นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เดือน ม.ค.-ต.ค. 2567 ปริมาณการส่งออกทุเรียน มังคุด ลำไย ไปจีน คิดเป็นปริมาณ 1,253,208.1 ตัน มูลค่ากว่า 130,372.7 ล้านบาทซึ่ง ศ.ดร นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายเร่งด่วนให้ขับเคลื่อนนโยบายผัก ผลไม้ และอาหารต้องปลอดภัยและมีคุณภาพ สำหรับการบริโภคในประเทศ และส่งออก
ล่าสุด ( 4 พ.ย.67) ได้ลงพื้นที่พร้อมด้วย ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่เกี่ยวข้อง หัวหน้าด่านตรวจพืช เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ตรวจติดตามการปรับปรุงแก้ไขระบบการผลิต และคุณภาพสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ
ทั้งนี้หลักปฏิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้สด ด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (มกษ. 1004-2557)Kick off สารวัตร GMP ตรวจโรงงานผลิตสินค้าพืชโดยเป็นการบูรณาการหลายหน่วยงานทั้ง กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หน่วยรับรอง ห้องปฏิบัติการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ โรงงานผลิตสินค้าพืชนายประทีป ธรรมลัย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
กรมวิชาการเกษตรดำเนินการกำกับ ดูแลการผลิตสินค้าเกษตร ให้มีความปลอดภัย และคุณภาพ ตั้งแต่แปลงปลูกจนถึงผู้บริโภค โดยตรวจสอบรับรอง/ขึ้นทะเบียนแหล่งผลิตพืช และโรงงานผลิตสินค้าพืช ตรวจวิเคราะห์สินค้าพืช ออกใบรับรองสุขอนามัยพืช แม้ว่าปัจจุบันจะมีการถ่ายโอนภารกิจ ในการตรวจสอบรับรองโรงงานผลิตสินค้าพืช ตามหลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร: การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี (GMP) รวมทั้ง การวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิต (HACCP) ให้กับหน่วยรับรองภาคเอกชนไปดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 แล้วก็ตาม
กรมวิชาการเกษตรได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ควบคุม กำกับ โดยมีการออกประกาศกรมวิชาการเกษตร 4 ฉบับ
4.ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างพืชควบคุมเฉพาะ พ.ศ. 2562 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างพืชควบคุมเฉพาะตามหลักเกณฑ์ วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างที่กำหนด มีหน่วยงานขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่าง จำนวน 7 บริษัท
ประกาศกรมวิชาการเกษตรข้างต้น ถือเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้าพืชให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2566-2567 ประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตร และอาหารที่สำคัญของไทยได้ยกระดับความปลอดภัยอาหาร เพื่อความเข้มงวดในการตรวจสอบการปนเปื้อน สารตกค้าง ในสินค้าผัก ผลไม้นำเข้า หากมีการพบศัตรูพืช หรือปัญหาด้านความปลอดภัยอาหารในสินค้าจะมีการแจ้งเตือน หรือให้ระงับการส่งออกของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องชั่วคราวทันที ซึ่งประเทศไทยได้รับการแจ้งเตือนการตรวจพบโลหะหนักแคดเมียมเกินค่ามาตรฐานในทุเรียน การตรวจพบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตกค้างเกินค่ามาตรฐานในลำไย การตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ในทุเรียนแช่แข็ง เป็นต้น
กรมวิชาเกษตรได้เร่งดำเนินการตรวจสอบสาเหตุสินค้า ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน และเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องใช้มาตรการปรับปรุงแก้ไข รวมทั้งเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุม กำกับ ตรวจสอบและทดสอบ ทั้งระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำดังนี้
1.มาตรการในการควบคุมกำกับดูแลโรงงานผลิตสินค้าพืชที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร
1.1 หนังสือแจ้งเตือนหรือพักใช้การขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืช
1.2 ระงับการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช สำหรับโรงงานผลิตสินค้าพืชที่พบปัญหาชั่วคราว
1.3 ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ณ โรงงานผลิตสินค้าพืชที่พบปัญหาพร้อมกำชับโรงงานผลิตสินค้าพืชทุกโรงรักษามาตรฐานที่ได้รับการรับรองอย่างเคร่งครัด
1.4 บูรณาการร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หน่วยเฉพาะกิจพญานาคราช และหน่วยงานภาคอื่นที่เกี่ยวข้องทำงานเชิงรุกทุกขั้นตอนร่วมกัน รวมทั้งประสานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขเข้มงวดในการสุ่มตรวจแคดเมียมในสินค้าทุเรียนผลสดนำเข้าจากต่างประเทศ โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้แต่งตั้งคณะทำงาน ควบคุม กำกับ ดูแลและตรวจสอบย้อนกลับ พืช/ผัก และผลไม้คุณภาพ เพื่อควบคุมกำกับ ดูแล ตรวจสอบย้อนกลับ พืช/ผัก และผลไม้คุณภาพทั้งระบบ
1.5 จัดทำประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 เพื่อควบคุมการใช้สารเคมีโดยเฉพาะสารเคมีที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องหากมีการฝ่าฝืนต้องระงับ มาตรการในการระงับ หรือสั่งยกเลิกหนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืชเป็นหนังสือ โดยผู้ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืชต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่ได้รับแจ้งจากกรมวิชาการเกษตร และแจ้งการแก้ไขเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งเตือน
กรณีไม่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด ให้ระงับหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืชจนกว่าจะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ และแจ้งการแก้ไขเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม อาจถูกยกเลิกหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืช พร้อมทั้งจัดประชุมชี้แจง เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 โดยมีผู้ประกอบการโรงงานผลิตสินค้าพืช และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมจำนวน 120 คน
2. มาตรการในการควบคุมกำกับดูแลหน่วยตรวจรับรอง (Certification Body,CB)จากข้อมูลของ มกอช.พบว่าบางหน่วยรับรองภาคเอกชน (CB) มีสัดส่วนของผู้ตรวจประเมินที่ไม่สัมพันธ์กันกับจำนวนของสถานประกอบการ ที่แสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ตรวจประเมินไม่เพียงพอ จึงควรมีการปรับปรุงแก้ไข กฎระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือแนวทาง ให้สามารถควบคุม กำกับ และดูแล หน่วยรับรองภาคเอกชน ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะมีการพัฒนาหลักสูตร และเทคนิคการปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตร ให้ผู้ประกอบการสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และมาตรฐานได้อย่างถูกต้อง
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า กรมวิชาการเกษตร ได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ดูแลมาตรฐานสินค้าเกษตร เน้นย้ำผัก ผลไม้ และอาหาร ต้องปลอดภัย และมีคุณภาพสำหรับการบริโภคในประเทศ และส่งออกตามนโยบาย ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์