รัฐบาลเปิดเผย รายงานจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ว่ามีนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศสนใจลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก พร้อมกับเปิดเผย 5 ประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ยื่นขอรับการส่งเสริม 1,449 โครงการ คิดเป็นมูลค่ากว่า 5.4 แสนล้านบาท
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่านางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้รับรายงาน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI ว่า มีนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจลงทุนเป็นจำนวนมากและได้กำชับให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสนับสนุนการลงทุนในประเทศไทยเร่งดำเนินนโยบายและแนวทางอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพและเพิ่มปริมาณการเข้าลงทุนในประเทศไทยให้มากขึ้น
นายจิรายุกล่าวต่อไปว่า บีโอไอ ได้รายงานว่ามีตัวเลขคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 พบว่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุน โดยมีจำนวนมากถึง 2,195 โครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 (เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนมูลค่าเงินลงทุนมีมากถึง 722,528 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 42 ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีประมาณ 5 แสนล้าน โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ปัจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนในภูมิภาคนี้และการขอรับการลงทุนครั้งนี้ ถือเป็นยอดลงทุนที่สูงสุดในรอบ 10 ปี
โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามาเป็นอันดับ 1 มี มูลค่า กว่า1.8 แสน กลุ่มดิจิทัลเป็นอันดับ 2 มูลค่า 9 หมื่นกว่าล้านบาท อันดับ3 เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน มีมูลค่าประมาณ6.7หมื่นล้านบาท
กลุ่มเกษตรและแปรรูปอาหาร มูลค่า 5.2หมื่นล้านบาท และ อันดับ5 เป็น กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ มีมูลค่าประมาณ3.4ล้านบาท
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ล่าสุด มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริม 1,449 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66 เงินลงทุนรวมกว่า 5.4แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38
โดยประเทศที่มีมูลค่าขอรับการส่งเสริมสูงสุด 5 อันดับแรกคือ
ส่วนการขอรับการส่งเสริมตามมาตรการยกระดับอุตสาหกรรม (Smart and Sustainable Industry) ซึ่งเป็นมาตรการที่ช่วยสนับสนุน “ผู้ประกอบการรายเดิมให้สามารถปรับตัว” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้นั้น มีคำขอรับการส่งเสริมจำนวน 287 โครงการ เงินลงทุนรวม 2.7หมื่นล้านบาท
รวมทั้งการออกบัตรส่งเสริมในช่วง 9 เดือนแรกของปี มีจำนวน 2,072 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59 เงินลงทุน 6.72 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่า100% (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)
ทั้งนี้ การออกบัตรส่งเสริมเป็นขั้นตอนที่ใกล้เคียงการลงทุนจริงมากที่สุด โดยปกติบริษัทต่าง ๆ จะเริ่มทยอยลงทุนภายใน 1 - 3 ปี หลังจากออกบัตรส่งเสริม
“ตัวเลขการลงทุน สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและโครงสร้างพื้นฐานที่ดีของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน รัฐบาลพร้อมสนับสนุนเดินหน้าเร่งพัฒนาระบบนิเวศและปัจจัยที่จะส่งผลต่อการลงทุน เพื่อรองรับกับสถานการณ์การเคลื่อนย้ายฐานการผลิตโลก ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืนได้ในระยะยาว” นายจิรายุกล่าว