักษณะเนื้อหนา สีเหลืองอ่อน เนื้อแห้งเนียนละเอียด กลิ่นอ่อน รสชาติหวานมัน เม็ดลีบเล็ก ปลูกในเขตพื้นที่ป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งในพื้นที่ป่าละอูนั้นเริ่มมีการนำทุเรียนเข้ามาทดลองปลูกเมื่อปี พ.ศ.2527 โดยนำพันธุ์ก้านยาวมาจาก จ.นนทบุรี และ พันธุ์หมอนทองมาจาก จ.ระยอง โดยทดลองนำมาปลูกในครั้งนั้นได้ผลดีคือ มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากต้นพันธุ์ที่นนทบุรี และระยอง ทุเรียนมีรสมัน หวานน้อย เนื้อแน่น และกลิ่นไม่แรง
ทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของ จ.พังงา มีเนื้อหนาละเอียด สีเหลืองเข้ม กลิ่นหอมแต่ไม่ฉุนมาก แกนกลางเปลือกทุเรียนจะมีสีสนิมแดง เมล็ดลีบ รสชาติหวาน ปลูกในเขตพื้นที่ อ.กะปง จ.พังงา
ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เนื้อหนาเนียนละเอียดสีเหลืองทอง เมล็ดลีบ รสชาติหวานหอม มัน กรอบ กลิ่นไม่ฉุน ปลูกในพื้นที่ ต.ในวงเหนือ และ ต.ในวงใต้ อ.ละอุ่น จ.ระนอง พื้นที่ในวงเป็นพื้นที่ ที่มีภูเขาล้อมรอบ แต่เดิมมีการถางป่าเพื่อปลูกกาแฟ และข้าวไร่ เมื่อราคากาแฟตกต่ำก็หันมาปลูกพืชชนิดอื่น
ทุเรียนพันธุ์ชะนี มีสีผิวออกสีน้ำตาลปนแดง ส่วนใหญ่มีหนามแดง เนื้อทุเรียนหนา ผิวสัมผัสละเอียด แห้ง เหนียว มีสีเหลืองเข้มไปจนถึงสีเหลืองอมส้ม ส่วนใหญ่เมล็ดจะมีขนาดเล็กหรือลีบ รสชาติหวานมัน และมีกลิ่นหอม ปลูกเฉพาะในพื้นที่ อ.เกาะช้าง จ.ตราด มีการคาดการว่าทุเรียนถูกนำมาปลูกในพื้นที่อำเภอเกาะช้าง ตั้งแต่เมื่อประมาณ 70 ปี
ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ที่มีเนื้อสัมผัสเนียน แน่นหนึบ แห้ง ละเอียด เส้นใยน้อย มีสีเหลืองอ่อนสม่ำเสมอทั้งผล กลิ่นหอมอ่อน รสชาติหวาน มัน ปลูกในอำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งจัดอยู่ในพื้นที่ทุ่งหญ้าเขตร้อน มีมรสุมหลักพัดผ่าน ทำให้อากาศชุ่มชื้น มีฝนตกชุก สภาพอากาศกลางวันร้อนกลางคืนเย็น ส่งผลให้ทุเรียนในพื้นที่ดังกล่าวรสชาติดี
ทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ พันธุ์พวงมณี พันธุ์นกหยิบ พันธุ์ทองลินจง พันธุ์นวลทองจันทร์ พันธุ์กบสุวรรณ และพันธุ์ทางการค้า ได้แก่ พันธุ์จันทบุรี 1 ถึงพันธุ์จันทบุรี 10 ที่มีเนื้อละเอียด สีเหลือง หรือเหลืองเข้ม หรือเหลืองอมส้ม เนื้อหนาละเอียด มีเส้นใยน้อย หรือไม่มีเส้นใย รสชาติหวานมันหรือหวานแหลม ปลูกและผลิตในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี
ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ที่ปลูกและผลิตในเขตพื้นที่ ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี รูปร่างทรงกลมรี เปลือกค่อนข้างบาง สีน้ำตาลอ่อน หนามเล็กและยาว เนื้อสีเหลือง แห้ง ไม่เละ เนื้อละเอียดเหมือนเนื้อครีม ไม่เป็นเส้น รสชาติหวานมัน กลมกล่อม กลิ่นหอม ไม่ฉุน เมล็ดลีบ มีเอกลักษณ์เฉพาะจนเป็นที่กล่าวขานว่า “ทุเรียนทรายขาว ทุเรียนแห่งเทือกเขาสันกาลาคีรี”
ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง มีเนื้อทุเรียนสีเหลืองอ่อน หนา รสชาติหวาน มัน ปลูกและผลิตในเขตพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดตราด ได้แก่ อำเภอเมืองตราด อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ อำเภอแหลมงอบ และอำเภอเขาสมิง รูปทางผลยาว เมล็ดส่วนใหญ่ลีบ มีสีน้ำตาลไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม
เป็นการนำทุเรียนสายพันธุ์ต่างๆ ของจังหวัดยะลาไปปลูกในพื้นที่ตามไหล่เขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 100 เมตรขึ้นไป ซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะทุเรียนคุณภาพ ปลอดสารเคมี ทำให้ทุเรียนมีความโดดเด่นด้วยรสชาติหวานมัน มีกลิ่นเฉพาะตัว เนื้อเเห้งละเอียด เส้นใยน้อย และเนื้อมีสีเหลืองอ่อนหรือเข้มตามแต่ละสายพันธุ์ที่ปลูก ได้แก่ พันธุ์ก้านยาว พันธุ์ชะนี พันธุ์พวงมณี พันธุ์มูซังคิง และพันธุ์หนามดำ หรือ “โอฉี่” โดยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงเดือน ก.ค.- ก.ย.ของทุกปี
เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทองและพันธุ์ชะนี ที่มีรสชาติหวานมัน เข้มข้น เนื้อหนาละเอียด เนียน ผิวสัมผัสแห้ง ไส้แห้ง แม้จะเก็บเกี่ยวในช่วงที่มีฝนตกชุก กลิ่นหอมอ่อน ปลูกและผลิตในพื้นที่ตำบลปลายพระยา และตำบลเขาเขน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ทุเรียนทะเลหอย กระบี่
ทุเรียนพันธุ์หมอนทองมีอัตลักษณ์ชัดเจน ผลทรงรีสวย เปลือกบาง รสชาติหวานมัน เนื้อหนาสีครีมเหลือง ผิวมันวาว กรอบ เส้นใยน้อย และไม่มีกลิ่นฉุน มีปลูกในพื้นที่แนวเทือกเขาตะนาวศรี มีสภาพอากาศกลางวันร้อนกลางคืนเย็น ทำให้ลักษณะดินบริเวณนั้นเป็นดินศิลาแลง เนื้อดินร่วนปนทราย สามารถระบายน้ำได้ง่าย ทำให้รากทุเรียนสามารถชอนไชหาอาหารได้ดี และได้รับสารอาหารจากดินเต็มที่
ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง มีเนื้อหนาละเอียด แห้ง เหนียว เส้นใยน้อย กลิ่นหอมอ่อน รสชาติหวานมัน ปลูกและผลิตในเขตพื้นที่จังหวัดระยอง รูปทรงผลกลมรี ก้นผลค่อนข้างแหลม เมล็ดสีน้ำตาล เล็ก ลีบ สามารถปลูกได้บนพื้นที่ราบ หรือโดยวิธีการยกโคก ฤดูที่เหมาะสมกับการปลูก คือ ก่อนฤดูฝน (มีนาคม-เมษายน) แต่หากเกษตรกรสามารถบริหารจัดการระบบน้ำได้ดี และสม่ำเสมอ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ก้านยาว ชะนี และมูซังคิง ที่มีลักษณะเนื้อค่อนข้างละเอียด เนื้อสีเหลืองหรือสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานมัน มีกลิ่นเฉพาะตัวตามสายพันธุ์ ปลูกในแถบพื้นที่ลุ่มน้ำ สายบุรี และบริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรี ครอบคลุมพื้นที่ 9 อำเภอของจังหวัดนราธิวาส